[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

มารู้จักหนูน้อยผู้เรียนรู้กันเถอะ

        ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำหลักสูตร  การเตรียมแผนการเรียนการสอน  หรือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย  เราในฐานะครูจำเป็นที่จะต้องรู้ซึ้งถึงวิธีการเรียนรู้ของหนูน้อยวัยนี้  โดยอาศัยข้อสันนิษฐานที่พอสรุปรวบรวมได้จากทั้งจากทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
      สันนิษฐานข้อที่ 1  : เด็ก  ๆ สร้างความรู้ของพวกเราเองในรูปของลำดับเหตุการณ์ซึ่งสามารถทำนายได้
      เด็กไม่ใช่ปผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ  และก็ไม่ใช่ภาชนะว่างเปล่าที่คอยแต่จะให้ผู้ใหญ่เป็นผู้เติมใส่ข้อมูล  นับแต่วัยทารกเป็นต้นมา  เด็กดิ้นรน  ตื่นตัว  และกระตือรือร้น  เพื่อใช้ร่างกายและความคิดทำให้ตนเองเข้าใจกรอบตัว  เด็กจะกระทำอย่างต่อเนื่อง  และจัดเก็บประสบการณ์ไว้ในใจโลกรอบตัว  เด็กจะกระทำอย่างต่อเนื่อง  และจัดเก็บประสบการณ์ไว้ในใจอย่างเป็นระบบ  ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ทางสังคมที่มีต่อผู้ใหญ่หรือเด็กคนอื่น ๆ หรือเป็นประสบการณ์ทางกายภาพที่เด็กมีต่อวัตถุต่าง ๆ  เด็กจะสร้างกรอบความรู้ของตนเองผ่านประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้ว  ซ้ำเล่า  ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลและวัตถุ
    สันนิษฐานข้อที่ 2  : เด็ก  ๆ เรียนรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่พวกตนมีต่อเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ
    จากงานวิจัยทางพัฒนาการนำมาซึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า  พัฒนาการทางปัญญาของเด็กมีความเชื่อมโยงอย่างเป็นองค์รวมกับพัฒนาการทางอารณ์และสังคม  พัฒนาการของความคิดอ่านระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้น  เร่มต้นจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและถูกบันทึกไว้ในใจอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง
    ความรู้ทางสังคมผุดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อมรอบตัว  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนำมาซึ่งการรู้จักกับการได้มา
ให้กลับ  การเคารพซึ่งกันและกัน  รวมถึงการร่วมมือกัน  สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการปรับความแตกต่างของแต่ละคนในเรื่องของความเชื่อ  ความคิด  มุมมอง  และเจตนา  เพื่อนำมาซึ่งกฎและข้อตกลงที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับได้  และนี่ก็คือกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทักษะ
ในการสื่อสาร  คนเราหากไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพจะไม่มีทางเจรจาเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างกันได้
    ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองจะผุดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมของการยอมรับและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน  ความเป็นตัวของตัวเอง  เป็นพัฒนาการของการรู้จักควบคุมตนเอง  การมีทักษะความสามารถ  ความรู้สึกเป็นอิสระและการรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำและความเชื่อของตนเอง  พัฒนาการบุคลิกาภาพของเด็กที่ได้รับการหล่อเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ต่างฝ่ายต่างร่วมแรงร่วมใจเพื่อส่งเสริมการให้การยอมรับและให้ความเคารพระหว่างกันและกันรวมถึงความเป็นตัวของตัวเอง
  สันนิษฐานข้อที่ 3  : เด็ก ๆ เรียนรู้ผ่านการทดลองและจับต้องลองเล่น
    ทฤษฎีพัฒนาการเด็กปฐมวัยเสนอว่า  เด็กเล็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสบการณ์ตรง  พวกเขาเรียนรู้จากการกระทำ  การได้สัมผัส 
การทดลอง  การลองเลือก  การพูดคุย  และการเจรจา  การได้จับต้องลองเล่นสิ่งต่าง ๆ  ที่อยู่แวดล้อมรอบตัวเป็นสิ่งสำคัญต่อเด็กใน
การสร้างความรู้  การกระทำของเด็กที่มีต่อวัตถุและความคิดอ่านเกี่ยวกับผลของการกระทำจะไปเปลี่ยนแปลงความรู้  การให้เหตุผล
และความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาวิธีที่เด็กเรียนรู้เป็นสิ่งที่ครูทุกคนตระหนักเมื่อจัดทำหลักสูตร  ทั้งนี้เพราะด้วยกระบวนการเรียนรู้นี้เองจึงทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาปฐมวัย  เด็ก ๆ ต้องพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองด้วยตนเองไม่ใช่จะได้มาโดยการมีใครมาสอนมาสั่งให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้
    สันนิษฐานข้อที่ 4  : เด็กเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดในการสร้างคามรู้
    การทดลองที่เด็กเป็นผู้ตั้งใจเองถือเป็นงานวิจัยที่เกิดขึ้นเอง  นัยหนึ่งมีความหมายว่า  เด็กปรับความคิดอ่านและค้นพบความรู้ใหม่  หัวใจของการทดลอง  ก็คือ  การทำความผิดพลาดในการสร้างความรู้ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาด้านความคิดอ่านเรารู้ว่าเด็กเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเพราะพวกเขามีไอเดียมากมายที่ผู้ใหญ่ไม่ได้สั่งสอน  สำหรับเด็กทุกคน  ไอเดีย  ความสัมพันธ์  และประสบการณ์  จะกลาย
มาเป็นสิ่งที่มีความหมายได้ก็ด้วยการตีความที่เด็กให้กับสิ่งเหล่านี้
    เด็ก ๆ จำเป็นต้องตั้งสมมติฐานแล้วคอยพยายามทดสอบทั้งด้วยการคิดและการได้ลงมือจับต้องลองดู  นั่นก็คือ  สังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้น  เปรียบเทียบผลลัพธ์  ถามคำถาม  และค้นหาคำตอบ  เมื่อวัตถุและเหตุการณ์ไม่ลงรอยกับรูปแบบการทำงานที่เด็กคิดไว้ในใจ  เด็กจะถูกบีบบังคับให้ปรับรูปแบบหรือปรับโครงสร้างทางความคิดอ่าน  เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่  ตลอดวัยเด็ก  โครงสร้างทางความคิดอ่านเหล่านี้จะถูกปรับแต่ง  ขยับขยาย  และจัดระบบใหม่อยู่ตลอดเวลา  โดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้มาใหม่
    สันนิษฐานข้อที่ 5 : ความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นตามประสาเด็กเป็นตัวจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
    เด็กมี  แรงขับภายใน  เพื่อฝึกฝนความสามารถทางปัญญาที่ผุดขึ้น  และเพื่อทำให้ประสบการณ์มีความหมายขึ้นมา  นักการศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องบ่งชี้เนื้อหาที่ให้เด็กอยากรู้และปลุกเร้าความต้องการและความปรารถนาที่ตัวเด็กจะเป็นผู้คิดออกเอง
    กิจกรรมที่ผุดขึ้นจากความสนใจของเด็กเป็นตัวทำให้ได้มาซึ่งแรงจูงใจภายในเพื่อการเรียนรู้  มีหลายตัวอย่างที่เด็ก  ๆ มักจะแสดงออกให้เห็นถึงการมีความคิดริเริ่ม  ความคิดริเริ่มเกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผนการดำเนินการ  และการจัดการกับชิ้นงานตลอดจนการติดตามเฝ้าดูจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์  หลักสูตรที่หล่อเลี้ยงอุปนิสัยอย่างเช่นการมีความคิดริเริ่ม  ความอยากรู้อยากเห็น  ความใส่ใจ  ความอุตสาหะ  และรู้พัฒนาทักษะความสามารถต่าง ๆ
  สันนิษฐานที่ 6  : เด็ก ๆ เรียนรู้ผ่านการเล่น
    หากมองให้ละเอียด  การเล่นเป็นตัวนำมาซึ่งเวทีสมบูรณ์แบบของการทำให้ทุกองค์ประกอบของความเป็นผู้เรียนรู้ในวัยเด็กเกิดเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา  การเล่นเป็นตัวสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงน้อยและเป็นตัวลดผลด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำความผิดพลาดไม่มีใครต้องลงทุนมากไปกับการเล่น  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในทางบวกมันเป็นแรงจูงใจภายในและทำให้เด็กสามารถค้นหาบทบาทที่นำมาซึ่งประโยชน์ต่อตนเองจากการทำกิจกรรมนี้เด็ก ๆ สามารถจับต้องลองเล่นกับวัตถุต่าง ๆ  ได้ทดสอบไอเดีย  และจัดระบบความสัมพันธ์ภายใต้โครงการที่สนับสนุนและเสริมด้วยกฎที่ไม่เคร่งครัด
    งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเล่นของเด็กในรูปแบบต่าง ๆ เป็นพาหนะที่ทรงประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้การเล่นเองของเด็กเปิดโอกาสให้มีการทดสอบ  ลองทำซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งต่อการสร้างความรู้
    การเล่นมีส่วนช่วยในการพัฒนาความคิดอ่านเชิงสัญลักษณ์หรือเล่นแสดงการเล่นเชิงสัญลักษณ์ทำหน้าที่เสมือนตัวแปรความจริงสู่โลกนามธรรมแห่งสัญลักษณ์  ระหว่างการเล่น  เด็กเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึก  กับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  การแก้ไขความขัดแย้ง  และการบรรลุซึ่งความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้หนึ่งที่มีความสามารถ....





รายละเอียด


โดย:
งาน: งานบริหารฝ่ายวิชาการ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: วารสารทางการศึกษาสำหรับครู

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง