|
|
อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยคาดหวังและอยากจะเห็นสภามหาวิทยาลัยที่มีความสุขุมรอบคอบ กรรมการสภาแต่ละท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถในการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ด้วยประสบการณ์ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสามารถตรวจสอบและรู้ทันผู้บริหาร แต่สำหรับสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือนั้นมีเรื่องปรากฏให้เห็นชัดเจนว่า สภาแห่งนี้เหมือนตรายางให้อธิการบดีใช้วิธีเปลี่ยนข้อบังคับเมื่อปี พ.ศ.2544 ในส่วนที่เกี่ยวกับการสรรหานายกสภา และกรรมการสภา โดยกำหนดให้อธิการบดีเป็นประธานกรรมการสรรหา ซึ่งแสดงถึงความไม่ชอบมาพากล ปัจจุบันอธิการบดีคุมเสียงในสภาได้ 15 เสียง จาก 17 เสียง นี่คือที่มาของสภาตรายาง ผลจากการเป็นสภาตรายางทำให้เกิดความล้มเหลวของการบริหารงานมหาวิทยาลัย เริ่มแรกจากการใช้เงินผิดประเภท รัฐบาลมีนโยบายเร่งผลิตบัณฑิตสาขาขาดแคลนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมการเกษตร จึงได้จัดเงินงบประมาณเร่งรัดผลิตบัณฑิตปีละกว่า 25 ล้านบาท แต่อธิการบดีกลับนำเงินส่วนนี้ไปใช้โดยอ้างเพื่อจ่ายค่าสาธารณูปโภคอันเป็นการใช้เงินผิดประเภท ทำให้การผลิตบัณฑิตสาขาขาดแคลนไม่เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเป็นหนี้ค่าสาธารณูปโภคจำนวนเงินมากกว่า 50 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีหนังสือแจ้งว่าจะตัดไฟฟ้าถ้ามหาวิทยาลัยไม่จ่ายค่าไฟฟ้า อธิการบดีนำเงินไปใช้อะไร คำถามนี้มีผู้ถามมากมายและหาคำตอบได้ไม่ยากแม้ว่าจะมีการปกปิดข้อมูล คำตอบอยู่ที่โครงการต่างๆ ซึ่งล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เช่นโครงการรถไฟฟ้าเช่ามาจำนวน 40 คัน เสียค่าเช่าปีละมากกว่า 10 ล้านบาท โฆษณาให้นิสิตขึ้นรถฟรี แต่แท้ที่จริงเก็บเงินจากนิสิตในรูปของค่าบำรุงมหาวิทยาลัยจากปีละ 600 บาท เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000 บาท(พ.ศ.2546) และจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 5,000 บาท ในปี พ.ศ.2547 ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต 200 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 บาท การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทำให้นิสิตที่กู้เงินจากรัฐบาลได้รับความเดือดร้อน อธิการบดีใช้วิธีหักเงินค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นก่อน ส่วนที่เหลือเฉลี่ยให้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายเดือน นิสิตที่เข้าเรียนในปี พ.ศ.2546 ได้รับเงินคนละ 721 บาทต่อเดือน แค่ค่าอาหารกลางวันก็ไม่พอแล้ว ผลกระทบนี้เกิดจากการรับนิสิตมากเกินไป นอกจากจะทำให้ขาดคุณภาพการศึกษาแล้วยังทำใหันิสิตที่กู้เงินขาดปัจจัยในการครองชีพที่เพียงพอ วันที่ 22 พ.ย.2546 ได้มีการสรรหาคณบดีคณะหนึ่ง ปรากฏว่ากรรมการสรรหาซึ่งมีอธิการบดีเป็นกรรมการ ได้เสนอชื่อผู้เข้าแถลงนโยบายเพียงรายเดียวให้สภาพิจารณา ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าถูกตัดชื่อออกหมด ในจำนวนนั้นมีผู้หนึ่งเป็นศาสตราจารย์ ซึ่งเคยเป็นรองอธิการบดี เหตุที่ตัดชื่อศาสตราจารย์ท่านนั้นออกเนื่องจากท่านเคยทักท้วงการใช้จ่ายเงินของอธิการบดี จนถูกปลดออกจากตำแหน่งรองอธิการบดี โดยไม่ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เป็นที่แน่ชัดว่า บุคลากรไม่สามารถพึ่งสภา และถ้ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ความไม่ชอบธรรมจะเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ รศ.วิชัย ฤกษ์ภูริทัต |
http://www.thaiedresearch.org/thaied_news/index1.php?id=11156 |
โดย: งาน: งานนโยบายและแผน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: มติชนรายวัน ฉบับที่ 9392 [หน้าที่ 21 ] ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |