[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

พิษของสารเคมีฆ่าแมลงและการป้องกัน

                                                                             พิษของสารเคมีฆ่าแมลงและการป้องกัน

               สารเคมีฆ่าแมลงไม่เพียงแต่เป็นพิษเฉพาะกับแมลงเท่านั้น ยังเป็นพิษและเป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย เช่น คนหรือสัตว์ ถึงแม้ว่าสารเคมีบางชนิดจะมีเอกสารบอกว่าไม่เป็นอันตรายกับคน แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้แน่นอนถึงความไม่เป็นอันตรายนั้นได้ เนื่องจากสารเคมีเป็นพิษกับแมลงก็ย่อมเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเช่นกัน สารเคมีเป็นพิษทุกชนิดแต่ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไป สารเคมีสามารถเข้าสู่คนได้ 3 ทางด้วยกันคือ
           1.ทางปาก โดยการรับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น การรับประทานพืช ผัก ผลไม้ ที่มีสารเคมีฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่ การดื่มน้ำในขณะฉีดสารพิษ การตั้งภาชนะใส่อาหารไว้ไกล้บริเวณขณะฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลง 
           2.ทางระบบหายใจ คือการได้รับสารพิษขณะฉีดพ่นโดยการหายใจทางปากหรือจมูกสารพิษพัดปลิวมากับลมแล้วหายใจเข้าไป ทำให้เกิดพิษกับร่างกายได้ 
           3.ทางผิวหนัง โดยการแทรกซึมของสารพิษเข้าทางผิวหนัง เช่น ละอองสารพิษปลิวถูกผิวหนัง สารพิษหกโดนผิวหนัง อันตรายจากสารพิษอาจไม่แสดงอาการทันที แต่อาจสะสมไว้ในร่างกายแล้วแสดงอาการภายหลัง จนไม่อาจทราบสาเหตุของอาการเจ็บป่วย ลักษณะอาการที่เกิดจากสารเคมีฆ่าแมลงอาจมีอาการ เช่น อาจเกิดฤทธิ์ทำลายระบบประสาท สายตาฟ่าฟาง มือสั่น หัวสั่น บางครั้งปวดศรีษะอย่างรุนแรงจนถึงชีวิตได้ 

           การฉีดพ่นยากำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
               เนื่องจากยากำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นสารเคมีที่มีพิษเกือบทุกชนิด ดังนั้นการใช้ยาจำพวกนี้จึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังที่สุด ไม่เช่นนั้นแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฤทธิ์ของยาอาจจะไม่แสดงอาการเลยทันที แต่อาจสะสมในร่างกาย และมีผลภายหลังได้ การใช้ยากำจัดศัตรูพืช จึงควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
          1.ก่อนใช้ยากำจัดศัตรูพืชจะต้องทราบก่อนว่า พืชนั้นเป็นโรคหรือถูกแมลงชนิดใดทำลาย เมื่อทราบแล้วจึงหายากำจัดศัตรูพืชตามชนิดของแมลงศัตรูนั้นๆ 
          2.ควรอ่านวิธีใช้ยาจากฉลากที่ปิดไว้ข้างขวดว่ามีวิธีใช้อย่างไร และเมื่อเกิดอาการแพ้สารดังกล่าวแล้วควรปฏิบัติอย่างไร 
          3.หากต้องมีส่วนผสมกับส่วนผสมชนิดอื่นไม่ควรใช้มือคนหรือกวนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สารเคมีซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และเป็นอันตรายได้ ควรใช้วัสดุอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น ไม้ 
          4.ก่อนฉีดพ่นยาควรสวมถุงมือและหน้ากากป้องกันละอองของสารพิษ 
          5.ขณะพ่นยาต้องอยู่เหนือลมเสมอ 
          6.ห้ามดื่มน้ำ กินอาหารหรือสูบบุหรี่ ขณะฉีดพ่นยา 
          7.ขณะฉีดพ่นยา ไม่ควรนำเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร และเครื่องดื่ม เข้าใกล้บริเวณนั้น 
          8.เมื่อเลิกฉีดแล้วต้องล้างมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำมากๆ 
          9.น้ำยาและเครื่องมือที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด และเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยจากเด็ก และผู้รู้เท่าไม่ถึงการ นำมาใช้หรือไม่ทราบถึงอันตรายของยานั้น 
          10.หลังพ่นยาเสร็จแล้วต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทำงานให้สะอาด 
          11.ไม่ควรเข้าไปใกล้บริเวณที่ฉีดพ่นยาเสร็จใหม่ๆ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ 
          12.ภาชนะบรรจุสารพิษเมื่อใช้หมดแล้วต้องทำลายแล้วฝังดินเสีย (ห้ามเผาไฟ) 
             13.ห้ามเทสารที่เหลือ หรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ เครื่องพ่นลงในแม่น้ำลำคลองโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันมิให้เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และผู้ใช้น้ำ 
          14.สารพิษฉีดพ่นแมลงเป็นพิษต่อผึ้ง ไม่ควรใช้ขณะที่พืชกำลังออกดอก 
          15.ล้างมือและหน้าให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ 
          16.หลังจากฉีดพ่นสารพิษครั้งสุดท้ายแล้ว 14 – 15 วัน จึงเก็บผลผลิตกินได้ 

          อาการที่เกิดจากการแพ้สารพิษ ผู้ ที่ได้รับสารพิษจากยากำจัดศัตรูพืชพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้
          1. อ่อนเพลีย 
          2. ปวดศรีษะ 
          3. แน่นหน้าอก 
          4. มองเห็นภาพได้ลางเลือน ม่านตาหรี่ 
          5. น้ำลายและเหงื่อออกมาก 
          6. คลื่นไส้ อาเจียน 
          7.ท้องร่วง และปวดท้อง 
          8.การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับสารพิษ
          9.ถ้าสารพิษถูกผิวหนัง ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษ 
          10.ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษออก 
          11.รีบขำระร่างกายของผู้ป่วยให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ 
          12.ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและอบอุ่น 
          13.ถ้าสารพิษเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง 
          14.ถ้าสารพิษเข้าปากให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง 
          15.ถ้าหากมีอาการหายใจติดขัด ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมด้วยภาชนะบรรจุ และฉลากวัตถุมีพิษนั้น 

          คำแนะสำหรับแพทย์
          ใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่หายใจติดขัด ให้ atropine sulfate ขนาด 2 – 4 mg ทาง IV จนกระทั่งอาการขาดออกซิเจนหายไป แล้วฉีดซ้ำทุก 5 – 10 นาที จนกระทั่งเกิดอาการ atropinization (ตัวและหน้าแดง หัวใจเต้นเร็วอาจถึง 140 ครั้งต่อนาที) ให้สังเกตอาการผู้ป่วยทุก 48 ชั่วโมง และห้ามไม่ให้ผู้ป่วยสัมผัสหรือรับประทานยาที่เป็น cholinesterase inhibitor จนกว่าร่างกายจะสามารถสร้าง cholinesterase ได้ซึ่งจะทดสอบได้โดยการตรวจเลือด ห้ามใช้ยาจำพวก morphine 
 





See


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.panmai.com

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 2

อ่าน 0 ครั้ง