[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ประเภทของสถิติ

        สถิติ (Statistics) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย โดยเฉพาะในการวิจัยเชิงปริมาณนั้น จำเป็นต้องใช้สถิติมาบรรยายลักษณะข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลตลอดทั้งกระบวนการวิจัย ดังนั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการวิจัยจึงควรที่จะมีความรู้ด้านสถิติด้วย

        สถิติ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)
        สถิติอนุมาน (Inference Statistics)

--------------------------------------------------------------------------------

            สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)
            คือ สถิติที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีหรือบรรยายถึงลักษณะของข้อมูลเฉพาะที่ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลของการศึกษาจะบอกได้เฉพาะลักษณะของกลุ่มที่ศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถนำผลไปอ้างอิงหรือพยากรณ์ค่าของกลุ่มอื่นๆ ได้ สถิติประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการคำนวณหาค่าการกระจายของข้อมูล การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง สถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของข้อมูลอาจจะเกี่ยวข้องกับวิธีการทางสถิติต่อไปนี้
            1. การนำเสนอข้อมูล (Presentation)
                1.1 การนำเสนอในรูปบทความ
                1.2 การนำเสนอในรูปตารางเป็นร้อยละ (Percentage)
                1.3 การนำเสนอในรูปกราฟ เช่น กราฟแท่ง (Bar Graph) กราฟเส้น (Line Graph) กราฟวงกลม (Pie Graph)
            2. การแจกแจงความถี่ (Fraquency)
            3. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วยสถิติต่อไปนี้
                3.1 ตัวกลางเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย (Arithmatic Mean or Average)
                3.2 ตัวกลางเราขาคณิต (Geometric Mean)
                3.3 ตัวกลางฮาร์โมนิก (Harmonic Mean)
                3.4 ฐานนิยม (Mode)
                3.5 มัธยฐาน (Median)
                3.6 ควอไทล์ (Quartiles)
                3.7 เดไซล์ (Deciles)
                3.8 เปอร์เซ็นไทล์ (Percentiles)
            4. การวัดการกระจายของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยสถิติดังต่อไปนี้
                4.1 พิสัย (Range)
                4.2 ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
                4.3 ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean Deviation or Average Deviation)
                4.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
                4.5 ค่าแปรปรวน (Variance)
                4.6 สัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of Variation)
                4.7 การวัดความเบ้ (Skewness)
                4.8 การวัดความโด่ง (Kurtosis)
            5. การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร มีค่าสถติตที่ใช้ดังนี้
                5.1 สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation)
                5.2 สหสัมพันธ์เชิงอันดับ (Spearman Rank Correlation)

            สถิติอนุมาน (Inference Statistics)
            คือ สถิติที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลที่ได้จากตัวอย่าง (Sample) ซึ่งเป็นการศึกษาจากข้อมูลเพียงบางกลุ่มหรือบางส่วนของประชากร แล้วนำข้อเท็จจริงที่ได้นี้ไปอธิบายหรือสรุปผลลักษณะของประชากร (Population) ทั้งกลุ่ม การสรุปดังกล่าวจะใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability) มาทำการทดสอบสมมติฐาน สถิติเชิงอนุมานหรือการอนุมานทางสถิติจะถูกต้องเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกข้อมูลข้อมูล ซึ่งจะเรียกว่าการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) ผู้วิจัยสามารถสรุปผลลักษณะของประชากรได้ถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ได้มาบางส่วนนี้มีวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ดี กล่าวคือ ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของประชากร
           ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างนั้น ผู้วิจัยควรจะได้ศึกษาถึงทฤษฎีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Theory) เพื่อจะได้ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นตัวแทนของประชากรและจะนำไปสู่การสรุปผล และอธิบายลักษณะของประชากรได้ถูกต้อง
 





http://more.at/sonvijai


โดย:
งาน: งานทะเบียนสถิติ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: เว็ปสอนวิจัย

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง