[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ผลกระทบเศรษฐกิจต่อไทย ''อเมริกา - อิรัก''


                                                                               สงครามระหว่างสหรัฐอเมริกา  กับ  อิรัก
แนวโน้มของสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักเริ่มเข้าสู่ภาวะสุกงอม เมื่อสหรัฐฯและอังกฤษได้ยื่นข้อเสนอฉบับใหม่ เพื่อปลดอาวุธ
อิรักต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยกำหนดเส้นตายให้อิรักปลดอาวุธของตนเองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 17
มีนาคม 2546 ส่งผลให้ระดับราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
แหล่งสำรองน้ำมันดิบที่สำคัญของโลกอยู่ในแถบตะวันออกกลาง(กลุ่มประเทศโอเปค) จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณสำรอง
รวมกันจำนวน 676.90 พันล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นร้อยละ 87.7 ของปริมาณน้ำมันดิบสำรองทั้งหมดของโลก ในช่วงไตรมาส
ที่ 4 ของปี 2545 กลุ่มประเทศโอเปคมีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยวันละ 29.55 ล้านบาร์เรล ส่งออกจำหน่ายนำเข้ามา
ให้ประเทศต่างๆทั่วโลก สำหรับปริมาณน้ำมันดิบที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทย กว่าร้อยละ 60 จากประเทศทางแถบตะวันออก-
กลาง ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต โอมาน ซาอุดิอาระเบีย เยเมน การ์ตา และคูเวต ผลจากสถานการณ์ตรึง-
เครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิรักในปัจจุบัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบและเบรนท์พุ่งทะยานสูงขึ้น จากราคาเฉลี่ยไตรมาสที่ 4 ของปี 
2545 ที่ระดับราคา 24.94 และ 26.30 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 30.07 และ 34.93 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอิรักในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระดับความสัมพันธ์ในด้านการค้าและการลงทุนเพิ่มสูง
ขึ้นตามลำดับ 




    




 

 

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ ข้าว น้ำตาล ไขมันจากพืชและสัตว์ สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอิรักที่สำคัญคือ น้ำมัน
แต่เหตุการณ์ความตรึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-อิรัก ส่งผลให้การพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศต้องชะลอออกไป

เมื่อสงครามเกิดขึ้นจะทำให้ระดับราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานสูงขึ้น น้ำมันดิบเป็นปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญ
ของไทย การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะกระทบต่อต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ในภาคเกษตรกรรม อุตสากรรม ประมง 
การขนส่งและการท่องเที่ยว ส่งผลทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น นำมาซึ่งการปัญหาอัตราเงินเฟ้อ และการ
ชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ภาครัฐได้เตรียมมาตรการเพื่อรองรับกับปัญหาดังกล่าว แต่ประชาชนชาว
ไทยทั้งประเทศไม่ควรประมาท เพราะหากสงครามที่เกิดขึ้นยืดเยื้อและลุกลามขยายวงกว้างออกไปจะไม่ส่งผลดีต่อประเทศใด 
การร่วมแรงร่วมใจกันประหยัดพลังงานจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง 
 







คลิกดูรายละเอียดที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.becnews.com/data/open.html

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง