[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)

                                                                                  ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)

            ฮีโมฟิเลีย เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด ทำให้มีอาการเลือดออกง่ายและหยุดยาก ซึ่งจะเป็นมาแต่กำเนิด ในโรคนี้ พบได้ประมาณ 1 ใน 1-2 หมื่นคน

สาเหตุ
            มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ X-linked (มีความผิดปกติที่โครโมโซม X) ดังนั้นจึงพบว่า มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ โดยถ้าพ่อเป็นโรคนี้ ขณะที่แม่ไม่เป็น ลูกชายจะไม่เป็น แต่ลูกสาวจะกลายเป็นพาหะ และเมื่อลูกสาวที่เป็นพาหะแต่งงาน แล้วมีลูกชาย ลูกชายของลูกสาวจะป่วยเป็นโรคนี้ทันทีแต่ถ้ามีลูกสาว...ลูกสาวจะกลายเป็นพาหะต่อไป

อาการ
            ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกง่ายเป็น ๆ หาย ๆ มาตั้งแต่เด็ก มักจะเริ่มมีอาการเมื่อเด็กเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (หลังอายุ 6 เดือนขึ้นไป) มักจะออกเป็นเป็นจ้ำใหญ่ (ไม่เป็นจุดแดง) หรือออกเป็นก้อนนูน โดยมักเกิดจากการกระทบกระแทกเล็ก ๆ น้อย ๆบางคนอาจมีบาดแผล (เช่น มีดบาด) และมีเลือดออกนาน และหยุดยากบางคนอาจมีเลือดออกในกล้ามเนื้อ จนซีดและช็อก บางคนอาจมีเลือดออกโดยเกิดขึ้นเองก็ได้ ที่มีอันตรายร้ายแรง คือ อาจมีเลือดออกเองในข้อ (ที่พบได้แก่ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า) ทำให้มีอาการปวดบวม แดง ร้อน คล้ายข้ออักเสบ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ข้อติดแข็งพิการได้ ถ้ามีเลือดออกในกล้ามเนื้อของคอหรือกล่องเสียง ทำให้กดหลอดลม อาจมีอันตรายถึงตายได้ ถ้ามีเลือดออกในสมอง อาจทำให้ผู้ป่วยตายได้

การรักษา
            หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล ถ้ามีเลือดออกควรทำการห้ามเลือดตามหลักการปฐมพยาบาล ทำการวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด และให้การรักษาโดยการให้เลือดหรือพลาสมาสด ถ้าเลือดออกในข้ออาจใช้เข็มเจาะเอาเลือดออกจากข้อ อาจให้เพร็ดนิโซโลน ในรายที่มีเลือดออกในกล้ามเนื้อ หรือเลือดออกในข้อ ขนาด 1 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน (ไม่เกินวันละ 30 มก.) เป็นเวลา 5 วัน

ข้อแนะนำ

          โรคนี้จะเป็นติดตัวตลอดชีวิต โดยมีอาการเลือดออกเป็นครั้งคราวในปัจจุบันสามารถให้การดูแลรักษาจนมีอายุยืนยาวเท่าคนปกติได้โดยการให้เลือด หรือพลาสมาสดเวลามีเลือดออก  ผู้ป่วยควรหาทางหลีกเลี่ยงจากการกระทบกระแทก หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ โดยการดำเนินชีวิต และมีอาชีพที่เหมาะสม    ผู้ป่วยควรรู้หมู่เลือดของตัวเอง และควรมีสิ่งแสดงว่าตัวเองเป็นโรคนี้ และมีหมู่เลือดอะไร (อาจเป็นบัตรประจำตัว หรือเหรียญ) พกติดตัวไว้เสมอ เผื่อประสบอุบัติเหตุ หรือมีเลือดออก จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้องและทันท่วงที

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ซึ่งอาจทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
            สำหรับในเดือนตุลาคมนี้ GREEN CHARITY จะพาคุณไปรู้จักกับโรคฮีโมฟีเลียและในปีนี้ มูลนิธิโรคฮีโมฟีเลียแห่งประเทศ ได้ร่วมกับสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุมวิชาการนานาชาติ ฮีโมฟีเลีย 2004 WORLD CONGRESS ขึ้น ระหว่างวันที่ 17-21 ต.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมไบเทค เพื่อให้มีการถ่ายทอดวิทยาการสมัยใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียในประเทศไทยนั่นเอง





รายละเอียด


โดย:
งาน: งานผลิตเอกสาร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: มูลนิธิโรคฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง