[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

การกระจายอำนาจทางการศึกษา

                                                                                                          ความเป็นมา

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก   ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาโดยระบุไว้ในมาตรา 81 ให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญยังได้วางหลักการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วมในรูปของการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ในมาตรา 284 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ   ซึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

          จากสาระหลักของรัฐธรรมนูญทั้งสองประการ จึงเป็นที่มาของกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542   และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มาตรา 41   ระบุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นและมาตรา 42 ให้กระทรวงศึกษาธิการ ศาสนา และวัฒนธรรม   กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและได้มาตราฐานการศึกษา   รวมทั้งเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 มาตรา 30(1)   ได้กำหนดให้ถ่ายโอกนการกิจการให้บริการสาธารณะที่ดำเนินการซ้ำซ้อนระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รัฐจัดการในเขต   ที่รัฐจัดบริการในเขตและไปกระทบเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่รัฐดำเนินการตามนโยบายของรัฐให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในสี่ปี (พ.ศ.2546) และ (4) รัฐต้องให้ท้องถิ่นมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในช่วงไม่เกิน พ.ศ. 2544 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของรายได้ของรัฐในช่วงไม่เกิน พ.ศ. 2549

          เพื่อให้การกระจายอำนาจปกครองไปสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านสังคมเป็นประธานและหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองเป็นเลขานุการ   โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการ   การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ได้จัดทำเสร็จแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินการขออนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรี

                                                                      กรอบแนวคิดการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา
 เพื่อให้การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นสมควรกระจายการจัดการศึกษาในระบบและนอกระบบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความพร้อมทั้งสองฝ่าย   ซึ่งหลักการกระจายอำนาจนั้น   ควรกระจายทั้งเงิน งาน และคน ไปพร้อมๆ กัน แต่ในทางปฏิบัตินั้น ความพร้อมทั้ง 3 เรื่อง มักจะดำเนินการไปพร้อมๆ กันได้ยาก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคน   เพราะมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงหลายด้าน   ฉะนั้น ในช่วงเริ่มต้นต้องดำเนินการตามความเหมาะสมในแต่ละเรื่อง
หลักการโดยรวมในการถ่ายโอน

          1.  งาน/กิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำแล้วประหยัดกว่า

          2.  งาน/กิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำแล้วไม่มีผลกระทบ

          3.  งาน/กิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสามารถที่จะทำได้

          4.   ไม่เป็นงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวกับความมั่นคง การต่างประเทศ การยุติธรรมและการคลังของประเทศ

          5.  เป็นงาน/กิจกรรม ที่สามารถควบคุมมาตรฐานการให้บริการได้

          6.   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดูแล บำรุงรักษา งาน/กิจกรรมที่รับโอนมา

                                                                            ผลการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา
ในขั้นต้นกระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มทะยอยกระจายอำนาจโดยการโอนเงินไปก่อนและคาดว่าเมื่อมีความพร้อมทั้งสองฝ่าย การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็คงจะสัมฤทธิ์ผลตามต้องการ

                                                         ผลการดำเนินงานจากการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 ส่วนราชการ/ภารกิจที่ถ่ายโอน
 ปีงบประมาณ 
2544 (บาท) 2545 (บาท) 
  กระทรวงศึกษาธิการ
 9,186,830,800 9,798,674,000 
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- อาหารกลางวัน (นักเรียนทุกสังกัดในและนอก ศธ.)   3,259,543,700 3,078,687,600 
2. กรมการศาสนา 634,895,000 713,690,000 
- การดำเนินงานศูนย์อบรมเด็กก่อนประถม 419,895,000 449,190,000 
- อาหารเสริม (นม) ก่อนประถม 215,000,000 264,500,000 
3. กรมการศึกษานอกโรงเรียน 31,560,000 39,600,000 
- อาหารเสริม (นม) นักเรียนบนภูเขา 31,560,000 39,600,000 
4. กรมพลศึกษา
 464,690 414,690,000 
- การส่งเสริมกีฬาหมู่บ้านและชุมชน (อุปกรณ์กีฬาและการก่อสร้างลานกีฬาเอนกประสงค์) 464,690 414,690,000 
5. กรมสามัญศึกษา
 33,008,300 33,291,200 
- อาหารเสริม (นม) 33,008,300 33,291,000 
6. สปช. 4,763,125,000 5,518,716,000 
- กิจกรรมการจัดการศึกษา (3 ขวบ) 10,725,000 144,651,000 
- อาหารเสริม (นม) 4,752,400,000 5,374,065,000 
    
หมายเหตุ  1. อาหารกลางวันสำหรับ 30% ของนักเรียนก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา คนละ 60 บาท/วัน 200 วัน/ปี
                 2. อาหารเสริม (นม) สำหรับนักเรียนทุกคน ก่อนประถมศึกษา-ป.4 คนละ 5 บาท/วัน 200 วัน/ปี  
                     ในปีงบประมาณ 2545  รัฐบาลสนับสนุน 230 วัน และท้องถิ่นสนับสนุน 30 วัน รวม 260 วัน/ปี 
                 3. อุปกรณ์กีฬาหมู่บ้านและชุมชน ปีละ 72,938 แห่ง ๆ ละ 5,000 บาท ก่อสร้างลานกีฬาฯ 1,000 แห่ง (2544) 
                     500 แห่ง(2545)
                 4. จัดซื้ออุปกรณ์กีฬาไม่น้อยกว่า 2 ชนิด และไม่เกิน 6 ชนิด (ฟุตบอล   บาสเก็ตบอล  วอลเล่ห์บอล   เปตอง 
                     เซปักตะกร้อ   มวยไทย)





คลิกดูรายละเอียดที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.moe.go.th/main2/project/policy_local.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง