[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

การเตรียมการประกันสังคมกรณีว่างงาน

หลักการสากลเรื่อง ''ประกันสังคมกรณีว่างงาน'' กล่าวไว้ว่าเป็นระบบการให้ความช่วยเหลือผู้ทำงานที่อยู่ในภาวะ การว่างงานโดยไม่สมัครใจ เป็นผลให้ต้องสูญเสียรายได้ให้เงินช่วยเหลือในระยะเวลาที่กำหนดผู้รับความช่วยเหลือต้องว่างงานจริง และพร้อมที่จะทำงาน 
สาระเกี่ยวกับการประกันการว่างงานตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
1. ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนคุ้มครองลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการภายใต้ พระราชบัญญัติประกันสังคม และเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ว่างงาน ยกเว้นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เนื่องจากไม่ได้เป็น ลูกจ้างอยู่แล้วผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเนื่องจากพ้นวัยทำงานแล้ว
2. กองทุนประกันการว่างงานนายจ้าง ลูกจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาล จ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันการว่างงาน
3. อัตราเงินสมทบไม่เกิน 5% ของค่าจ้าง (ข้อเสนอที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม : ในระยะเริ่มต้น จัดเก็บเงินสมทบจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล 1 : 1 : 1)
4. ระยะเวลาจ่ายเงินสมทบเพื่อเกิดสิทธิไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการ ว่างงาน
5. เงื่อนไขการใช้สิทธิต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางานของรัฐ
มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
ผู้ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี
ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร (ข้อเสนอที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ ประกันสังคมระบุเป็นเวลา 3 วัน) ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
ทั้งนี้ ถ้ามีการดำเนินคดีให้รอจนกว่าคดีถึงที่สุดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่โทษสำหรับความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ
6. สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ได้รับประโยชน์ทดแทนตามหลักเกณฑ์และอัตรา ที่กำหนดในกฎกระทรวง (ข้อเสนอที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม : ให้ประโยชน์ทดแทนในรูปตัวเงิน บริการจัดหางานและพัฒนาฝีมือแรงงาน :-อัตราประโยชน์ทดแทนเท่ากับ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยไม่เกิน 6 เดือน)
7. จะได้รับประโยชน์ทดแทนตั้งแต่เมื่อใดตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย (ข้อเสนอที่ผ่านความ เห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม : ตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันขึ้นทะเบียนกับสำนักจัดหางานของรัฐภายหลังว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย)
8. จะเริ่มประกันการว่างงานได้เมื่อใดจะเริ่มได้เมื่อทุกฝ่ายมีความพร้อม

การเตรียมงานในขั้นตอนต่อไป
การแก้ไขกฎหมายประกันสังคมในบางมาตรา 
การร่างพระราชกฤษฎีกาจัดเก็บเงินสมทบกรณีว่างงาน กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเตรียมการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การจัดเตรียมพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานประกันสังคมกรณีว่างงาน





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานการเงิน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: สำนักงานประกันสังคม

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง