[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

จักวาลและอวกาศ

                                                                                        ดาวเคราะห์ (The Planets)

ระบบสุริยะจักรวาลของเรา ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นศูนย์กลาง และดาวเคราะห์ (The Planets) 9 ดวง รวมทั้งโลกของเรา ที่โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ โดยที่โลกของเรา ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 149,600,000 กิโลเมตร ซึ่งเรานิยามว่า ระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU: Astronomical Unit) ส่วนดาวฤกษ์ ที่ใกล้โลกของเรา ถัดจากดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์แคระสีแดง ชื่อ Proxima Centauri (หรือ -Cen: Rigil  Kentaurus) ซึ่งห่างจากโลกของเรา ประมาณ 4.3 ปีแสง ในขณะที่ระบบสุริยะจักรวาลของเรา เป็นส่วนหนึ่ง ของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way) 

                                                                                        มวลรวมของระบบสุริยะจักรวาล

มวลส่วนใหญ่ ของระบบสุริยะจักรวาลของเรา กว่า 99.85% คือ ดวงอาทิตย์ของเรา ขณะที่ดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา ประมาณ 0.135% เท่านั้น ซึ่งเฉพาะดาวพฤหัสอย่างเดียว ก็มีมวลมากกว่า 2 เท่าของดาวเคราะห์ อื่นๆรวมกันเสียอีก มวลที่เหลือจะเป็น มวลของดาวบริวาร, ดาวหาง, ดาวเคราะห์น้อย และอื่นๆ เพียงประมาณ 0.015% เท่านั้น

                                               ดาวเคราะห์ทั้ง 9 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

                              แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ 

      ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or Terrestrial Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial Planets (หมายถึง ''บนพื้นโลก'') ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร (Mars) ซึ่งจะใช้แถบของ ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง 

ภาพแสดงระยะทางเฉลี่ย ของดาวเคราะห์ชั้นใน จากดวงอาทิตย์ โดยที่ Light Minutes หมายถึง ระยะเวลาที่แสง เดินทางจากดวงอาทิตย์ มาถึงดาวเคราะห์นั้น (หน่วยเป็นนาที), และ Astronomical Units หมายถึง ระยะทาง ในหน่วยดาราศาสตร์ (AU) 

       ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ทำให้มีผิวนอก ปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus), ดาวเนปจูน (Neptune) และดาวพลูโต (Pluto) 

ภาพแสดงระยะทางเฉลี่ย ของดาวเคราะห์ชั้นนอก จากดวงอาทิตย์ โดยที่ Light Hours หมายถึง ระยะเวลาที่แสง เดินทางจากดวงอาทิตย์ มาถึงดาวเคราะห์นั้น (หน่วยเป็นชั่วโมง) และ Astronomical Units หมายถึง ระยะทาง ในหน่วยดาราศาสตร์ (AU) 

                      แบ่งตามลักษณะวงโคจร เมื่อเทียบกับโลก
คลิ๊กที่นี่ เพื่อดูภาพ Flash ที่แสดงความแตกต่าง ของดาวเคราะห์ทั้งสองกลุ่ม


ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Orbit Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ทำให้เมื่อสังเกตจากโลก จะเห็นดาวเคราะห์กลุ่มนี้ เป็นเสี้ยว คล้ายดวงจันทร์ (Moon) ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์

ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Orbit Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ทำให้เมื่อสังเกตจากโลก ในบางตำแหน่ง จะเห็นดาวเคราะห์ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า และถอยกลับหลังได้ เมื่อเทียบกับตำแหน่งของกลุ่มดาว ที่อยู่ข้างหลัง ได้แก่ ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน และดาวพลูโต 


นอกจากที่เราทราบว่า ดาวเคราะห์จะหมุนรอบตัวเอง โคจรไปรอบๆดวงอาทิย์แล้ว แกนของแต่ละดาวเคราะห์ ยังเอียง (จากแนวตั้งฉากของการเคลื่อนที่) ไม่เท่ากันอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อเทียบทิศทางของ การหมุนรอบตัวเอง กับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ของแต่ละดาวเคราะห์ พบว่า ดาวศุกร์ (Venus), ดาวยูเรนัส (Uranus), และดาวพลูโต (Pluto) จะหมุนรอบตัวเอง แตกต่างไปจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

ตารางแสดง องศาที่แกนดาวเคราะห์เอียง (ไปจากแนวตั้งฉาก ของแนวการเคลื่อนที่) และระยะเวลาที่แต่ละดวง หมุนรอบตัวเอง (ในหน่วยชั่วโมงของโลก)

ชื่อดาวเคราะห์  ความเอียง (Obliquity) (องศา)  ระยะเวลาที่หมุน รอบตัวเอง (ชั่วโมง)  
ดาวพุธ (Mercury)  0.1  1407.5  
ดาวศุกร์ (Venus)  177.4  5832.5  
โลก (Earth)  23.45  23.9345  
ดาวอังคาร (Mars)  25.19  24.623  
ดาวพฤหัส (Jupiter)  3.12  9.925  
ดาวเสาร์ (Saturn)  26.73  10.656  
ดาวยูเรนัส (Uranus)  97.86  17.24  
ดาวเนปจูน (Neptune)  29.56  16.11  
ดาวพลูโต (Pluto)  119.6  153.29  

 

 รูปเปรียบเทียบ เพื่อแสดงขนาดของดวงอาทิตย์ เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ชั้นใน และดาวเคราะห์ชั้นนอก ซึ่งเรียงจากซ้าย ไปขวา คือ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth), ดาวอังคาร (Mars), ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus), ดาวเนปจูน (Neptune) และดาวพลูโต (Pluto) ตามลำดับ

ภาพแสดงเปรียบเทียบ ขนาดของดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยที่ดาวดวงที่ ใหญ่ที่สุดในภาพ คือ ดาว Ganymede (ดาวบริวารของดาวพฤหัส) - 5262 km, Titan (ดาวบริวารของดาวเสาร์) - 5150 km, Callisto (ดาวบริวารของดาวพฤหัส) - 4806 km, Io (ดาวบริวารของดาวพฤหัส) - 3642 km, the Moon (ดวงจันทร์ของเรา) - 3476 km, Europa (ดาวบริวารของดาวพฤหัส) - 3138 km, Triton (ดาวบริวารของดาวเนปจูน) - 2706 km และ Titania (ดาวบริวารของดาวยูเรนัส) - 1580 km. ซึ่งทั้ง Ganymede และ Titan มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ (Mercury) ขณะที่ Io, the Moon, Europa และ Triton มีขนาดใหญ่กว่า ดาวพลูโต (Pluto)

ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง 
ไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์ ซึ่งสามารถส่องสว่างด้วยตนเองได้ แต่เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ เนื่องจากการที่ดาวเคราะห์ สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เข้าสู่ตาของเรานั่นเอง 

แม้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จะมีถึง 8 ดวง (ไม่รวมโลก) แต่เราสามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพียง 5 ดวงเท่านั้น คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เท่านั้น ซึ่งชาวโบราณเรียก ดาวเคราะห์ทั้งห้านี้ว่า ''The Wandering Stars'' หรือ ''Planetes'' ในภาษากรีก และเรียกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ทั้งสองดวงว่า ''The Two Great Lights'' ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมด 7 ดวง จะเป็นที่มาของชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ นั่นเอง

ดาวพุธ (Mercury)
เป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ชื่อของดาวเคราะห์ คือ Mercury เป็นชื่อในภาษาโรมัน โดยเป็นชื่อของผู้ส่งสารของพระเจ้า ซึ่งมีความรวดเร็ว เนื่องจากดาวพุธ ปรากฏและหายไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงเช้า หรือช่วงค่ำนั่นเอง

ดาวศุกร์ (Venus)
เป็นชื่อเทพธิดาแห่งความงาม (Venus) เนื่องจาก เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อมองจากโลก และสังเกตเห็นได้ง่าย แม้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ดาวดวงนี้ จะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากก็ตาม แต่ครั้งหนี่ง นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า ดาวศุกร์ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ดาวโลก (Earth)
เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งโลก ชื่อ ''จีอา'' (Gaea) เป็นดาวเคราะห์ที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ มีพื้นผิวที่ปกคลุมด้วยน้ำ กว่า 70% มีชั้นบรรยากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเช่นเรา อาศัยอยู่ได้ และเนื่องจาก เรายังไม่เคยพบสิ่งมีชีวิตอื่นใดนอกโลก และมนุษย์เรา ยังไม่เคยอาศัยดาวดวงอื่นนอกโลก นักวิทยาศาสตร์ จึงพยายามศึกษาโลก เพื่อเป็นแบบอย่าง ในการศึกษาดาวเคราะห์อื่น ต่อไป

ดาวอังคาร (Mars) | The Planets of Shadows 
เป็นชื่อของเทพเจ้า แห่งสงคราม และการเกษตร มักรู้จักกัน ในนามของ ''ดาวแดง'' (The Red Planets) ซึ่งมักจะมี นิยายวิทยาศาสตร์มากมาย ที่กล่าวถึงดาวดวงนี้ โดยเฉพาะ เมื่อกล่าวถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ บนดาวอังคาร

ดาวพฤหัส (Jupiter) | The King of Planets | นิทานดาว
เป็นชื่อของเทพเจ้า Jupiter (หรือ Zeus) ซึ่งเป็นราชาของเทพเจ้าทั้งปวง และดาวพฤหัส ก็เป็นดาวเคราะห์ ที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 11 เท่าของโลก มีระบบดาวบริวารของตนเอง ไม่ต่ำกว่า 16 ดวง

ดาวเสาร์ (Saturn) | The Lord of the Rings  
เป็นชื่อของเทพเจ้า แห่งการเกษตร ชื่อ Saturn เป็นดาวเคราะห์ ที่มีวงแหวนที่สวยงาม ซึ่งประกอบด้วยฝุ่น และน้ำแข็ง นับร้อยวงเลยทีเดียว

ดาวยูเรนัส (Uranus)
เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ.1781) โดย William Herschel ชาวอังกฤษ เป็นดาวเคราะห์ ที่มีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์ แต่ค่อนข้างจางมาก และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียว ในระบบสุริยะจักรวาล ที่หมุนรอบตัวเอง โดยทิศตั้งฉาก กับแนวการเคลื่อนที่ รอบดวงอาทิตย์

ดาวเนปจูน (Neptune)
เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2389 (ค.ศ.1846) โดย Johann Galle และ Heinrich D'Arrest เป็นดาวเคราะห์ ที่ไกลที่สุด ที่มีการส่งยานไปสำรวจ (โดย Voyager) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจมีมหาสมุทร ขนาดมหึมา ปกคลุมผิวดาวดวงนี้อยู่

ดาวพลูโต (Pluto)
เป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาล มีขนาดเล็กมาก และวงโคจร ก็ต่างไปจาก ดาวดวงอื่นๆ จนเมื่อปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม เสนอให้ดาวพลูโต เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) เท่านั้น


--------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลสรุป เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ในสุริยะจักรวาลของเรา  ระยะทาง
(AU)  เส้นผ่าน ศูนย์กลาง
(Earth's) มวล
(Earth's) หมุนรอบ ตัวเอง (วัน)
(Earth's)  ดาว บริวาร Orbital
Inclination Orbital
Eccentricity  ความเอียง (Obliquity) ความ หนาแน่น
(g/cm3)  
Sun 0 109 332,800 25-36* 9 --- --- --- 1.410  
Mercury 0.39 0.38 0.05 58.8 0 7 0.2056 0.1° 5.43  
Venus 0.72 0.95 0.89 244 0 3.394 0.0068 177.4° 5.25  
Earth 1.0 1.00 1.00 1.00 1 0.000 0.0167 23.45° 5.52  
Mars 1.5 0.53 0.11 1.029 2 1.850 0.0934 25.19° 3.95  
Jupiter 5.2 11 318 0.411 >16 1.308 0.0483 3.12° 1.33  
Saturn 9.5 9 95 0.428 >18 2.488 0.0560 26.73° 0.69  
Uranus 19.2 4 17 0.748 >15 0.774 0.0461 97.86° 1.29  
Neptune 30.1 4 17 0.802 8 1.774 0.0097 29.56° 1.64  
Pluto 39.5 0.18 0.002 0.267 1 17.15 0.2482 119.6° 2.03  

* ระยะเวลา ที่ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง อยู่ระหว่าง 25 วัน (ที่แนวศูนย์สูตร) ถึง 36 days (ที่ขั้วดวงอาทิตย์) ขณะที่แนวการเคลื่อนที่ ของการแผ่รังสีอยู่ที่ ประมาณ 27 วัน 





คลิกดูรายละเอียดที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://skywatcher.hypermart.net/Planets-frame.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง