|
|
นายวิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในงานสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปัญหาสำคัญของการประเมินคุณภาพจากภายนอกเวลานี้ คือไม่ได้นำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาจริง กลายเป็นรายงานผล ''ขึ้นหิ้ง” ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจาก สมศ.ต้องส่งรายงานผลการประเมินสถานศึกษาให้กับหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงคุณภาพ แต่ขณะนี้ สพฐ.มีเพียงโครงสร้างการบริหารงาน แต่ยังไม่มีคณะกรรมการบริหารงาน จึงทำให้บทบาทของ สมศ.เป็นเหมือนเสือกระดาษ อีกทั้ง สมศ.ก็ไม่ได้รายงานผลประเมินให้สาธารณชนได้รับทราบ ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้ทำ ซึ่งอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายได้
''เมื่อ สมศ.ไม่เปิดเผยผลประเมินต่อสาธารณชน ทำให้คนที่รู้ผลมีเพียงไม่กี่คน มีเพียงกรรมการประเมิน ผู้บริหารโรงเรียน และครูไม่กี่คนเท่านั้น ผมเคยคุยกับ สมศ.ว่า หากทำงานดีแต่ไม่มีการนำผลไปใช้แล้วจะทำอย่างไร อย่างน้อยอยากให้นำเสนอสาธารณชนทราบ อาจไม่ต้องเอ่ยชื่อสถาบันการศึกษานั้นๆ ก็ได้ เพื่อทางฝ่ายการเมืองจะช่วยกระทุ้งให้เกิดการพัฒนา'' นายวิจิตรกล่าว และว่า ที่ผ่านมามีข้อร้องเรียนเข้ามามากเกี่ยวกับบริษัทผู้ประเมินมีมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ เพราะตัวมาตรฐานที่ สมศ.วางกรอบไว้นั้นเนื้อหายังต้องตีความ ดัชนีตัวบ่งชี้ก็ยังไม่ชัด เช่น คำว่า ''พอใช้'' หมายความว่าอย่างไร และคำว่า ''ประเมินแบบกัลยาณมิตร'' นั้น มีความหมายสื่อว่าจะไม่มีการชี้ชัดว่าต้องปรับเรื่องใดบ้าง ทั้งที่การประเมินมีความสำคัญต่อการพัฒนา ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรฐานการประเมินของ สมศ.ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีมากเกินไป ควรลดลง และมีจุดเน้นมากกว่านี้ ควรจะวัดเรื่องใหญ่ๆ โดยดูจากความต้องการพัฒนาประเทศเป็นหลัก เช่น ประเด็นจัดการเรียนการสอนให้เด็กคิดเป็น วิเคราะห์เป็นนั้น มีแล้วหรือไม่ เป็นต้น |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานนโยบายและแผน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: มติชนรายวัน ฉบับที่ 9383 [หน้าที่ 20 ] ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |