[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ผักใบ

                                                                                                    เตยหอม  
ชื่อท้องถิ่น เตยหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.

วงศ์ Pandanaceae

เตยหอม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  เป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ มีลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้น ใช้เป็นรากค้ำยัน  ใบสีเขียว เรียวยาวตรงกลางใบเป็นร่องลึกตลอดใบ ขอบใบทั้งสองด้านมีหนามเล็กๆ ใบติดกับลำต้นเรียงตัวกันวนรอบลำต้น เมื่ออายุมากขึ้นจะมีดอก ในใบมีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ในทางสมุนไพรใช้ใบต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลหวานเล็กน้อย ใช้ดื่มบำรุงหัวใจ ทำใช้ชุ่มคอชื่นใจ ใบตำพอกรักษาโรคผิวหนัง ต้นและรากขับปัสสาวะ ในการปรุงอาหารหวานบางชนิด นิยมใช้สีเขียวจากใบเตยหอม เป็นส่วนผสมให้เกิดสีและมีกลิ่นหอม เช่น ลอดช่อง ขนมเปียกปูน ขนมชั้น สาลี่ เค๊ก ฯลฯ นอกจากนี้ใบเตยหอม ยังใช้ใบเป็นไม้ปักแจกันหรือกำเป็นช่อร่วมกับดอกไม้อื่นๆ ได้ดีอีกด้วย

การขยายพันธุ์ ทำโดยการปักชำลำต้นหรือกิ่งแขนง ที่แยกมาจากต้นแม่ โดยชำลงในดินที่ลุ่มน้ำเช่นริมคันสวน ถ้าชำในที่ดินแห้งต้องรดน้ำให้ชุ่มชิ้นตลอดเวลา ชอบที่ร่มรำไรแต่ก็ทนต่อแสงแดดได้ดี
 
 
เตยหอม…บำรุงหัวใจ…ทำให้ชุ่มคอ 
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนมาก เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก บางครั้งช่วงเช้ามีหมอกลง แต่พอสายหน่อยแดดออก ซึ่งมีผลทำให้ร้อนมากและอากาศร้อน ๆ ถ้าได้ดื่มน้ำสมุนไพรเตยหอมแล้วจะชื่นใจมาก
สมุนไพรเตยหอมนั้นคนไทยคุ้นเคยมานาน เนื่องจากในอดีตนิยมนำเตยหอมมาประกอบอาหารและขนมหวาน เช่น ไก่ห่อใบเตย ใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรือนำไปแต่งสีและกลิ่นขนม เช่น วุ้นกะทิ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมลอดช่อง ขนมขี้หนู จะเห็นได้ว่าเราใช้สมุนไพรเตยหอมมากมาย แต่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าสมุนไพรเตยหอมนั้น มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรอะไรบ้าง
 สำหรับสมุนไพรเตยหอมนั้น ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ใบ โดยใบเตยประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหยและมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออท (Linalool) และเจอรานิออล (Geraniol) และสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือคูมาริน (Coumarin) และเอทิลวานิลลิน (Ethyl vanillin)
 
             เครื่องดื่มชาสมุนไพรจาก Green-X
 ในตำราแผนโบราณกล่าวไว้ว่า ใบเตยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ซึ่งเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ
ส่วนรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทดลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้ โดยนำใบเตยหอมมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งนำไปชงกับน้ำร้อนดื่มได้ตลอดเวลา หรือจะนำใบเตยที่หั่นเรียบร้อยแล้วไปคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อนๆ จนแห้งดีแล้วจึงเก็บในภาชนะที่ปิดให้สนิท เมื่อจะรับประทานก็นำมาชงกับน้ำร้อนดื่มเตยหอมนั้นจัดเป็นทั้งอาหารและยา นับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมนั้นเป็นสมุนไพรที่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่มีคุณค่าต่อคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้คนไทยหันกลับมาดื่มน้ำสมุนไพรเพื่อบำรุงสุขภาพและเป็นการประหยัดด้วยนะคะ

 





คลิกเพื่อดูรายละเอียด


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-8419.html

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง