[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต

''วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต''

วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต

พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พร ะวาจาของพระเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

บทอ่านจากพระคัมภีร์ในพิธีมิสซาวันพุธรับเถ้า บทอ่านแรกจากหนังสือประกาศกโยเอล (ยอล. 2:12-18) กล่าวว่า “เจ้าทั้งหล ายจงเต็มใจกลับมาหาเรา ด้วยการอดอาหาร ร้องไห้ และเป็นทุกข์คร่ำครวญ ณ บัดนี้เถิด”  บทอ่านที่สองนำมาจากจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 (2 คร. 5:20-6:2) ยังคงกล่าวถึงการกลับใจอย่างต่อเนื่องว่า “จงคื นดีกับพระเจ้าเถิด บัดนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสม” และพระวรสารนักบุญมัทธิว ให้ความหมายที่แท้จริงของการกลับใจในภาคปฏิบัติ  โดยนำเสนอคำสอนของพระเยซูเจ้าในเรื่อง “การทำทาน” “การอธิษฐานภาวนา” และ “การจำศีลอดอาหาร” พ ระองค์ทรงสอนว่า “จงระวังอย่าประกอบกิจการดีของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่ออวดเขา มิฉะนั้น ท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (มธ. 6:1-6,16-18)

''ความหมายของเถ้า''

เถ้าเป็นเครื่องหมายของ “ความทุกข์ถึงบาป” เป็นธรรมเนียมที่ได้มาจากพระคัมภีร์ เราพบความหมายนี้อย่างชัดเจน ในคำกล่าวประกอบการโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่หนึ่ง ซึ่ งนำมาจากพระวรสารของนักบุญมาระโก (มก. 1:15) ที่กล่าวว่า “จงกลับใจใช้โทษบาป และเชื่อพระวรสารเถิด”

เถ้ายังหมายถึงสภาพของมนุษย์คนบาป ซึ่งพยายามแสดงความสำนึกผิดของตนต่ อพระเจ้าออกมาเป็นพิธีภายนอก ให้เห็นว่าเขาต้องการกลับใจ เพราะหวังว่าพระเจ้าจะทรงพระกรุณาให้อภัย เครื่องหมายประการนี้จึงเป็นการเริ่มเดินทางมุ่งสู่การกลับใจซึ่งค่อย ๆ พัฒนาขึ้นโดยการรับศีลอภัยบาปในเทศกาลมหาพร ต ความต่ำต้อยของมนุษย์อันเป็นผลมาจากบาป ถูกกล่าวถึงในคำกล่าวประกอบ การโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่สอง โดยเทียบจากหนังสือปฐมกาล (ปฐก. 3:19) ที่กล่าวว่า “มนุษย์เอ๋ย จงระลึกเถิดว่า เจ้าเป็นแค่ฝุ่นดิน และจะกลับเป็นฝุ่นดินอีก”

ในบทเสกเถ้าทั้ง 2 แบบ  ให้ความหมายอย่างชัดเจนว่าเทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาที่คริสตชนเตรียมสมโภชปัสกา เช่น “ขอโปรดสดับฟังคำอ้อนวอนของข้าพเจ้าทั้งหลาย และทรงพระเมตตาประทานพระพรแก่ข้ารับใช้ของพระองค์ ผู้เข้ามารับ การโรยเถ้าเหล่านี้ ขอให้ทุกคนทำกิจการใช้โทษบาปตลอดเทศกาลมหาพรต เพื่อจะได้เป็นผู้เหมาะสมที่จะระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพขององค์พระบุตร...” (บทภาวนาเสกเถ้าแบบที่ 1)

เครื่องหมายการเป็นทุกข์กลับใจในพิธีกรรม “พิธีเสกและโรยเถ้า” แสดงออกอย่างชัดเจนในชีวิตคริสตชน เห็นได้จากการที่วันพุธรับเถ้าเป็นวันใช้โทษบาปสากลของพระศาสนจักร โดยคริสตชนผู้มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อ และคริ สตชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร

เถ้ายังอาจหมายถึงความสกปรก (บาป) ซึ่งใช้น้ำชำระให้สะอาดได้ (ศีลล้างบาป) ฉะนั้น เราเริ่มเทศกาลมหาพรตด้วย พิธีโรยเถ้า จึงเป็นเครื่องหมายที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ครบครันในการรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งศีลล้างบาปของคริสตชน และการล้างบาปคริสตชนใหม่ (ตามธรรมเนียมของพระศาสนจักร) ในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ (มิสซาตื่นเฝ้าปัสกา)

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ธรรมเนียมที่ให้โรยเถ้าที่ได้จากใบลานซึ่งเสกในปีก่อนนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 12 มีความหมายดี เพราะใบลานหมายถึงชัยชนะของพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ในการเสด็จเข้ากรุงเยรูซ าเล็มอย่างสง่า (ภาพอนาคตของการกลับคืนชีพ) เมื่อเอามาเผาเป็นเถ้าและโรยเพื่อเตือนใจให้คริสตชนใช้โทษบาปแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บอกคริสตชนว่า การใช้โทษบาปนี้มีเป้าหมายเพื่อเตรียมการฉลองชัยชนะแห่งการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า





http://www.catholic.or.th/spiritual/article/lent2007/lent05.html


โดย:
งาน: กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง