[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

กลุ่มดาวนายพราน

                                                                                                    กลุ่มดาวนายพราน

Ori - Orionis / ORION -The Great Hunter

กลุ่มดาวนายพราน หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม กลุ่มดาวเต่า หรือดาวไถ มีดาวฤกษ์สุกสว่างหลายดวง ทำให้สังเกตได้ง่าย โดยเราสามารถ เห็นกลุ่มดาวนายพรานได้นานหลายเดือน โดยเฉพาะตลอดคืนในหน้าหนาวเดือนธันวาคม ซึ่งจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของกลางเดือนธันวาคม   นอกจากนี้ กลุ่มดาวนายพรานยังใช้เป็นจุดอ้างอิงในการหากลุ่มดาวอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ดาวซีริอุส (Sirius, -CMa) ซึ่งจะอยู่ในแนวเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน ชี้ไปทางข้างล่าง หรือทิศตะวันออกเฉียงใต้, ดาวโปรซีออน (Procyon, -CMi) ซึ่งจะอยู่ในแนวที่ไหล่ทั้งสองข้างของนายพราน ชี้ไปทางทิศตะวันออก และเมื่อนับรวมกับดาวบีเทลจุส (Betelgeuse, -Ori) ดาวทั้งสามดวงก็จะเป็น ''สามเหลี่ยมหน้าหนาว'' (The Winter Triangle) ซึ่งจะมองเห็นได้ตลอดฤดูหนาวนั่นเอง นอกจากนี้ กลุ่มดาวนายพราน ยังเป็นกลุ่มดาวที่กาแล็กซีทางช้างเผือก (The Milky Way) พาดผ่านอีกด้วย
 - Betelgeuse, 0.50, Red เป็นดาวฤกษ์สีแดง มีความสว่างปรากฏอันดับ 10 ของท้องฟ้า มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 0.50 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 520 ปีแสง คำว่า ''บีเทลจุส'' มาจากภาษาอารบิก หมายถึง ''รักแร้'' (Armpit of the central one) เนื่องจาก ดาวบีเทลจุส อยู่ที่ตำแหน่งไหล่ขวา ของนายพรานนั่นเอง
- Rigel, 0.12, Blue-white เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน มีความสว่างปรากฏอันดับ 7 ของท้องฟ้า มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 0.12 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 900 ปีแสง คำว่า ''ไรเจล'' หมายถึง ''ขาของยักษ์'' (Giant's leg) โดยที่ดาวไรเจล อยู่ที่ตำแหน่งขาซ้ายของนายพราน
- Bellatrix, 1.6, Blue-white เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 1.6 โดยคำว่า เบลลาทริกซ์ หมายถึง นักรบ (Female Warrior)
M42 - Nebula, 4.0 มีชื่อว่า ''The Great Nebula'' หรือ ''The Orion Nebula'' เป็นเนบิวลาเปิดที่พอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีความสว่างปรากฏประมาณ 4.0 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1500 ปีแสง โดยจะเห็นเนบิวลา M42 อยู่ที่ตำแหน่งปลายดาบของนายพราน (Photo by: David Malin (AAO))
  IC424 - Nebula มีชื่อว่า ''Horsehead Nebula'' หรือ ''เนบิวลารูปหัวม้า'' อยู่ใต้เข็มขัดดวงขวาสุดของนายพรานพอดี (Zeta, -Ori) ซึ่งรูปหัวม้าที่เห็น เกิดจากความมืด, แก็สและฝุ่นที่บดบังเนบิวลาที่อยู่ด้านหลัง แล้วทำให้เห็นเป็นรูปหัวม้าขึ้น เป็นเนบิวลาที่พอจะมองเห็นได้ ด้วยกล้องสองตา ดาวสว่างที่เห็นตรงมุมซ้ายล่างของภาพ คือ ดาวเซตา (Zeta, -Ori) (Photo by: David Malin (AAO))  

นิทานดาว นายพรานชื่อ Orion เป็นนายพรานผู้ยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งได้พบกับ Artemis เทพธิดาแห่งนักล่าและดวงจันทร์ จึงได้คุยโอ้อวดว่า ตนสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตได้ทั้งหมดในโลกนี้ ทำให้ Apollo ผู้เป็นพี่ชายไม่พอใจยิ่งนัก จึงร้องขอให้จีอา (Gaea) เทพเจ้าแห่งโลก ส่งแมงป่อง (Scorpius) มาฆ่า Orion ทำให้ Orion ต้องว่ายน้ำหนี จากนั้น Apollo จึงหลอกให้ Artemis ยิงจุดดำเล็กๆที่อยู่กลางทะเล ซึ่งมารู้ทีหลังว่าเป็น Orion Artemis จึงนำร่างของ Orion ไปไว้บนท้องฟ้า อยู่คนละด้านกับแมงป่อง โดยที่ Orion วิ่งหนีแมงป่องตลอดกาล





คลิกเพื่อดูรายละเอียด


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://skywatcher.hypermart.net/Constellation/Orion/con-ori.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 3

อ่าน 0 ครั้ง