[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

เรือนไทย

เรามักจะเรียกที่พักอาศัยว่า ''บ้าน'' เสมอ ความจริงบ้าน คือ ส่วนที่มีบริเวณที่ดินโดยรอบรวมกับตัวอาคารทั้งหมด เฉพาะตัวอาคารนั้น เรียกว่า ''เรือน'' ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางจนถึงภาคใต้ของประเทศไทย มีเรือนพักอาศัยแตกต่างกันหลายลักษณะ ขึ้นอยู่ก ับท้องถิ่นที่ตั้งและ สภาพแวดล้อม    
เรือนไทยทั่วไปเป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง ประกอบด้วยห้องนอน ห้องครัว ระเบียง และชาน หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องดินเผา จาก แผก หญ้ าคาหรือใบตองตึง เรือนของผู้มีอาชีพต่าง ๆ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เรือนผู้มีฐานะอันจะกิน (คหบดี) เรือนที่อ ยู่ในเมือง เรือนที่อยู่ในชนบท เรือนชาวเขา เรือนชาวประมง มีรายละเอียดแตกต่างกันไป ซึ่งพอสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ เรือนไทยเดิมที่มีแบบแผนและเรือนพื้นบ้านในชนบททั่วไป  
  เรือนไทยเดิม ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองและในเขตนอกเมือง เป็นเรือนที่มีรูปร่างลักษณะแบบแผนของแต่ละหลังที่แน่นอนแ ละคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ จะแตกต่างกันบ้างในส่วนที่เป็นขนาดของเรือน แบบฝาแต่ละชนิด การจัดชาน การวางบันได และส่วนปลีกย่อยอื่น ๆ เท่านั้น  
เรือนประเภทนี้ มีวิธีการก่อสร้างที่ละเอียดประณีต เป็นเรือนที่ถาวรและทนทาน มีอายุอยู่ได้นานตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เรือนไทยเดิม ที่มีแบบแผนดังกล่าว มีอยู่ในเขตภาคเหนือและภาคกลาง  

เรือนพื้นบ้าน เป็นเรือนที่สร้างขึ้นในชนบทและใกล้ชุมชน ซึ่งผู้เป็นเจ้าของมีอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และประมง เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน และชาวประมง จะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หามาได้ง่าย ๆ ราคาถูก ฝีมือปลูกสร้างไม่ใคร่ประณีต แต่มีความงามทางด้านรูปทรง สัด ส่วน ขนาดของตัวไม้ ตลอดจนมีความกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างดียิ่งเรือนพื้นบ้านนี้มีอยู่ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้  





คลิกเพื่อดูรายละเอียด


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK13/chapter1/t13-1-m.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง