[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ไข้หวัดโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ

โรคหวัด
โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูกและคอ โรคนี้ไม่รุนแรง หายเองได้ แต่อาจมีโรคแทรกซ้อน เป็นอันตรายได้ และในเด็กเล็กๆ โรคหวัดอาจจะลุกลามไปเป็น หลอดลมอักเสบ และปอดบวมได้

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด ที่อาศัยอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ที่เป็นหวัด ซึ่งแพร่กระจายจากการไอหรือจามของผู้ป่วย และติดต่อกันจากการสูดเอาอากาศที่มีเชื้อเข้าไป หรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย แล้วเชื้อโรคเข้าสู่ทางเดินหายใจจากการเอามือที่ติดเชื้อไปขยี้จมูก หรือตาตนเอง

อาการ
คัดจมูก จาม อาจมีไข้ต่ำๆ ในระยะเริ่มแรก หลังจากนั้นจะมีน้ำมูกใสไหล, เจ็บคอเล็กน้อย มีอาการไอจากการอักเสบของหลอดลมตามมา อาการเหล่านี้จะเป็นมากใน 1-2 วันแรก แล้วจะค่อยๆดีขึ้น
น้ำมูกจะข้นขึ้น อาจมีสีเขียว ซึ่งโดยทั่วไปอาการต่างๆจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์ ในรายที่รุนแรงอาจมีน้ำมูกไหล และไอนานถึง 2 สัปดาห์ โรคแทรกซ้อนที่พบในบางครั้งได้แก่ หลอดลมอักเสบ หูอักเสบ โพรงอากาศรอบจมูกอักเสบ ปอดบวม

การรักษาพยาบาล
1. เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะเพียงแต่ให้พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก อย่าถูกอากาศเย็นจัด อย่าอาบน้ำเย็น ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดไข้และทดแทนน้ำที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูงถ้ามีน้ำมูกมากให้เช็ดออกก่อน ในเด็กเล็กให้กินอาหารเท่าเดิม เมื่อหายแล้วควรเพิ่มปริมาณอาหาร
2. รักษาตามอาการ ในรายที่ไอไม่มากให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ ในเด็กเล็ก ๆ ให้ใช้น้ำผสมมะนาว ป้ายลิ้น ในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่ไอมากจนน่ารำคาญให้จิบยาแก้ไอขับเสมหะ ถ้าตัวร้อนจัด ให้เช็ดตัวด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ถ้าเช็ดตัวแล้วไข้ยังไม่ลด ให้กินยาลดไข้ พาราเซตามอล ตามขนาด โดยให้กิน ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง
ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะไม่มีผลต่อการฆ่าเชื้อไวรัส ยกเว้นในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น มีน้ำมูกข้นเหลือง ไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว ปวดบริเวณไซนัส
เมื่อได้ดูแลอย่างถูกต้องดังกล่าว อาการไข้จะทุเลาลงได้ภายใน 3-4 วัน ถ้ายังมีไข้สูงตลอดเวลาหรือมีไข้เกิน 7 วัน ควรไปพบแพทย์หรือถ้าต้องรับประทานยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ 3. ในเด็กเล็กควรเฝ้าดูอาการ ถ้ามีอาการผิดปรกติดังนี้ ต้องพาเด็กไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่
- ไข้สูงเกิน 3 วัน
- หายใจลำบาก ได้แก่ หายใจเร็วกว่าปรกติ หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดัง
- เด็กมีอาการซึม ไม่ยอมกินนม หรือน้ำ บางรายอาจชักได้
- อาการป่วยมากขึ้น

การป้องกันหวัด
อย่าคลุกคลีกับผู้เป็นหวัด อย่าเข้าไปในสถานที่มีคนพลุกพล่าน เวลาไอ หรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และจมูก เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท และให้มีแสงแดดส่องถึง เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค





http://sd1.sd.ac.th/~super/mission3/workstudent/ruanrit/webpage5.html


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: เรืองฤทธิ์ website โรคภัยใกล้ตัว

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง