[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

โรคความดันโลหิตสูง

                                                                          การปฏิบัติตัว เมื่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 
 
จุดประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งลดอัตราการตายของผู้ป่วย โดยให้ค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท1 ซึ่งการรักษาดังกล่าวประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการใช้ยา

                                                                                       อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ และมีความสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ในปัจจุบันมีการจัดการดูแลโรคความดันโลหิตสูง หลายโปรแกรมทำให้อุบัติการของโรคความดันโลหิตสูงลดลง และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรคของหลอดเลือดหัวใจ ลดลงในทศวรรษที่ผ่านมา การเพิ่มบทบาทดูแลทางด้านการรักษาโดยไม่ใช้ยา บทบาทหนึ่งนั่นคือ การจัดการทางด้านโภชนาการในการป้องกันและ รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
   
                                                                             การปฏิบัติตัว เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน
 
ศึกษาในเรื่องของเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน และการควบคุม เบาหวาน 
ควบคุมการบริโภคอาหาร 
ติดตามตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ 
ใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ยาเม็ดลดระดับ น้ำตาลในเลือด หรืออินซูลิน 
การออกกำลังกาย 
อาหารกับโรคเบาหวาน

การดูแลเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคก่อนค้นพบอินซูลินและยุคของอินซูลิน (1921) ยุคแรกมีการพัฒนาทางด้านอาหารโดยให้อาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำและรับประทานอาหารแต่เพียงเล็กน้อย จนกระทั่งถึงยุคหลังที่มีการค้นพบอินซูลินแล้วจึงให้รับประทาน อาหารในปริมาณปกติโดยเริ่มจากคาร์โบไฮเดรตต่ำและไขมันสูง แล้วจึงพัฒนาเป็นคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นโดยเป็นคาร์โบไฮเดรต เชิงซ้อนและอาหารไขมันลดลงตามลำดับ

                                                                          การปฏิบัติตัว เมื่อป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ หัวใจไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงและตายไปในที่สุด พบว่าส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดโคโรนารี่ (Coronary Atherosclerosis) จากการศึกษาวิจัยมากมาย1 ทำให้พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เป็นปัจจัยในการเกิดโรคนี้

                                                                      การปฏิบัติตัว เมื่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
 
จุดประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งลดอัตราการตายของผู้ป่วย โดยให้ค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท1 ซึ่งการรักษาดังกล่าวประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการใช้ยา

1. วัตถุประสงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย 

การลดน้ำหนัก 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 

การลด - เลิกบุหรี่ 

การลด - เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

การออกกำลังกาย 

2. การลดน้ำหนัก

พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักที่ควรจะหนัก (Ideal Body Weight) มีความสัมพันธ์กับค่าความดันโลหิตที่สูงขึ้น จากการศึกษา 2,3 พบว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเมื่อลดน้ำหนักเฉลี่ย 5 กิโลกรัม ความดันโลหิตจะลดลง 5/3 มิลลิเมตรปรอท รวมทั้งการกระจายตัวของไขมันที่สะสมจะมีส่วนสัมพันธ์ กับค่าความดันโลหิตที่สูงขึ้นด้วย โดยพบว่าผู้ที่มีไขมันสะสมที่ส่วนท้องมากกว่าสะสมที่บริเวณสะโพก (Abdominal Obesity) 

โดยวัดอัตราส่วนของ Waist/Hip ratio ที่มากกว่า 0.95 ในผู้ชาย และ 0.85 ในผู้หญิงจะมีความสัมพันธ์ต่อการมีความดันโลหิตสูง4 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงทุกรายที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตราฐาน จึงควรได้รับคำแนะนำและวิธีการในการลดน้ำหนัก ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย เกณฑ์มาตราฐานของน้ำหนักสามารถคำนวนได้จากค่าน้ำหนักมาตราฐาน และการวัดดัชนีความหนาของร่างกาย (BMI) 

- การคำนวนน้ำหนักมาตราฐาน 

ผู้ชาย = 50+0.7 x (ความสูง - 150) กิโลกรัม 

ผู้หญิง = 45+0.7 x (ความสูง - 150) กิโลกรัม 

- Body Mass Index (BMI) 

                                                                              ลดระดับความดันโลหิตด้วยการลดน้ำหนัก
 
การลดน้ำหนักสามารถลดระดับของความดันโลหิตได้ โดยการลดลงของระดับ renin และ aldersterone, การลดลงของระดับอินซูลิน และการเพิ่มความไวของอินซูลินในการทำงาน นอกจากนี้ น้ำหนักที่ลดลงยังจะมีผลทำให้การทำงานของหัวใจ ลดลงอีกด้วย 6 

หลักการลดน้ำหนักที่ถูกต้องคือการใช้พลังงานให้มากขึ้น เช่น การออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่เหมาะสม ดังมีหลักดังต่อไป7,8

 1) อาหารที่บริโภคต่อวัน ควรมีพลังงาน(แคลอรี) ต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ เพราะถ้าร่างกายได้พลังงานไม่เพียงพอในการใช้แต่ละวัน ก็จะมีการดึงเอาไขมันที่สะสมไว้ออกมาใช้ โดยผู้ชายที่ต้องการลดน้ำหนักควรรับประทานอาหาร ที่ให้พลังงานวันละ 1,500-2,000 แคลอรี ส่วนผู้หญิงควรรับประทานอาหารที่ให้พลังงานวันละ 1,200-1,600 แคลอรี การลดปริมาณแคลอรีในแต่ละวันมากเกินไป เช่น น้อยกว่า 1,000 แคลอรีต่อวัน จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเกินไป การลดพลังงานในอาหารลง 500-1,000 แคลอรีต่อวันจะมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้อาทิตย์ละ 1/2-1 กิโลกรัม 

2) ควรบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง ทั้งนี้ เพราะร่างกายต้องการนำ ไปใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่ สึกหรอ ถ้าขาดโปรตีนร่างกายจะดึงสารโปรตีนตามอวัยวะต่างๆ มาใช้ ดังนั้น จึงควรบริโภคอาหารโปรตีนสูงประมาณ 1-1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ นม ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเมล็ดต่างๆ ข้อควรระวังในการบริโภคโปรตีนโดยเฉพาะที่ได้จาก ผลิตภัณฑ์สัตว์คือปริมาณไขมันที่ติดมาด้วย ดังนั้น จึงควรเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และบริโภคเนื้อปลาแทนเพราะไขมันต่ำและย่อยง่าย ไข่ควรเน้นไข่ขาวเพราะไข่แดงจะมีคลอเลสเตอรอลสูง นมควรเป็นนมที่พร่องมันเนย และควรใช้การปรุงอาหารที่ต้มหรือนึ่งแทนการทอด หรือผัด สำหรับโปรตีนที่ได้จากพืชนั้นจะดีในด้านที่ไม่มี คลอเลสเตอรอล

3) บริโภคสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมาก พอสมควรเพื่อที่จะไม่ทำให้ร่างกาย นำเอาไขมันมาเป็นสารที่ให้พลังงานทดแทนอย่าง รวดเร็วเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะคีโตนคั่งได้ ปริมาณที่ควรบริโภคคือ ไม่น้อยกว่า 50 กรัมต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

4) มีอาหารไขมันเป็นส่วนประกอบในอาหาร พอสมควร ไม่ควรจะจำกัดอาหารไขมันทั้งหมดเพราะไขมันจะช่วย ในการทำงานของร่างกาย เช่น ช่วยในการละลายวิตามินบางประเภท แต่ควรจะเน้นให้เป็นไขมันที่มาจากพืช เช่น น้ำมันพืชต่างๆ (ยกเว้น น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว) เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรค หลอด เลือดหัวใจตีบได้ 

5) รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น โดยเลือกผักและผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ ซึ่งรับประทานได้มากโดยไม่จำกัดจำนวน เช่น ผักใบเขียวต่างๆ เช่น คะน้า ผักบุ้ง ผักกาด ดอกกะหล่ำ ส่วนผักที่มีแคลอรีพอสมควร รับประทานได้บ่อยครั้ง เช่น ถั่ว ฟักทอง บวบ และผักที่มีปริมาณแคลอรีค่อนข้างสูงไม่ควรรับประทาน บ่อย เช่น มันเทศ มันฝรั่ง ข้าวโพด เผือก เป็นต้น สำหรับผลไม้ควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด 

การปรุงอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน ที่ดีที่สุดคือผักและผลไม้สด ที่ล้างสะอาดแล้ว และถ้าจะทำอาหารผักที่ต้มหรือนึ่ง จะดีกว่าผัดหรือทอด ในแง่ของไขมัน ส่วนผลไม้เชื่อมหรือกวนไม่ควรรับประทานอย่างเด็ด

                                                                            การออกกำลังกายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
 
 การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้น ถ้าออกกำลังกันอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง มีผลการวิจัยมากมาย ที่สนับสนุนว่าจะสามารถลดความดันโลหิตตัวบนหรือ ความดันซีสโตลิกได้เฉลี่ยแล้วประมาณ 10 มิลลิเมตรปรอท รวมทั้งจะลดค่าความดันโลหิตตัวล่างหรือความดันไดแอสโตลิกด้วย 

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นนอกจากมีผลต่อการช่วย ควบคุมระดับความดันโลหิตแล้วก็ยังพบว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้น ถ้าออกกำลังกายกันอย่างต่อเนื่องแล้วจะมีอายุยืนกว่าหรืออัตรา การตายต่ำกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแต่ไม่ออกกำลังกายอีกด้วย 

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นการออกกำลังกายแบบที่มี การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ของร่างกายอย่างต่อเนื่องในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ที่เรียกว่า แอโรบิก นั้น เพราะว่าในขณะที่ออกกำลังแบบนี้นั้น ร่างกายจะมีการใช้ออกซิเจนเป็นหลักใหญ่ในการให้พลังงาน ซึ่งการออกกำลังกายประเภทนี้ ได้แก่ เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น 

คนปกติ ขณะที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกค่าความดันโลหิตของ ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปโดยความดันซีสโตลิกก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนความดันไดแอส-โตลิกจะลดลงเล็กน้อยหรือ ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ เกิดจากการที่หัวใจต้องทำการสูบฉีดโลหิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีการขยายตัว รวมทั้งการที่เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่อเนื่องแบบแอโรบิกนั้น ก็จะช่วยปั้มเลือดกลับไปสู่หัวใจ 

คนที่มีความดันโลหิตสูง จะมีการตอบสนองของความดันโลหิตต่อการออกกำลังกาย ในขณะที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกแตกต่างไปจากคนปกติ โดยความดันซีสโตลิกก็จะเพิ่มสูงเช่นเดียวกับคนที่ความดัน ปกติแต่ว่าจะในอัตราสูงกว่า ส่วนความดันไดแอสโตลิกนั้นอาจจะไม่คงที่หรืออาจจะสูงเพิ่มขึ้นในบางคน เพราะฉะนั้น ถ้าออกกำลังกายอย่างไม่ถูกต้องแล้วจะทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะขณะออกกำลังกายนั้นมีความดันโลหิตสูงขึ้นมากเกินไป 

 ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 

1) ควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ก่อนไปเริ่มออกกำลังกาย 

2) ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่น โรคตา โรคไต หรือผู้ที่มีปัญหาโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรได้รับการตรวจร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนหรือโรคดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะภาวะการเจ็บป่วยบางอย่างเป็นข้อห้ามของการออกกำลังกาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นต้น 

สำหรับความแรงในการออกกำลังกาย ควรออกกำลังโดยให้มีความแรงพอสมควรระดับปานกลาง การออกกำลังกายที่รุนแรงหรือหนักเกินไปนอกจากจะ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแล้ว ยังจะก่อให้เกิดอันตรายได้ การที่จะออกกำลังกายในระดับปานกลางโดยไม่หนักจนเกินไป สามารถที่จะใช้ค่าความสามารถของร่างกายในการนำออกซิเจนไปใช้ (Ventilatory Oxygen Consumption) หรืออัตราตราการเต้นของชีพจร หรือระดับความเหนื่อยของตนเองเป็นตัวกำหนด คือ 

1) การใช้ค่าความสามารถของร่างกายในการนำออกซิเจนไปใช้ (Ventilatory Oxygen Consumption) ค่า Maximum Ventilatory Oxygen Consumption (VO2 Max) ได้จากการตรวจวัดสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ (Exercise Stress Test) การออกกำลังกายในระดับน้อยถึงปานกลางจะอยู่ประมาณ 40-60% ของค่า VO2 Max โดยในขณะที่คนที่มีความดันโลหิตสูงออกกำลังกายไม่ควรที่จะ ออกแรงเกินกว่า 60% ของ VO2 Max 

2) การใช้อัตราการเต้นของชีพจรเป็นตัวกำหนด โดยคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด อาจได้จาก การตรวจวัดสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดย Exercise Stress Test หรือการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่คาดคะเน ซึ่งแตกต่างกันไปตามอายุ (Aged predicted maximum heart) 

สมการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่คาดคะเน = 220 - อายุ (ปี) เช่น อายุ 60 ปี อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่คาดคะเน = 220 - 60 = 160 หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปี มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่คาดได้ = 160 ครั้งต่อนาที

 
















 


















 

 
 
 





เว็บที่ใช้ค้นคว้าhttp


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.dms.moph.go.th/Section3/320.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 2

อ่าน 0 ครั้ง