[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ดาวฤกษ์

                                                                                      ดาวฤกษ์

          ดาวฤกษ์ (ภาษากรีก astron) คือ วัตถุท้องฟ้าในอวกาศที่เป็นก้อนแก๊สมวลมหาศาล ดาวฤกษ์ปรากฏเป็นจุดแสงในท้องฟ้าเวลากลางคืน เราเห็นแสงดาวกะพริบ จากผลของปรากฏการณ์ในบรรยากาศโลก และการที่ดาวฤกษ์อยู่ห่างไกลจากเรามาก ยกเว้นกรณีของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวที่อยู่ใกล้โลกมาก จนปรากฏเป็นดวงกลมโตให้แสงสว่างในเวลากลางวัน

          ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดยกเว้นดวงอาทิตย์ คือ ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า อยู่ห่าง 39.9 ล้านล้านกิโลเมตร = 4.2 ปีแสง = 1.29 พาร์เซก หมายความว่าแสงจากดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าใช้เวลาเดินทาง 4.2 ปี จึงมาถึงโลก

          นักดาราศาสตร์ประมาณว่ามีดาวฤกษ์อย่างน้อย 7 × 1022 ดวงในเอกภพ หรือ 70,000,000,000,000,000,000,000 ดวง มากกว่า 230,000 ล้านเท่าของดาวฤกษ์ 300,000 ล้านดวงในดาราจักรทางช้างเผือกของเราเอง

          ดาวฤกษ์จำนวนมากมีอายุระหว่าง 1,000 - 10,000 ล้านปี บางดวงมีอายุเกือบ 13,700 ล้านปี ซึ่งเป็นอายุโดยประมาณของเอกภพ (ดู ทฤษฎีบิกแบงและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์) ดาวฤกษ์มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าเมืองๆ หนึ่งอย่างดาวนิวตรอน (ซึ่งอาจกล่าวว่าเป็นดาวที่ตายแล้ว) ไปจนถึงดาวยักษ์ใหญ่อย่างดาวเหนือ (ดาวโพลาริส) และดาวบีเทลจุสในกลุ่มดาวนายพราน ที่มีขนาดประมาณ 1,000 เท่าของดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ดาวขนาดใหญ่จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าดวงอาทิตย์มาก ดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงที่สุดดวงหนึ่ง คือ ดาวอีตากระดูกงูเรือ มีมวล 100-150 เท่าของมวลดวงอาทิตย์

          วิทยาศาสตร์นิยามว่าดาวฤกษ์ คือ ทรงกลมพลาสมาที่คงอยู่ได้ด้วยความโน้มถ่วงของตัวเอง มีความสมดุลของความดัน (hydrostatic equilibrium) ผลิตพลังงานด้วยกระบวนการการหลอมนิวเคลียส พลังงานที่เกิดขึ้นในดาวฤกษ์แผ่ไปในอวกาศโดยการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (ส่วนใหญ่เป็นแสงสว่างที่มองเห็นได้) อยู่ในรูปของกระแสนิวตริโน ความสว่างปรากฏของดาวฤกษ์บอกด้วยโชติมาตรปรากฏ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดที่เห็นปรากฏบนท้องฟ้าโดยไม่นับดวงอาทิตย์ คือ ดาวซิริอุส หรืออีกชื่อคือดาวโจร อยู่ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดที่มองไม่เห็นเคยเชื่อว่าคือดาวปืน แต่ในปัจจุบันพบว่ามีดาวLBV 1806-20ที่สว่างมากกว่า

          ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ คือ การศึกษาดาวฤกษ์และปรากฏการณ์ในรูปแบบและช่วงต่างๆ ของวิวัฒนาการของดาว ดาวฤกษ์จำนวนมากผูกยึดด้วยแรงโน้มถ่วงกับดาวฤกษ์ดวงอื่น ทำให้เกิดดาวคู่ หากมีดาวจำนวนมากในระบบเดียวกันเรียกว่ากระจุกดาว ดาวฤกษ์ไม่ได้กระจัดกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของเอกภพ แต่รวมกลุ่มกันเป็นดาราจักร (กาแล็กซี) โดยทั่วไปแต่ละดาราจักรมีดาวฤกษ์หลายแสนล้านดวง

สีของดาวฤกษ์
          นักวิทยาศาสตร์พบว่าสีของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์นั้นๆ โดยดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำ จะมีสีแดง ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอุณภูมิพื้นผิวสูงจะมีสีน้ำเงิน นอกจากนี้ในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นไม่ใช่ดาวยักษ์ ขนาดของดาวฤกษ์ก็จะเกี่ยวข้องกับสีของดาวเช่นกัน โดยดาวฤกษ์มวลมากจะมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์มวลน้อยจะมีสีแดง

การแบ่งสีของดาวฤกษ์
          สีของดาวฤกษ์แบ่งได้เป็น 7 ระดับ คือ O-B-A-F-G-K-M มีวิธีการจำง่ายๆ คือ ''Oh Be A Fine Girl(Guy) Kiss Me''

ระดับ สี
O สีน้ำเงิน
B สีน้ำเงินแกมขาว
A สีขาว
F สีขาวแกมเหลือง
G สีเหลือง
K สีส้ม
M สีแดง

สำหรับดวงอาทิตย์ของเรา ถูกจัดอยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์สีเหลือง






รายละเอียด


โดย:
งาน: งานผลิตเอกสาร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง