[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

การฝึก ลมหายใจ สำหรับ ผู้ปฏิบัติ เครื่องดนตรี ประเภท เครื่องลม

ลมหายใจสำหรับผู้ปฏิบัติเครื่องลมนั้นนับว่าเป็นหัวใจสำคัญเลยทีเดียว เปรียบเทียบได้กับการสร้างบ้าน รากฐานที่สำคัญคือ เสาเข็มยิ่งรากฐานลงลึกเท่าไหร่ ความมั่นคงสมบูรณ์ของของบ้านก็มากขึ้นเท่านั้น ในการเล่นเครื่องเป่า การฝึกลมหายใจ ก็เปรียบเสมือนเสาเข็มของบ้าน ยิ่งเรามีการฝึกฝนให้ถูกวิธีเท่าไหร่ การฝึกทักษะในขั้นอื่นก็ยิ่งดีตามเท่านั่น...



การฝึก ลมหายใจ สำหรับ ผู้ปฏิบัติ เครื่องดนตรี ประเภท เครื่องลม ตอนที่หนึ่ง
เพราะจะทำให้คุณภาพเสียงที่เราเป่านั้นไพเราะและมีคุณภาพและหากผู้เล่นสามารถ บังคับการใช้ลมหายใจได้ดีเท่าไหร่จะส่งผลช่วยพัฒนาเทคนิคต่าง ๆได้ดีขึ้นด้วย และในการควบคุมลมหายใจ ควรจะต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะอวัยวะ ตลอดจนกล้ามเนื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับการหายใจก็เหมือนกล้ามเนี้อส่วนอื่นที่เมื่อใช้งานบ่อยขึ้นก็จะเกิดความแข็งแรงดังนั้นการฝึกลมหายใจจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งเแรงของกล้ามเนื้อ



ในการฝึกใช้ลมหายใจไม่ใช่เพียงแค่สูดลมหายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น วิธีการที่ถูกต้อง คือเมื่อหายใจเข้า กระบังลม ( DIAPHRAGM) มันก็จะดึงตัวลงด้านล่างทำให้พื้นที่บริเวณทรวงอก มีพื้นที่จุลมมากขึ้น ลมก็จะเคลื่อนที่เข้าไป โดยลมได้ผ่านทางปากและจมูกหลอดลม แล้วเข้าสู่ปอด ตัวอย่าง ลักษณะของกระบังลมเหมือนตอนที่เราเป่าลูกโป่ง ถ้ามีคนมาช่วยดึงที่ปลายลูกโป่ง จะทำให้เรารู้สึกว่าเป่าง่ายขึ้น และลมเข้าไปในลูกโป่ง ได้มากขึ้น เมื่อเราหายใจออกกระบังลมจะเคลื่อนตัวในขณะที่เราฝึกหายใาจนั้นเราอาจจะจินตนาการ เหมือนกับเรารินน้ำลงไปในเหยือกน้ำ น้ำ จะไหลลงสู่ก้นเหยือก แล้วค่อย ๆ ล้นออกมาที่ปากเหยือก เช่น เดียวกันกับการหายใจให้เราคิดว่าลมลงไปส่วนล่างที่ท้องน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ สูงขึ้นมาจนถึงหน้าอก วิธีนี้เป็นเพียงแต่การจินตนาการในการฝึกเท่านั้น ในความเป็นจริงลมไม่ลงไปที่ท้องอย่างที่จินตนาการวิธีนี้เป็นเพียงการ ใช้จินตนาการควบคู่การฝึกเพื่อให้เกิดภาพและความเข้าใจเพื่อสะดวก ต่อการฝึกหัดลักษณะของการหายใจที่ดีนั้น ควรหายใจให้ลึก และรู้สึกว่าร่างกายผ่อนคลายเป็นธรรมชาติที่สุด โดยไม่เกิดอาการเกร็ง การหายใจจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับดังนี้

1. การหายใจระดับทรวงอก ( GHEXT BBEATHING)
เป็นการหายใจโดยมีความรู้สึกเพียงแค่บริเวณทรวงอก คือ เวลาหายใจเข้า – ออก บริเวณหน้าอกจะขยับขึ้น-ลงซึ่งเป็นการหายใจลักษณะที่ไม่เต็มที่ปริมาณของอากาศที่เข้าไปในปอดเพียงพอประมาณเท่านั้นการหายใจเช่นนี้จะได้พบในชีวิตประจำวันของคนทั่ว ๆ ไป แต่ไม่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติเครื่องลม


2. การหายใจโดยใช้กระบังลม (DIAPHAGMATIC BBEATHING ) 
กล้ามเนื้อกระบังลม (DIAPHRAGM) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างปอดกับอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่วงท้อง โดยจะอยู่ที่บริเวณใต้ปอด เมื่อหายใจเข้ากระบังลม จะดึงตัวลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ของปอดให้บรรจุอากาศได้มาก ๆ อากาศก็จะเข้าสู่ปอดได้เต็มที่ ดังนั้นการหายใจสำหรับผู้ปฏิบัติเครื่องลมควรจะต้องหายใจทั้ง 2 ระดับ การฝึกควบคุมลมหายใจ ผู้ฝึกจะต้องควบคุมลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ ในตอนแรก ๆ ผู้ฝึกจะรู้สึกอ่อนเพลีย เพราะร่างกายต้องทำงานมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องฝึกอย่างมีขั้นตอน และต่อเนื่อง เพื่อที่จะให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างประสานกัน 





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานดนตรีและการแสดง
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: คุณ เก่ง

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง