|
|
ดร.อดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่สถาบันการเงินต่าง ๆ รวมถึงธนาคารออมสิน ไม่ปล่อยเงินกู้ให้กับครูภายหลังจากมีนโยบายไม่ให้หักชำระหนี้จากเงินเดือนครู ทั้งที่ครูบางรายได้รับการอนุมัติให้กู้แล้วก็มีการระงับการจ่ายเงินว่า สิ่งดังกล่าวถือว่าถูกต้องและมาถูกทางแล้ว เพราะทุกวันนี้พ่อค้า นักธุรกิจเข้ามาทำธุรกิจขายของให้ครู ซึ่งเหมือนเป็นการช่วยเหลือครูแต่ความจริงกลับเป็นการเพิ่มภาระให้กับครู ทำให้ครูเดินผิดทาง และเมื่อไม่ให้หักเงินเดือนครูก็ทำให้ครูไม่เป็นลูกหนี้ที่ดีอีกต่อไป ทำให้ธุรกิจต้องมีความเสี่ยง ดังนั้นการจะพิจารณาขายของให้ครูก็ต้องดูเป็นรายบุคคล ซึ่งบางรายก็สามารถผ่อนชำระได้ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นปัญหาที่ทางพ่อค้าและสถาบันการเงินจะต้องไปพิจารณาแก้ไขปัญหากันเอง ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติเงินกู้หรือการเรียกเก็บเงิน ซึ่งธนาคารต้องจัดการได้ เพราะครูก็เหมือนประชาชนทั่วไปที่ถึงเวลาจ่ายก็ต้องไปจ่ายที่ไหนก็ได้ แต่อย่าหาเหตุผลว่าการไปชำระหนี้จะกระทบการจัดการเรียนการสอนของเด็ก เพราะมันคนละเรื่องกัน ''เรื่องของหนี้สินครู ทางกระทรวงศึกษาธิ การทำได้ส่วนหนึ่ง แต่เราไม่สามารถเข้าไปดูแลชีวิตครูได้ทั้งหมด ซึ่งครูจำเป็นต้องมีฐานะที่ดีขึ้น การปรับโครงสร้างหนี้สินครูก็มีความจำเป็น ซึ่งผมกำลังดูว่าหนี้ครูรายบุคคลมีจำนวนเท่าใด และเจ้าหนี้มีใครบ้างต้องสาวออกมาดูให้หมด ซึ่งต้องคุยกันเป็นกระบวนการ ส่วนจะมีการยืดเวลาชำระหนี้ออกไปด้วยหรือไม่คงต้องรอดูข้อมูลก่อน'' รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามปัญหาที่แท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการคือความเป็นองค์กรขนาดใหญ่และกัดกินตัวเอง เป็นองค์กรที่เผลอไม่ได้ ซึ่งตน พูดตรง ๆ ไม่ได้ อย่างสมัยก่อนการโยกย้ายก็มีเรื่องการซื้อขายตำแหน่งก็ทำให้ครูเป็นหนี้อีกเช่น กัน เป็นการกัดกินกันอย่างมหาศาล ซึ่งตนก็พยายามแก้ปัญหาถึงแม้จะไม่รู้ว่าจะได้อยู่อีกกี่เดือนก็ตาม. |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานนโยบายและแผน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: เดลินิวส์ ฉบับที่ 19768 [หน้าที่ 27 ] ประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |