|
|
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ (แซมมวล มอร์ส) ในปัจจุบันนี้ แม้การสื่อสารทางโทรคมนาคมและทางโทรเลขจะก้าวหน้าไปไกลมากก็ตาม แต่เมื่อย้อนไปในราวก่อน ค. ศ. 1800 การส่งข่าวระหว่างกันในระยะไกล ยังคงเป็นการตีธง การส่งสัญญาณไฟ หรือโดยเมล์ด่วนกันอยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1832 นั่นเองที่การส่งข่าวสารกันโดยทางกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ แซมมวล มอร์ส นั่นเอง แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส ชาวอเมริกัน เกิดในปี 1791 การคิดประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขของเขานั้นได้เริ่มขึ้นในปี 1832 ขณะที่เขาเดินทางโดยเรือใบที่ชื่อ ซัลลีย์ และเฝ้าดูการทดลองง่ายๆของ ดร. แจคสัน ซึ่งโดยสารมาในเรือลำเดียวกันโดย ดร. แจคสัน (Dr. Jackson) เอาลวดพันรอบๆแท่งเหล็กแท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่า เหล็กกลายเป็นแม่เหล็ก เนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แต่เมื่อตัดกระแสไฟฟ้าออก เหล็กก็หมดวามเป็นแม่เหล็กและตะปูก็ร่วงหล่นลงมา จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นนี้ ทำให้แซมมวล มอร์ส เกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า มอร์สได้ประดิษฐ์สวิตช์ ไฟง่ายๆ จากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิตช์ แต่เมื่อเลิกกดสวิตช์จะเปิดกระแสไฟฟ้าไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกสวิตช์ไฟฟ้านั่นว่า “สะพานไฟของมอร์ส” ใช้ในการส่งกระแสไฟฟ้าเป็นเวลาสั้นๆยาวๆตามรหัส กระแสไฟฟ้านี้จะไหลผ่าานสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมืองหรือประเทศกับประเทศไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า “อาร์เมเจอร์” ต่ออยู่ในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าสั้นๆหรือ “จุด” อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าและดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาวๆหรือ “ขีด” อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านานหน่อยโดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจจะได้ยินเสสียงออดสั้นบ้างยาวบ้างสลับกันไป มอร์สเป็นผู้คิดระบบที่ใช้ รหัสสั้นๆยาวๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อจะได้ส่งขอความไปกับเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า “รหัสของมอร์ส” แซมมวล มอร์ส ผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์อันทรงคุณค่าและเป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร และเขาก็ได้ถึงแก่กรรมในปี ค. ศ. 1875 |
คลิกที่ |
โดย: งาน: งานห้องสมุด อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: http://www.geocities.com/joomp69/samuel_morse.htm |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |