[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

บาสเกตบอล

                                                                                        ประวัติการแข่งขันบาสเกตบอล
 
...........บาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติของอเมริกัน ซึ่งคิดขึ้นเพื่อหัวที่จะช่วยเหลือบรรดาสมาชิดของ YMCA ในปัญหาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาในฤดูหนาว ขณะที่ภูมิประเทศโดยทั่วไปถูกหิมะปกคลุมไปหมด การเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น ฟุตบอต เบสบอลต้องหยุดชะงักเพราะหิมะเป็นอุปสรรค และคณะกรรมการของสมาคม YMCA ได้พยายามที่จะช่วยเหลือให้บรรดาสมาชิกได้เล่นกีฬาตลอดฤดูหนาวสมัยนั้น ประเทศอเมริกายังไม่มีกีฬาในร่นอันเหมาะสมที่จะใข้เล่นกันในฤดูหนาวเลย ครั้งแรกได้มีการสอนกายบริหารทั้งชนิดใช้เครื่องมือประกอบและท่ามือเปล่า กับยังมีการเล่นแบบอื่นๆ อีก แต่เนื่องจากการเล่นนั้นๆ มิได้ก่อให้เกิดความบันเทิงแก่ผู้เล่น จึงเป็นเหตุในบรรดาสมาชิก YMCA บังเกิดความเบื่อหน่าย นี่เป็นมูลเหตุอันแรกที่จะทำให้คณะกรรมการสมาคมหาทางแก้ไขปัญหานี้ 

ในปี ค.ศ. 1891 FR. James A. Niasmith ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนักเรียนฝึกสอนอยู่ที่ The International Y.M.C.A. Training School of Springfield, Massachusetts U.S.A.ได้รับมอบหมายจาก Dr. Gulick ให้เป็นผู้คิดค้นการเล่นกีฬาในร่มให้เล่นในฤดูหนาว ในครั้งแรกเขาได้พยายามคิดดัดแปลงการเล่นฟุตบอลกับเบสบอลเข้าด้วยกัน และมีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเล่นกันเป็นชุดเช่นเดียวกับการเช่นฟุตบอล เขาได้ทดลองเล่นโดยการดัดแปลงการเล่นฟุตบอลกับเบสบอลเข้าด้วยกัน โดยใช้เนื้อที่สำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลง แต่ไม่ได้รับผลใดใดจากการทดลองเลย แม้การเล่นจะมีความสนุกสนานก็ตาม หากแต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกันผลักกัน ซึ่งเป็นการเล่นที่รุนแรง ในการทดลองขึ้นต่อมา ดร.เจมส์ ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงเช่นการเล่นฟุตบอลออกเสียเพราะถ้าหากยอมให้เล่นได้เช่นเดียวกับฟุตบอลแล้ว ฝ่ายที่ทำหน้าที่ป้องกันมักจะเข้าปะทะฝ่ายรุกที่จะนำลูกไปเป็นเหตุให้ฝ่ายรุกไม่มีโอกาสนำลูกไปได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เขาจึงได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออก ทำให้ผู้เล่นถูกตัวกันไม่ได้ นี้คือ ''หลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล'' ต่อจากนั้นเขาได้พิจารณาถึงลักษณะของการทำประตูตลอดจนลักษณะของลูกที่ผ่านประตู เขามีความคิดเห็นว่าประตูควรจะอยู่สูงแล้วพยายามบังคับบอลให้ลงประตู โดยผ่านลงไปโดยตลอด ในที่สุด ปรากฏผลว่าลูกบอลที่โยนขึ้นไปเป็นวิถีโค้งนั้น ย่อมไม่จำเป็นจะต้องบังคับลูกให้มากนัก ประตูควรขนานพื้นแล้วโยนลูกบอลให้มีวิถีโค้ง พยายามให้ลูกพุ่งน้อยที่สุด นี่เป็นวิธีการอันหนึ่ง ที่จะหลีกเลี่ยงมิให้ใช้วิธีป้องกันโดยแผนการอุดประตู เพราะประตูอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น ดังนั้นเมื่อลูกบอลได้หลุดพ้นจากมือไปแล้ว ผู้เล่นมิอาจจะเกี่ยวข้องได้อีก จนกว่าลูกจะย้อยตกลงมาหรือกระดอนกับมา ข้อกติการได้บัญญัติไว้ห้ามการเล่นที่รุนแรงเช่น การชน ผลัก แตะ จับ ยึด ฯลฯ ยอมให้เล่นลูกบอลด้วยมือเท่านั้น การปะทะตัวกันและการเล่นหยาบคายต่างๆ ได้ถูกห้ามโดยเด็ดขาด ขั้นต่อมา ดร.เจมส์ ได้พิจารณาถึงลักษณะอาการของการเริ่มต้นเล่น ว่าควรเป็นสถานใดโดยจัดให้ผู้เล่น 2 คน ยืนอยู่กลางสนาม แล้วเขาโยนลูกบอลขึ้นระหว่างกลางของผู้เล่นทั้งสองคนเท่าๆ กัน ในการเล่นระยะแรกๆ คงใช้ลูกฟุตบอลธรรมดา เพราะขณะนั้นยังไม่ได้ประดิษฐ์ลูกบอลเพื่อการเล่นบาสเกตบอลขึ้น สำหรับประตูนั้นเขาได้ใช้ตะกร้าผลไม้เก่าๆ คู่หนึ่งแขวนไว้ที่ด้านสกัดของฝาผนังโรงฝึกพลศึกษาแต่ละข้างสูง 10 ฟุต การเล่นบาสเกตบอกก็ได้มีการเล่นเป็นระเบียบและเจริญก้าวหน้าตั้งแต่นั้นมา 

จากแนวทางที่เขาคิดไว้แล้วนั้น เขาได้วางกฎเกณฑ์การเล่นบาสเกตบอลเป็นหัวข้อใหญ่ ไว้ 4 ข้อคือ 
1. ผู้เล่นที่ครอบครองลูกอยู่นั้น จะต้องไม่เคลื่อนไหวขณะที่ตนครอบครองลูกอยู่
2. ประตูอยู่ขนานกับพื้น และอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น
3. การเล่นรุนแรงห้ามเด็ดขาด การเล่นต้องไม่มีการปะทะตัวกันเลย 
4. ผู้เล่นอาจถูกลูกบอลได้นานเท่าใดก็ได้ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามจะกันได้โดยไม่ถูกตัว

เมื่อได้วางกฎเกณฑ์การเล่นไว้เรียบร้อยแล้ว เขาได้นำไปทดสอบกับนักเรียนขึ้นมัธยมศึกษาและเตรียมอุดมศึกษา โดยให้เล่นตากฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลจากการทดสอบสองครั้งนี้ เข้าได้พบข้อบกพร่องเกี่ยวกับจำนวนผุ้เล่น เนื่องจากสนามเล็กลงถ้าใช้ผู้เล่นจำนวนมาก การหลีกเลี่ยงการประทะตัวกันย่อมทำได้ยาก 

ดังนั้นครั้งแรกเขากำหนดตัวผู้เล่นไว้เพียงชุดละ 9 คน โดยจัดผู้เล่นกองหน้า 3 คน กลาง 3 คน และกองหลังอีก 3 คน ทำให้การปะทะลดน้อยลงไปบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีการปะทะกันอยู่มากนั่นเอง ทั้งนี้เพราะจำนวนผู้เล่นยังคงมากไม่เหมาะกับเนื้อที่สนาม เขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลงจนกระทั้งเหลือฝ่ายละ 5 คน คราวนี้ทำให้การเล่นต้องใช้ความพยายามและระมัดระวังยิ่งขึ้นกว่าเดิม ผู้เล่นต้องใช้ความสามารถป้องกันและหลบหลีก โดยปราศจากการปะทะกัน นับว่าการทดลองของเขานั้นพอจะเป็นรูปร่างและมีระเบียบดีขึ้น

ต่อมา ดร.เจมส์ ได้เขียนกติกาการเล่นไว้จำนวน 13 ข้อ ซึ่งเป็นต้นฉบับปรากฏอยู่ที่กระดานเกียรติยศในโรงฝึกพลศึกษา ณ Springfield และยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ คือ 
1. ลูกบอลจะโยนไปในทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือ 2 มือ
2. อาจใช้ตีไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือ 2 มือ
3. ผู้เล่นจะวิ่งไปกับลูกบอลไม่ได้ ผู้เล่นจะต้องส่งลูกจากจุดที่รับ ยกเว้นวิ่งมาอย่างเร็ว รับและวิ่งเลยไปเล็กน้อยก็ส่งบอลได้
4. ถือลูกบอลระหว่างมือทั้งสองข้าง ใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองลูกไม่ได้ 
5. ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือการดึง ผลัก ตี หรือการการทำให้ล้มไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนกติการดังกล่าวนี้ถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้าฟาวล์ครั้งที่ 2 จะหมดสิทธิ์การเล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะทำประตูกกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าหากมีการบาดเจ็บขณะแข่งจะไม่มีการเปลี่ยนตัวผุ้เล่น
6. การกระทำผิดในลักษณะการตีลูกด้วยกำปั้นถือเป็นการผิดระเบียบ (Violation) และให้ปรับกับผู้ทำผิดเช่นเดียวกับข้อ 5 7. ถ้าทีมหนึ่งทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
8. ประตูที่ทำได้หรือที่เรียกว่าได้ประตูนั้น จะทำได้โดยการโยนลูกจะทำได้โดยตีขึ้นไปที่ตะกร้า และค้างที่ตะกร้าฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งเกี่ยวกับประตูไม่ได้
9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ผู้เล่นที่ไปจับลูกคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามา ในกรณีที่ไม่ทราบว่าใครไปก่อน ให้ผู้ตัดสินส่งลูกเข้ามาเป็นเส้นตรงจากขอบสนาม ในการส่งลูกเข้าเล่นต้องล่งลูกภายใน 5 วินาที ถ้าผู้เล่นถือลูกนานกว่านั้น ให้เปลี่ยนส่ง ถ้าฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาการเล่นอยู่เสมอ ให้ปรับเป็นฟาวล์ 
10. ผุ้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่า ผู้เล่นผู้ใดทำฟาวล์ และลงโทษผู้เล่นให้หมดสิทธิ์ 
11. ผู้ตัดสินสามารถที่จะตัดสินว่าลูกใดออกนอกเขตสนาม และฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าเล่นและจะทำหน้าที่รักษาเวลา และบันทึกจำนวนลูกที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปตามวิสัยของผู้ตัดสิน 
12. การเล่นแบ่งออกเป็นสองครึ่งๆ ละ 15 นาที 
13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากเป็นฝ่ายชนะ ในกรณีที่คะแนนเท่ากันให้หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อต่อเวลา และถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนถือว่าชนะ 

กติกานี้ได้ใช้สืบต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1937 และได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังที่ได้ใช้ในการแข่งขันโอลิมปิค ครั้งที่ 11 ณ กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี โดยคณะกรรมการโอลิมปิคนานาชาติร่วมแก้ไข สหรัฐอเมริกา ยอมรับการเล่นบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติ เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1892 ต่อมาไม่กี่ปีการเล่นบาสเกตบอกได้แพร่หลายออกไปสู่ประเทศต่างๆ เช่น จีน และอินเดียในราวปี ค.ศ. 1894 ในประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1895 ประเทศญี่ปุ่น ในราวปี ค.ศ. 1900 ทั้งได้ขยายวงกว้างออกไปจนเป็นที่นิยมกันในประเทศที่เจริญแล้วแทบทุกมุมโลกในระยะเวลาอันรวดเร็ว มีประเทศที่นิยมเล่นกีฬาบาสเกตบอลไม่น้อยกว่า 52 ประเทศ กติกาการเล่นได้ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ประมาณ 30 ภาษา 
 

                                                                                   ประวัติการแข่งขันบาสเกตบอลในเมืองไทย  

การเล่นบาสเกตบอกได้เริ่มมาประมาณ 60 ปี คือในราวปี พ.ศ. 2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งอาจารย์ภาษาจีน ณ โรงเรียนมัธยมวัดบพิธภิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปลกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้น ต่อมาในปีเดียวกัน กระทรวงธรรมการได้เปิดการอบรมครูจังหวัดต่างๆ จำนวน 100 คน ภายในระยะเวลา 1 เดือน พ.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล ผู้ซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญการเล่นบาสเกตบอล ทั้งได้เคยเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมการแข่งขันเมื่อครั้งท่านกำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีเล่นบาสเกตบอลแก่บรรดาครูผู้เข้ารับการอบรม 

ต่อมาการเล่นบาสเกตบอลในประเทศไทย ก็ได้แพร่หลายไปสู่จังหวัดต่างๆ และนิยมเล่นกันมาก จนมีชุดจังหวัดต่างๆ เดินทางไปแข่งขันกันเสมอ เฉพาะในจังหวัดพระนครและธนบุรี ได้จัดแข่งขันนักเรียนชาย เมื่อ พ.ศ. 2477 สมัยที่ น.อ. หลวงศุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา และเปิดการแข่งขันระหว่างประชาชนในปี พ.ศ. 2491 ระหว่างมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2492 และระหว่างนักเรียนหญิงในปี พ.ศ. 2495 

 





คลิกที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.nivadhana.ac.th/nugames/basketball.asp

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง