[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

เทคนิคการเป้าหมายของตัวชี้วัดผลงาน (Target Setting)

เทคนิคการเป้าหมายของตัวชี้วัดผลงาน (Target Setting) 
ณรงค์วิทย์ แสนทอง 
[email protected]

ในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานที่วัดได้ จับต้องได้ชัดเจน และเป็นรูปธรรม แต่ปัญหาอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากที่เราได้วิเคราะห์หาตัวชี้วัดผลงานหลักหรือที่เรียกว่า KPIs = (Key Performance Indicators) แล้วคือ เป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละตัวควรจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อการประเมินผลงานได้ เพราะหัวหน้าบางคนอาจจะกำหนดเป้าหมายให้ลูกน้องง่ายไปหรือยากไป

สำหรับการกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดผลงานมีเทคนิคในการกำหนดดังนี้

กำหนดเป้าหมายจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic Goals)
องค์กรควรจะมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวไว้ก่อน จึงจะช่วยให้การ กำหนดเป้าหมายในแต่ละปีเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น เราจะเป็นองค์กรชั้นนำในการผลิตรถยนต์ใน เอเชีย และ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์คือการเพิ่มยอดขายเป็น 3 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น เป้าหมายของ หน่วยงาน ทางด้านการตลาดและการขายคือ ยอดขายเพิ่มขึ้น 3 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ทุกหน่วยงาน จะยึดเอาเป้าหมายหลักขององค์กรมาเป็นตัวตั้ง ถ้าหน่วยงานใดไม่มีเป้าหมายระดับองค์กรระบุไว้ชัดเจน ต้องกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เช่น ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องกำหนด เป้าหมายตัวชี้วัดให้สอดรับกับการเป็นองค์กรชั้นนำในการผลิตรถยนต์ในเอเชียด้วยเหมือนกัน 
กำหนดจากบนลงล่าง (Top Down)
เมื่อกำหนดเป้าหมายระดับองค์กรเรียบร้อยแล้ว ควรกระจายเป้าหมายลงสู่ระดับหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน ตามลำดับ ในการกระเป้าหมายนี้ถือว่าเป็นกลไกในการกระจายความรับผิดชอบต่อเป้าหมายขององค์กร ไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความมั่นใจได้ว่าเป้าหมายขององค์กรแต่ละตัวมีผู้ร่วมรับผิดชอบครบถ้วน แล้ว 
ปรับเป้าหมายในแนวนอน (Horizontal Alignment)
ในการกำหนดเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน นอกจากจะรับเป้าหมายจากระดับองค์กรมาแล้ว เป้าหมาย บางอย่างแต่ละหน่วยงานต้องกำหนดขึ้นมาเอง ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาเป้าหมายของแต่ละ หน่วยงานมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าหน่วยงานอื่นมีความคิดเห็นอย่างไรกับเป้าหมายของ แต่ละหน่วยงาน เทคนิคนี้นอกจากจะช่วยในการปรับจูนเป้าหมายระหว่างหน่วยงานแล้ว ยังจะช่วยให้แต่ ละหน่วยงานได้มีโอกาสชี้แจงถึงที่มาของเป้าหมายตัวชี้วัดอีกด้วยว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งจะทำให้หน่วยงาน อื่นๆเข้าใจลักษณะการทำงานของหน่วยงานอื่นเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสหน่วยงานที่ ต้องทำงานเกี่ยวข้องกันร่วมกันกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดบางตัวร่วมกัน เช่น ฝ่ายผลิตต้องกำหนด ตัวชี้วัดเรื่องของคุณภาพของสินค้าร่วมกันหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น 
ปรับเป้าหมายในแนวดิ่ง (Vertical Alignment)
การกระจายเป้าหมายตัวชี้วัดจากหัวหน้าสู่ลูกน้องในสายงานต่างๆนั้น ไม่ใช่เป็นการกระจายแบบทางเดียว คือลูกน้องมีหน้าที่รับเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่ควรเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้อภิปราย แสดงความคิดเห็น บนพื้นฐานของเหตุในการรับหรือไม่รับเป้าหมายที่หัวหน้ากระจายลงมา ทั้งนี้เพื่อให้ลูกน้องได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดเป้าหมาย ในขณะเดียวกันก็เป็นการตรวจสอบดูว่าเป้าหมายที่ถูกกำหนดมาจากข้างบนนั้น เป็นไปได้หรือไม่ในทางปฏิบัติ เพื่อจะได้นำเอาสิ่งที่ลูกน้องเสนอแนะไปใช้ในการพิจารณาเรื่อง งบประมาณในกรณีที่มีข้อจำกัดในเรื่องของทรัพยากรและสามารถแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการในการ จัดทำงบประมาณ แต่ถ้าเป้าหมายที่กระจายลงมามีข้อจำกัดมากกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยงบประมาณ หัวหน้า ควรจะนำเอาปัญหานั้นกลับไปทบทวนและดำเนินการแก้ไขในระดับบริหารหรือระดับองค์กรต่อไป 
กำหนดจากสถิติที่ผ่านมาในอดีต (Past Records)
ตัวชี้วัดผลงานบางตัวสามารถนำเอาสถิติหรือข้อมูลผลงานในอดีตมาเป็นเป้าหมายได้ เช่น อาจจะกำหนด จากค่าที่ดีที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หรือกำหนดจากค่าเฉลี่ยของผลงานจริงในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา การ กำหนดด้วยวิธีนี้จะต้องแน่ใจได้ว่าข้อมูลในอดีตนั้นครบถ้วนและเก็บรวบรวมบนพื้นฐานเดียวกัน ใช้สูตร คำนวณเหมือนกันกับสูตรของตัวชี้วัดที่เรากำลังจะใช้วัดในปีนี้ 
กำหนดจากมาตรฐานสากล (International Standard)
ถ้าตัวชี้วัดผลงานตัวใดมีมาตรฐานสากลรองรับให้ตั้งเป้าหมายตัวชี้วัดตามข้อกำหนดของมาตรฐานนั้น เช่น การตรวจสอบ (Audit) ระบบ ISO จะต้องไม่มีจุดบกพร่องที่เป็นจุดวิกฤติ ฉะนั้นเป้าหมายของตัวชี้วัด เกี่ยวกับระบบ ISO คือต้องไม่มีจุดบกพร่องที่เป็นจุดวิกฤติหรือเป้าหมายเท่ากับศูนย์ 
กำหนดจากกฎหมาย (Law)
การกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดบางตัวสามารถอ้างอิงจากมาตรฐานทางกฎหมายได้ เช่น ค่าน้ำทิ้งสู่การ นิคมอุตสาหกรรม ค่าน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ค่าความสะอาดของควันจากปล่อง ค่าของเสียง อากาศ หรือการตั้งเป้าหมายในด้านการที่ไม่มีการทำผิดหรือฝ่าฝืนข้อกำหนด เช่น ไม่มีการเสียค่าปรับในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย 
กำหนดจากการเทียบเคียงกับสิ่งที่ดีที่สุด (Best Practice)
ตัวชี้วัดผลงานบางตัวไม่มีกฎหมายหรือมาตรฐานอะไรรองรับ อาจจะต้องพิจารณาดูว่าสิ่งที่องค์กรอื่นๆทำ ได้ดีที่สุดในขณะนี้คืออะไร เราอาจจะนำเอาค่าที่ดีที่สุดในขณะนี้มาเป็นเป้าหมาย อาจจะเป็นเป้าหมายระยะ สั้นหรือระยะยาวก็ได้ 
กำหนดจากการเทียบเคียงกับอุตสาหกรรมเดียวกัน (Benchmarking)
การกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดผลงานที่นิยมทำกันอีกอย่างหนึ่งคือ การตั้งเป้าหมายโดยเทียบเคียงกับผลงาน ของอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบอัตราการออกจากงานกับอุตสาหกรรมเดียวกันที่ตั้งอยู่ใน บริเวณใกล้เคียงกัน การกำหนดเป้าหมายโดยการเทียบเคียงนี้จำเป็นต้องศึกษาดูให้ดีว่าสิ่งที่เรากำลังจะ เปรียบเทียบกันนั้น อยู่บนพื้นฐานเดียวกันหรือไม่ 
กำหนดขึ้นมาเอง (Feeling)
ตัวชี้วัดผลงานบางตัวไม่มีมาตรฐานหรือกฎหมายอะไรรองรับ นอกจากนี้ยังไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับ ใครได้ วิธีสุดท้ายที่จะกำหนดเป้าหมายได้คือ ให้กำหนดขึ้นมาเองตามความเห็นความรู้สึกของผู้ประเมิน ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานในปีแรกเป็นฐานในการกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดนั้นๆในปีต่อไป เช่น เราอาจจะไม่ สามารถหามาตรฐานเรื่องผลการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานจากที่ไหนได้ เพราะวัฒนธรรมองค์กร ต่างกัน คำถามแตกต่างกัน วิธีการวัดอาจจะแตกต่างกัน และเราไม่เคยวัดเรื่องนี้มาก่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้อง กำหนดกันขึ้นมาเองตามความเหมาะสม ซึ่งผู้ประเมินและถูกประเมินจะต้องเปิดใจในการกำหนดเป้าในปี แรกนี้ก่อน และการให้น้ำคะแนนในตัวชี้วัดผลงานข้อนี้อาจจะมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเป็น การกำหนดเป้าหมายตามความรู้สึกมากกว่าการอ้างอิงข้อมูลและข้อเท็จจริง 
จากเทคนิคการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดผลงาน 10 วิธีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คงจะพอเป็นแนวทางให้กับองค์กรที่กำลังนำเอาระบบตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicators) ไปใช้เกิดความสะดวกในการกำหนดเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นนะครับ หลักสำคัญของการกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดคือ เป้าหมายนั้นสัมพันธ์กับเป้าหมายองค์กรหรือไม่ เป้าหมายที่กำหนดนั้นถ้าบรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมายจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายในระดับสูงขึ้นไปหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และสิ่งสำคัญคือ การกำหนดเป้าหมายควรจะได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานโดยการให้ผู้ปฏิบัติงาน(ผู้ถูกประเมิน) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายด้วย ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการกำหนดตัวชี้วัดผลงานเลย เพราะถึงแม้กำหนดตัวชี้วัดถูกและเหมาะสมแต่กำหนดเป้าหมายไม่ถูกต้อง การวัดและประเมินผลงานนั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพได้เหมือนกัน
 
 





Website บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ณรงค์วิทย์ แสนทอง, บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง