[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ยุงตัดต่อพันธุกรรม สกัด''มาลาเรีย''ระบาด

                                                                          ยุงตัดต่อพันธุกรรม สกัด''มาลาเรีย''ระบาด

                โรคมาลาเรีย หรือที่คนไทยเราเรียกติดปากว่า ''ไข้จับสั่น-ไข้ป่า'' นั้นยังคงเป็นภัยคุกคามสุขภาพประชากรโลกอันดับต้นๆ
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า มาลาเรียพบมากในประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้  แต่ละปี...ทั่วโลกมีจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียจากยุง 350-500 ล้านคน  ในจำนวนดังกล่าวต้องสังเวยชีวิตไปมากมาย 700,000 ถึง 2.7 ล้านคน ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กๆ ในทวีปแอฟริกา ซึ่งมีวิทยาการการแพทย์ล้าหลัง
                นักวิทยาศาสตร์คิดกันมาระยะหนึ่งแล้วว่าหนทางป้องกัน-สกัดการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียที่น่าจะได้ผลดีที่สุด คือ หาวิธีจัดการกับ ''ยุงก้นปล่อง'' ซึ่งเป็นพาหะแพร่เชื้อมาลาเรียสู่คน!  ล่าสุด เมื่อ 2 วันก่อน คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ก็เพิ่งแถลงความสำเร็จเบื้องต้นในการทดลองใช้วิธีตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็ม) สร้างยุงสายพันธุ์ใหม่
เป็น ''ยุงจีเอ็ม'' ที่สามารถต้านเชื้อ ''โปรโตซัวพลาสโมเดียม'' ต้นเหตุโรคมาลาเรีย เมื่อเชื้อตัวนี้ติดยุงไม่ได้ ก็หมายความว่าไม่มีแพร่เชื้อมาระบาดติดคนเช่นกัน!  ดร.มอว์โร มาร์เรลลี่ หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า ผลการทดลองกำหนดให้ยุงจีเอ็ม กับ ยุงธรรมดา ต้องดูดเลือดจากหนูติดเชื้อมาลาเรียพบว่า อัตราการอยู่รอดของยุงจีเอ็มมีสูงกว่ายุงธรรมดา นอกจากนั้น หลังจากผ่านการผสมพันธุ์และล้มตายไปแล้ว 9 รุ่น...  ยุงรุ่นที่ 9 ก็จะกลายเป็นยุงจีเอ็มราว 70 เปอร์เซ็นต์
                สำหรับการแยกแยะว่ายุงตัวไหนเป็นยุงจีเอ็ม หรือ ยุงธรรมดา นักวิจัยได้ใส่หน่วยพันธุกรรม ''เรืองแสงสีเขียว'' เข้าไปในยุงจีเอ็มด้วย ทำให้ตาของยุงสายพันธุ์ใหม่นี้จะมีสีเขียวเรืองๆ ต่างจากยุงทั่วไป

                    อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่นักวิจัยอเมริกันกลุ่มนี้ยังตอบไม่ได้ก็คือ เชื้อมาลาเรียจะตอบสนองหรือกลายพันธุ์เพื่อสู้กับยุงจีเอ็มหรือไม่ และถ้าปล่อยยุงพวกนี้เข้าไปรวมกลุ่มกับยุงตามธรรมชาติแล้วในระยะยาวจะเกิดอะไรขึ้น?





รายละเอียด


โดย:
งาน: งานผลิตเอกสาร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: วิทยา ผาสุก

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง