[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

พิการ

                                                                                   ความหมายและประเภทความพิการ
ความพิการ หมายถึง ความบกพร่อง หรือการสูญเสียสมรรถภาพ 
ของร่างกาย และ (หรือ) จิตใจ จะทำให้มีข้อจำกดในการเรียนรู้ การ 
สื่อความหมาย (การพูด ฟัง อ่าน เขียน) การทำกิจวัตรประจำวัน 
การประกอบอาชีพ การสร้างสัมพันธภาพกับคนในสังคม ซึ่งคน 
หนึ่งอาจมีความบกพร่องและมีขีดจำกัด อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ 
หลายอย่างก็ได้ 
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎกระทรวง พ.ศ.2537 ตาม 
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ได้แบ่ง 

                                                                            ความ พิการออกเป็น 5 ปรเภท ดังนี้ :  

1.ความพิการทางการมองเห็น 
2.ความพิการทางการได้ยิน หรือการสื่อความหมาย 
3.ความพิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว 
4.ความพิการทางจิต หรือพฤติกรรม 
5.ความพิการทางสติปัญญา หรือการเรียนรู้ 

1. ความพิการทางการมองเห็น

''ความบกพร่อง หรือการสูญเสียการมองเห็น''ได้แก่ 
ตาบอด คือ คนที่สูญเสียการมองเห็นประกอบด้วย คนตาบอด 
 ที่มองไม่เห็น และคนที่มองเห็นบ้าง 
แต่ไม่มากนักซึ่งไม่สามารถใช้สาย 
ตาได้แม้ว่าจะได้รับการปรับสภาพ 
หรือรักษาแก้ไขแล้ว 
สายตาเลือนลาง จะสามารถมองเห็นในระยะ 
ใกล้ๆ เด็กที่มีการมองเห็นบกพร่องไปสามารถ 
รับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ด้วยอวัยวะรับสัมผัส 
อื่นๆ เช่น ได้ยินเสียง ใช้กายสัมผัส รู้อิริยาบท 
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว รู้กลิ่นรู้รสจึงสามารถเรียนรู้ได้หากได้รับ 
โอกาส 
เด็กที่สูญเสียการมองเห็น สามารถเรียน 
หนังสือได้โดยใช้ อักษรเบลล์ ซึ่งเป็นตัวอักษร 
ที่คิดขึ้นสำหรับคนตาบอดเป็นตัวนูน เวลาอ่าน 
จะใช้มือสัมผัสตามตัวอักษรที่เจาะลงบนกระดาษ 


2. ความพิการทางการได้ยิน หรือการสื่อความหมาย
''คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางการพูการได้ยิน การสื่อความหมายกับผู้อื่น'' ได้แก่ 
2.1 คนที่มีความบกพร่องทางการพูและภาษา 
คนที่ความบกพร่องทางการพูด หมายถึงคนที่มีความบกพร่อง 
ในการออกเสียงพูดเนื่องจากอวัยวะที่ใช้  ในการออกเสียงพูดบกพร่อง 
หรือผิดปกติเช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ รวมทั้งเด็กพูดไม่ชัด และติดอ่าง 

คนที่มีความบกพร่องทางภาษา หมายถึง 
คนที่มีปัญหาในการเข้าใจภาษา และแสดงออก 
ทางภาษา เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และ 
สัญลักษณ์อื่น ๆ 

2.2 คนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง 
คนหูหนวก หมายถึงคนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่ 
สามารถได้ยินเสียงไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม 

คนหูตึง หมายถึงคนที่พอจะได้ยินเสียงบ้างสามารถใช้เครื่อง 
ช่วยฟังได้ ''เด็กหูหนวก'' เรียนรู้ภาษาโดยการใช้การมองดู 
ท่าทางสีหน้าของคนอื่น และการแสดงออกของตัวเอง จึง 
เรียนหนังสือและสื่อความหมายด้วย''ภาษามือ'' คือการใช้ 
มือบอกความหมายแทนภาษาและการใช้''การสะกดคำ'' 
ด้วยนิ้วมือประกอบการอ่านริมฝีปากผู้พูด 


3. ความพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว
หมายถึง''คนที่มีความผิดปกติ 
บกพร่อง หรือสูญเสียอวัยวะ 
ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย 
ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหว 
ได้ดีเท่าคนปกติ เช่น เด็กที่มี 
แขนขาเป็นอัมพาต เป็นโรค 
เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ-กระดูก 
เช่น เท้าปุก เข่าติดเอวคด สมองพิการ โปลิโอ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลีบ 
อวัยวะผิดรูป อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไป 
 ''เด็กสมองพิการ'' มิใช้เด็กปัญญาอ่อน 
เสมอไป เขาคือเด็กที่มีปัญหาด้านการ 
เคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว ที่ 
เกิดจากความผิดปกติของสมองเฉพาะ 
ส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจ 
เป็นทั้งตัว ทำให้ไม่สามารถควบคุมการ 
เคลื่อนไหวของแขนขาและร่างกายได้ 
อาจมีอาการเกร็งหรือตัวอ่อนไม่มีแรง 
บางคนเป็นเพียงเล็กน้อย หรือเพียง 
บางส่วน เช่น เป็นเฉพาะแขน-ขา ข้างเดียว 
หรือทั้งสองข้าง เด็กสอมงพิการบางคนอาจมีความพิการอื่นร่วมด้วย ซึ่งจัด 
เป็น ''ความพิการซ้ำซ้อน'' เช่น ปัญญาอ่อน พิการทางตา หรือหู ก็ได้ 


4. ความพิการทางจิตหรือพฤติกรรม
หมายถึง  ''พฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปกติแย่งมากและเป็นไปอย่าง 
ต่อเนื่อง เป็นแล้วไม่หายอย่างรวดเร็วพฤติกรรม 
นั้นไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ส่งผลกระทบต่อ 
การเรียนรู้ของเด็กเช่น ก้าวร้าวอย่างรุนแรง ทำร้าย 
ร่างกายตนเองและผู้อื่น มีความวิตกกังวลมากเกินเหตุ 
ขาดความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่สนใจสิ่งต่างๆ รอบข้าง ไม่โต้ตอบด้วย 
คล้ายๆ เหม่อลอยและชอบเล่นคนเดียว หรือบางคนอาจขาดสมาธิ 
อยู่ไม่สุข วุ่นวายอยู่ตลอดเวลา 

5. ความพิการทางสติปัญญา
เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีปัญหาในการเรียน คือเรียนรู้หรือรับรู้ 
ได้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน มีระดับสติปัญญาประมาณ 70-90 (ระดับ 
เชาว์ปัญญาปกติคือ 90-110) เช่น เด็กอายุ 10 ปี แต่มีความสามารถ 
ทางสติปัญญาเท่าเด็กอายุ 7-9 ปี 
 เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็ก*ี่มีความบกพร่อง 
ทางด้านสติปัญญาอย่างชัดเจน หรือมีระดับเชาว์ ปัญญาต่ำกว่า 70 ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ 

ปัญญาอ่อนระดับเล็กน้อย 
ปัญญาอ่อนระดับปานกลาง 
ปัญญาอ่อนระดับรุนแรง 

การแสดงออกอาจไม่เหมือนเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน บางคนอาจจะพูดจา 
ไม่รู้เรื่อง สมาธิสั้น แต่บางคนก็เรียบร้อยเชื่อฟังคล้ายเด็กเล็กกว่าอายุจริง 
แม้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ช้ากว่าปกติหรือเรียนรู้ได้น้อย แต่ก็สามารถ 
เรียนรู้หรือเรียนหนังสือได้ตามความสามารถของเด็กแต่ละคน สาสามารถ 
ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ เช่น การถอด-ใสเสื้อผ้าด้วยตนเอง การทำความ 
สะอาดบ้าน ซักเสื้อผ้า ล้างถ้วยชาม เป็นต้น 






คลิกดูรายละเอียดที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://web.school.net.th/fhc/

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง