[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

หน่วยเศรษฐกิจ
                      หน่วยเศรษฐกิจ  หมายถึง  หน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ละระบบเศรษฐกิจ  ทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ หน่วยในระบบเศรษฐกิจไมว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือแบบสังคมนิยมย่อมประกอบด้วยหน่วยใหญ่ ๆ 3 หน่วย คือ
                       1. ครัวเรือน (Household)  หมายถึง   หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลเพียงหนึ่งคนที่อาศัยโดยลำพัง  หรือบุคคลมากกว่าหนึ่งคนที่อาศัยอยู่ใต้หลังคาเดียวกัน  มีการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์และสวัสดิการแก่กลุ่มของตนมากที่สุด  สมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต  เป็นแรงงาน  เป็นนักธุรกิจหรือเป็นผู้ประกอบการในกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้  ถ้าสมาชิกของครัวเรือนนำปัจจัยการผลิตที่เป็นที่ดินไปให้แก่ผู้ผลิตใช้ ก็จะได้ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าเช่า  และถ้าสมาชิกผู้นั้นไปรับจ้างทำงานก็จะได้รับผลตอบแทนที่ เรียกว่า  ค่าจ้าง  ถ้าสมาชิกของครัวเรือนมีเงินสะสม แล้วนำไปให้ผู้อื่นกู้ เพื่อไปประกอบกิจการสิ่งที่ได้รับจากการใช้เงินจำนวนนั้น ก็คือ ดอกเบี้ย
                            เป้าหมายหลักของครัวเรือน  คือ การแสวงหาความพอใจสูงสุดของสมาชิกแต่ละคนในครัวเรือน  หรือถ้ามองในแง่ส่วนรวมแล้วสิ่งที่สมาชิกทุกคนจะพยามทำก็คือการแสวงหาสวัสดิการที่ดีที่สุด
                        2. ธุรกิจ (Business)  หมายถึง  บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าบริการ  และนำไปขายให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ในหน่วยอื่น ๆ   หน่วยธุรกิจประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม  คือ  ผู้ผลิต(Producers) และผู้ขาย(Sellers) ซึ่งบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้อาจจะทำหน้าที่ทั้งสองอย่างได้   กล่าวคือ ผู้ผลิตบางคนอาจทำหน้าที่เป็นผู้ขาย โดยการนำเอาสินค้าของตนที่ผลิตได้ไปขายโดยตรงให้กับผู้บริโภค  ตัวอย่างเช่น เจ้าของสวนผลไม้อาจนำผลไม้ในไร่ของตนไปขายให้กับผู้บริโภค เป็นต้น  ในทำนองเดียวกันผู้ขายบางคนอาจเป็นผู้ผลิตด้วย  ตัวอย่างเช่น พ่อค้าขายไอศกรีมแท่งเป็นผู้ทำเองแล้วก็ขายเองโดยไม่ต้องขายผ่านคนอื่น  
                            เป้าหมายที่สำคัญของหน่วยธุรกิจ คือ การแสวงหากำไรจากการประกอบการของตน  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หน่วยธุรกิจต้องการได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงสุดจากการลงทุนในกิจการใดกิจการหนึ่ง
                        3. องค์การรัฐบาล(Government  Agency) หมายถึง  หน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการดำเนินการของรัฐบาล  องค์การรัฐบาลมีทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ  ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร    ซึ่งแต่ละฝ่ายย่อมมีสมาชิกต่าง ๆ จำนวนมาก ที่มีหน้าที่แตกต่างกันและอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน
                           องค์การรัฐบาลมีหน้าที่และความสัมพันธ์กับหน่วยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ เช่น เป็นผู้ที่เรียกเก็บภาษีจากหน่วยครัวเรือน ในรูปของภาษีเงินได้ และหน่วยธุรกิจในรูปของภาษีการค้าและอื่น ๆ  ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตราย  ตลอดจนตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างสมาชิกในหน่ายเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นผู้บริโภค  ผู้ผลิตและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตด้วย








โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: เอกสารประกอบการเรียน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง