[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ไม้ประดับดูดสารพิษ

                     ดร. บี ซี วูฟเวอร์ตัน ( Dr. B.C. Wolverton ) นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยอวกาศนาซ่าได้ทำการวิจัยมาเป็นเวลา 25 ปี จนค้นพบความสามารถ และประสิทธิภาพของไม้ประดับในการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศได้อย่างดีเยี่ยม และผลการวิจัยนี้ก็ได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลก
                    ดร. บี ซี วูฟเวอร์ตัน ได้เขียนหนังสือ Eco-Friendly House Plant หรือ ไม้ประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนะนำไม้ประดับ 50 ชนิด ที่มีความสามารถในการดูดไอพิษจากอากาศไม่ว่าจะเป็นฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน รวมทั้งไอเสียที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งไม้ประดับส่วนใหญ่ที่ ดร. วูฟเวอร์ตันแนะนำเป็นไม้ประดับที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี เป็นไม้ประดับที่สวยงาม ดูแลรักษาง่าย เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป เพียงแต่เราไม่เคยได้ล่วงรู้ถึงคุณสมบัติในการดูดสารพิษของไม้ประดับเหล่านี้มาก่อน

                                                                                    ตัวอย่างไม้ประดับดูดสารพิษ

                                                                                                     1. เดหลี
Peace Lily  
ชื่อวิทยาศาสตร์   Spathiphyllum Clevelandii
วงศ์   Araceae
ถิ่นกำเนิด   โคลัมเบีย เวเนซูเอลา
แสงแดด   แสงแดดอ่อน  รำไร
อุณหภูมิ   16–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น   ต้องการความชื้นสูง
น้ำ   ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล   ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น ควรรดมากขึ้นถ้าอากาศร้อน  แต่ถ้าอากาศเย็น ก็ลดปริมาณการรดน้ำลง  ใช้ปุ่ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 1–2 ครั้ง  หมั่นทำความสะอาดใบจะช่วยป้องกันแมลงได้
การปลูก   ปลูกลงกระถางโดยใช้ส่วนผสมของ  ดินร่วน  ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก  เศษใบไม้ผุ  และทรายหยาบ  ในอัตราส่วน 2:1:1:1
การขยายพันธุ์   การแยกกอ
อัตราการคายความชื้น   มาก
อัตราการดูดสารพิษ   มาก  
                เดหลีเป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่ง  เนื่องจากให้ดอกสีขาวที่สวยงาม  จึงมักเป็นที่นิยมนำไปเป็นไม้ประดับในอาคาร  เป็นไม้ที่คายความชื้นสูง  ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษภายในอาคาร  เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียวเข้มมันเป็นวาว  ดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวแกมเหลือง  กาบหุ้มช่อดอกมีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว  เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30–60 เซนติเมตร  โดยธรรมชาติเดหลีชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่มีร่มเงาในป่าฝนเขตร้อน  แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคารเดหลีก็สามารถปรับตัวได้ดี  แม้จะมีความชื้นต่ำและรับแสงจากหลอดไฟฟ้า  เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  เป็นไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร
               เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์  อาซีโตน  ไตรคลอไรเอทีรีน  เบนซีนและฟอร์มาดีไฮด์  และสามารถดูดได้ในปริมาณมาก  จึงไม่ควรลืมที่จะนำเดหลีประดับไว้ในสำนักงานหรือบ้านเรือน 

                                                                                                   2. หมากเหลือง 

Areca Palm หรือ Yellow Palm  
ชื่อวิทยาศาสตร์   Chrgsalido carpus lutesers
วงศ์   Arecaceae (Palm)
ถิ่นกำเนิด   มาดากัสก้า
แสงแดด   แดดจัด
อุณหภูมิ   18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น   ต้องการความชื้นสูง
น้ำ   ต้องการน้ำมาก
การดูแล   ควรให้น้ำตอนเช้าวันละครั้ง  แต่อย่าให้แฉะ ให้ปุ๋ยคอกอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง  หมั่นฉีดพ่นใบด้วยละอองน้ำ  จะช่วยป้องกันแมลงได้
การปลูก   นิยมปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินที่สมบูรณ์ มีส่วนผสมของดินร่วน ทรายแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ ในอัตราส่วน 4:2:1:2:1
การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ดหรือแยกกอ
อัตราการคายความชื้น   มาก
อัตราการดูดสารพิษ   มาก  
              หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคาร และคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ
              ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน
 


 

|





คลิกดูรายละเอียดที่ีนี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.panmai.com/Pollution/Pollution.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง