[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

จรรยาบรรณของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต



     โดย คุณ mentalpain (รางวัลชนะเลิศ การประกวดบทความครั้งที่ 1)

     ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบออนไลน์ ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อส่วนรวมอยู่เสมอ แต่ละเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์เหล่านี้จะช่วยให้สมาชิก

     โดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด และป้องกันปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้บางคนได้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าในกฏเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายที่ตนเองเป็นสมาชิกจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายใด จะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายบนระบบ คอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้บริการอยู่ มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้เป็นสมาชิกอยู่เท่านั้น แต่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ หลายพันหลายหมื่นเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน มีข้อมูลข่าวสาร วิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารลงในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายหลายเครือข่าย จนกว่าจดหมายฉบับนั้นจะเดินทางถึงปลายทาง

     ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จึงต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย แม้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จะได้รับสิทธิ์จากผู้บริหารเครือข่าย ให้ใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายนั้นได้ ผู้ใช้จะต้องเข้าในกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายนั้น อย่างเคร่งครัด การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทร์เน็ตเป็นสังคมที่น่าใช้และเป็นประดยชน์ต่อส่วนรวม ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายข่าวลือจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจายไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นผลเสียต่อส่วนรวมและไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังมีผู้พยายามรวบรวมกฎ กติกามารยาท และจัดทำเป็นจรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า Net etiquette เพื่อให้การอยู่ร่วมกันสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตนี้ ได้เรียบเรียงมาจากบทความบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของมหาวิทยาลัยฟอร์ริดาแอตแลนติก โดยผู้รวบรวมชื่อ Ariene H. Rinaldi นอกจากนี้ยังได้รวบรวมจากข้อคิดเห็น และการเสนอข่าวในยูสเน็ตนิวส์

     จรรยาบรรณเกี่ยวกับเวิล์ดไวด์เว็บ (WWW)

     1. ห้ามใส่รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ในเว็บเพจ เพราะทำให้ผู้ที่เรียกดูต้องเสียเวลามาก ในการแสดงภาพเหล่านั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนมาก เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม ทำให้ผู้เรียกดูรูปภาพขนาดใหญ่เบื่อเกินกว่าที่จะรอชมรูปภาพนั้นได้

     2. เมื่อเว็บเพจที่สร้างขึ้นมาต้องการสร้าง link ไปยังเว็บเพจของผู้อื่น ควรแจ้งให้เจ้าของเว็บเพจ นั้นทราบ ซึ่งสามารถแจ้งได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

     3. ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงบนเว็บเพจ ควรระบุขนาดของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงไว้ด้วย (เช่น 10 KB, 2 MB เป็นต้น) เพื่อให้ผู้เรียกดูสามารถคำนวนเวลาที่จะใช้ในการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงนั้น

     4. ควรตั้งชื่อ URL ให้ง่าย ไม่ควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ปนกับตัวอักษรตัวเล็ก ซึ่งจำได้ยาก

     5. ถ้าต้องการเรียกดูข้อมูลจาก URL ที่ไม่ทราบแน่ชัด สามารถเริ่มค้นหาจาก domain address ได้ โดยปกติ URL มักจะเริ่มต้นด้วย www แล้วตามด้วยที่อยู่ของเว็บไซด์ เช่น http://www.nectec.or.th/ http://www.tv5.co.th/ http://www.kmitl.ac.th/

     6. ถ้าเว็บไซด์มี link เชื่อมดยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ด้วยรูปภาพเท่านั้น อาจทำให้ ผู้เรียกดูที่ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุนรูปภาพ ไม่สามารถเรียกชมเว็บไซด์นั้นได้ ก็ควรเพิ่ม link ที่เป็นตัวหนังสือ เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ด้วย

     7. ไม่ควรใส่รูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อข้อมูลบนเว็บเพจ เนื่องจากไฟล์ของรูปภาพมีขนาดใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการเรียกดู และสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น

     8. ควรป้องกันลิขสิทธิ์ของเว็บไซด์ด้วยการใส่เครื่องหมาย trademark (TM) หรือเครื่องหมาย Copyright ไว้ในเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย

     9. ควรใส่ email address ของท่านไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียกชมสามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือติดต่อได้

     10. ควรใส่ URL ของเว็บไซด์ไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในอนาคตสำหรับผู้ที่สั่งพิมพ์เว็บเพจนั้น

     11. ควรใส่วันที่ของการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซด์ครั้งสุดท้ายไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียกชมทราบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น มีความทันสมัยเพียงใด

     12. ห้ามไม่ให้เว็บไซด์มีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีเนื้อหาที่ตีความไปในทางลามกอนาจารหรือการใช้ความรุนแรง เนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ผู้จัดทำเว็บไซด์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาและข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซด์นั้น

     จรรยาบรรณเกี่ยวกับการใช้ Telnet

     Telnet เป็นคำสั่งบนอินเทอร์เน็ตที่ยอมให้ผู้ใช้เรียกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่บนเรือข่าย ผู้ใช้มีอิสระ ในการเรียกคำสั่ง telnet เพื่อต่อไปยังเครื่องต่าง ๆ ได้ทั่ว โลกแต่การที่จะเข้าไปใช้ในเครื่องใดจะต้องยึดถือข้อปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ดังต่อไปนี้


     1. ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่คุณมีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตใช้ ได้ จะต้องไม่ละเมิดโดย การแอบขโมยสิทธิ์ผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่น ใช้บัญชีและรหัสผ่านของผู้อื่น


     2. เครื่องที่ต่อรับ telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง คุณควรทำความเข้าใจโดยการศึกษา ข้อกำหนด โดยเฉพาะเมื่อ login เข้าไปจะมีข้อความและคำชี้แจงบางอย่างให้อ่านและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

     3. ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย telnet จะต้องรีบปฏิบัติงานและใช้ด้วยเวลาจำกัดเมื่อเสร็จธุระแล้วให้รีบ logout ออก จากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของเครื่องเสมอ

     4. ข้อมูลที่ปรากฏบนจอภาพ หรือข้อมูลที่คุณต้องการคัดลอกมาเก็บไว้ยังเครื่องของคุณหรือฮาร์ดดิสก์บนพีซีของคุณ จรรยาบรรณการใช้ anonymous ftp สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่คอยช่วยเหลือกัน และดำเนินการบริการให้กับผู้ใช้ในด้านต่าง ๆ โดย เฉพาะมีแหล่งข้อมูลและโปรแกรมเป็นจำนวนมากเก็บไว้ในศูนย์บริการ ftp ศูนย์บริการบนเครือข่ายเป็นจำนวน มากเป็นศูนย์บริการสาธารณะแบบ anonymous ที่ยินยอมให้ใครก็ได้เข้ามาขอใช้บริการคัดลอกข้อมูลและเข้ามา เวลาใดก็ได้

     การเรียกใช้ ftp จึงควรปฏิบัติตนดังนี้

     1. เมื่อเข้าสู่ศูนย์ ftp และป้อนข้อมูลชื่อผู้ใช้เป็น anonymous จะต้องใส่ชื่ออีเมล์แอดเดรสตามข้อกำหนดของแต่ละศูนย์ การที่ให้อีเมล์แอดเดรสก็เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่บอกได้ว่าผู้ใช้บริการมีตัวตนและอ้างอิงได้

     2. การคัดลอกแฟ้ม ควรเลือกเฉพาะที่ใช้งานจริงเท่านั้น ไม่ควรคัดลอกแบบไม่มีการคัดเลือก เพราะจะสร้างปัญหาในเรื่องการสื่อสารมาก ในกรณีที่ต้องการคัดลอกไฟล์ขนาด ใหญ่กว่า 1 ล้านตัวอักษร ควรเลือกเวลาที่เป็นช่วงเวลานอกราชการ เช่นตอนเย็น หรือ กลางคืน

     3. การเลือกเวลา ftp ในช่วงเวลานอกงานนั้นให้ดูเวลาที่ศูนย์ ftp เป็นหลัก ไม่ใช่เวลาที่ต้นทางที่คุณทำงานอยู่

     4. คัดเลือกแฟ้มมาเก็บไว้ในเครื่องของคุณตามขอบเขตของโควต้าที่อนุญาตให้ คุณควรรับผิดชอบ ด้วยการถ่ายโอนมายังฮาร์ดดิสก์บนพีซีของคุณ

     5. เมื่อต้องการหาชื่อไฟล์หรือสอบถาม Archie ให้สอบถามเป็นอีเมล์

     6. เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคุณ ในกรณีที่คัดลอกไฟล์มา ให้ตรวจสอบดูว่าไฟล์ที่คัดลอกมา มีข้อตกลงทางด้านลิขสิทธิ์อย่างไร ไม่ควรละเมิดสิทธิ์ ถ้าเจ้าของไม่อนุญาต และโปรแกรมใดก็ตามที่ไม่ได้ใช้ ให้ลบออกจากระบบของคุณ จรรยาบรรณการใช้ระบบสนทนาแบบออนไลน์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์ หลายคำสั่ง เช่น write , talk หรือมีการสนทนาเป็นกลุ่ม เช่น irc เป็นต้น

     irc

     1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้

     2. ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้ง จะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียก ซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้

     3. หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว

     4. ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น จรรยาบรรณการใช้ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ยูสเน็ตนิวส์ บูเลตินบอร์ด ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ต มีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิวส์ ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคมบอกรับสมาชิก และให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอ กับสมาชิกด้ววยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอข่าวและผู้อภิปรายเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่น ข่าวบนยูสเน็ตนิวส์ แต่ละกลุ่ม เมื่อส่งออกจะกระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก

     Mailing lists

     ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดานข่าวจะต้องเคารพกฏกติกา มารยาท โดยเคร่งครัด ข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่

     1. ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็น ไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาย สุภาพ เข้าใจได้

     2. ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรง โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง

     3. ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า

     4. ให้แหล่งที่มาของข้อความควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอย หรือข่าวลือ หรือเขียนข่าวเพื่อความสนุก โดยขาดความรับผิดชอบ

     5. จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล

     6. ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมา การเขียนข่าวจึงควร พิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก

     7. ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า

     8. การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซ็นตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่ง แอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้

     9. ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อ การทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก

     10. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรใหญ่มีความหมายถึงการตะโกน หรือการแสดงความไม่พอใจ ในการเน้นคำให้ใช้เครื่องหมาย *ข้อความ* แทน

     11. ไม่ควรนำข้อความที่ฟู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง

     12. ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขัน หรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียน

     13. ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

     14. ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อ และเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา

     15. ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

     16. เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น IMHO - in my humble / honest opinion FYI - for your information BTW - by the way

     17. การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์ หรือความรู้สึกส่วนตัว และระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก

     18. ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าว จะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้นและเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น

     19. ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mbox และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก จรรยาบรรณเกี่ยวกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e - mail) และแฟ้มข้อมูล ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีตู้จดหมาย (mailbox) และอีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะระบบจะรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยอัตโนมัติ หากมีจดหมายค้างในระบบเป็นจำนวนมาก จะทำให้พื้นที่จัดเก็บจกหมายอิเล็กทรอนิกส์ของระบบหมดไป ส่งผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายได้อีก ทำให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบ ไม่สามารถรับส่งจดหมายที่สำคัญได้อีกต่อไป นอกจากนี้ผู้ใดผู้หนึ่งส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขนาดใหญ่มาก ส่งแบบกระจายเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายคน จะทำให้ระบบหยุดทำงานได้เช่นกัน ผู้ใช้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บตู้จดหมายของแต่ละคน มิได้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คน แต่อาจมีผู้ใช้เป็นพันคน หมื่นคน ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย

     Inbox

     ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมายของตนเอง ดังนี้

     1. ตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองทุกวัน และจะต้องจัดเก็บแฟ้มข้อมูล และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตน ให้เหลือภายในโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนดให้

     2. ลบจกหมายอิเล็กทรอนิกส์ทีไม่ต้องการแล้ว ออกจากระบบเพื่อลดปริมาณการใช้เนื้อที่ระบบ

     3. ดูแลให้จำนวนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในตู้จดหมาย จำนวนน้อยที่สุด

     4. ควรโอนย้ายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะใช้อ้างอิงภายหลัง มายังเรื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง

     5. พึงระลึกเสมอว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ดังนั้นไม่ควรจัดเก็บข้อมูล หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้แล้วไว้ในตู้จดหมาย

     6. หลังจากผู้ใช้ได้รับบัญชี (account) ในโฮสต์จากผู้บริหารเครือข่าย ผู้ใช้จะได้รับสิทธิ์ให้ใช้เนื้อที่ของระบบ ซึ่งเป็นเนื้อที่เฉพาะที่เรียกว่า ''โฮมไดเรกทอรี'' ตามจำนวนโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนด ผู้ใช้จะต้องมีความรับผิดชอบต่อเนื้อที่ดังกล่าว เพราะเนื้อที่ของระบบเหล่านี้เป็นเนื้อที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่น โฮสต์แห่งหนึ่งมีผู้ใช้ร่วมกันสามพันคน ถ้าผู้บริหารเครือข่ายกำหนดเนื้อที่ให้ผู้ใช้คนละ 3 เมกะไบต์ โฮสต์จะต้องมีเนื้อที่จำนวน 9 จิกะไบต์ โดยความเป็นจริงแล้วโฮสต์ไม่มีเนื้อที่จำนวนมากเท่าจำนวนดังกล่าว เพราะผู้บริหารเครือข่ายคิดเนื้อที่โดยเฉลี่ยของผู้ใช้เป็น 1 เมกะไบต์ กังนั้นถ้าผู้ใช้ทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและจัดเก็บเฉพาะแฟ้มข้อมูลที่จำเป็น จะทำให้ระบบมีเนื้อที่ใช้งานได้มาก ฉะนั้นผู้ใช้ทุกคนควรมีความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้

     โฮมไดเรกทรอรี่

     1. จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในโฮมไดเรกทรอรีของตนให้มีจำนวนต่ำที่สุด ควรโอนย้ายแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง

     2. การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนและผู้อื่นในเคือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรจะตรวจสอบไวรัสเป็นประจำ เพื่อลดการกระจายของไวรัสในเครือข่าย

     3. พึงระลึกเสมอว่าแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ที่เก็บไว้บนเครื่องนั้น อาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่า ดังนั้นผู้ใช้ไม่ควรเก็บแฟ้มข้อมูลที่เป็นเรื่องลับเฉพาะไว้บนโฮสต์ รูป การจัดระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

     บัญญัติ 10 ประการ

     บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ 10 ประการเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

     1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

     2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

     3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

     4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

     5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

     6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

     7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

     8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

     9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน

     10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฎิบัติผิดกฎเกณฑ์ของเครือข่ายจะต้องตัดสิทธิ์การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป





SEE


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.thaile.com/articles/a1.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 1

อ่าน 0 ครั้ง