[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

กระดูกพรุนก็ออกกำลังกายได้

                โดย ทั่วไปแล้วเซลล์ที่สร้างกระดูกจะเริ่มทำงานน้อยลงตั้งแต่อายุ 35 ปี ซึ่งเกิดได้กับ คนทุกเชื้อชาติ ในแต่ละส่วนภูมิประเทศของโลก ลักษณะการรับประทานอาหาร และลักษณะ กิจกรรม หรือการออกกำลังกายจะช่วยลดอัตราการเสียมวลกระดูกได้ ในผู้สูงอายุมักจะมี ปัญหาของกระดูกที่มีมวลกระดูกน้อยอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ความทนทานหรือความแข็งแรงต่อ กระดูกหักมีน้อยลง ภาวะกระดูกสันหลังทรุดพบได้น้อยในผู้สูงอายุที่มีปัญหาของโรคกระดูก พรุน ซึ่งบางครั้งพบโดยบังเอิญจากการตรวจถ่ายภาพรังสีโดยที่ไม่มีอาการแสดงความ เจ็บปวด


การ ที่มีกระดูกสันหลังทรุดทำให้เกิดหลังโกง หรือในรายที่มีอาการหลังโกงมาก ๆ จะทำให้ทำหน้าที่ ของปอดน้อยลง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ และนอกจากนี้แล้วทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไปข้างหน้า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มได้สูง และอาจเกิดกระดูกหักในส่วนต่างๆ ของร่างกายตามมาได้
 อาการ ปวดหลังจากกระดูกทรุดพบได้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยในช่วงแรกๆ และถ้าอาการปวดเป็นเรื้อรังอาจจะ เกิดจากกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรง ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดกระดูกพรุน คือ การไม่ค่อยเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมน้อยในแต่ละวัน

http://www.postjung.com/" target="_blank">http://moko.pupu.jp/main/material0407/sozai/piyo012/h043.gif" width="37" /> ผลของการออกกำลังกายต่อโรคกระดูกพรุน

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีข้อคำนึงอยู่ 2 ข้อใหญ่

http://www.postjung.com/" target="_blank">http://board.postjung.com/data/552/552936-topic-ix-2.gif" width="13" /> ข้อแรก คือ 
ภาวะ สมรรถภาพทางร่างกายที่ไม่ค่อยมากเนื่องจากไม่มีการออกกำลังกายมาก่อน หรือกิจกรรม กิจวัตรประจำวันที่น้อย การออกกำลังกายจึงเป็นขั้นต่ำๆ ในช่วงแรกไม่ให้หักโหมมาก

http://www.postjung.com/" target="_blank">http://board.postjung.com/data/552/552936-topic-ix-2.gif" width="13" /> ข้อสอง คือ
 ภาวะ โรคทางกระดูกต่าง ๆ เช่น ข้อเสื่อมหรือเอ็นอักเสบ ซึ่งทำให้การออกกำลังกายทำได้ไม่เต็มที่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นช่วยให้การเสื่อมสลายของมวลกระดูกให้ช้าลง และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ว่าการออกกำลังกายจะทำให้ มวลกระดูกเพิ่มขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายจึงควรประกอบไปกับการใช้ยาในการรักษา หรือป้องกันโรค กระดูกพรุน

http://www.postjung.com/" target="_blank">http://moko.pupu.jp/main/material0407/sozai/piyo012/h043.gif" width="37" /> ข้อแนะนำในการออกกำลังกาย

มีข้อควรระวังในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่ด้วย ถ้าไม่เคยตรวจหรือไม่เคยทราบว่ามีโรคหัวใจมาก่อน ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ทำการทดสอบเพิ่มเติมต่อไป ก่อนจะทำการออกกำลังกายอยู่จริงจัง


ในผู้ป่วย ที่มีภาวะกระดูกทรุดและหลังโก่งควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายโดยการใช้ เครื่องวิ่งสายพาน เนื่องจากจุด สมดุลของร่างกายที่เปลี่ยนไป ทำให้การทรงตัวในเครื่องวิ่งไม่คงที่อาจจะล้มและเป็นอันตรายได้ ควรจะ เปลี่ยนมาเป็นการใช้จักรยานปั่นอยู่กับที่แทน การประเมินความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่สำคัญใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อค้นหากลุ่มกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง และเน้นการออก กำลังกายไปยังกลุ่มกล้ามเนื้อนั้น ๆ การทดสอบความประสานงาน และความสมดุลของร่างกายก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อช่วยให้การออกกำลังกาย เป็นไปด้วยความปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด

http://www.postjung.com/" target="_blank">
http://moko.pupu.jp/main/material0407/sozai/piyo012/h043.gif" width="37" />
 โปรแกรมในการออกกำลังกาย

http://www.postjung.com/" target="_blank">
http://moko.pupu.jp/main/material0407/sozai/piyo011/umi003.gif" width="27" />
 ควร จะมีทั้งอาการออกกำลังกายเพื่อหวังผลทั้งทางด้าน แอโรบิค เช่น การเดินเร็ว วิ่งเบาๆ และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควบคู่กันไป การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยให้การทรงตัว ดีขึ้น และทำให้มวลกระดูกไม่เสื่อมสลายเร็ว

http://www.postjung.com/" target="_blank">
http://moko.pupu.jp/main/material0407/sozai/piyo011/umi003.gif" width="27" />
 การ ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้ได้ผลดีนั้น ควรใช้น้ำหนักที่เหมาะสมและจำนวนครั้งที่พอเหมาะ เน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้ง ส่วนบนและส่วนล่าง และกล้ามเนื้อ ลำตัว เป็นหลัก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังควรระวังท่าการออกกำลังกาย ที่ทำให้มีการงอของสันหลังในผู้ป่วยที่มีการะดูกพรุนอยู่แล้ว เพราะจะทำให้เกิดกระดูกทรุดใหม่ได้

http://www.postjung.com/" target="_blank">
http://moko.pupu.jp/main/material0407/sozai/piyo011/umi003.gif" width="27" />
 ใน รายที่มีกระดูกทรุดหลายระดับ กระดูกบางมาก หรือปวดหลัง ไม่สามารถจะทำการออกกำลัง กายตามปกติได้ อาจมีทางเลือกในการออกกำลังกายโดยไม่ทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้น เช่น การว่ายน้ำ เกิดในน้ำ หรือ แอโรบิคในน้ำ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของร่างกาย และลด อัตราการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

โปรแกรม ในการออกกำลังกายในผู้ป่วยแต่ละท่านจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ภาวะโรคประจำตัว ที่มี อยู่ หรือภาวะโรคทางกระดูก หรือภาวะสมรรถภาพเดิม ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลของการออกกำลังกายที่ดีและ เหมาะสม หากท่านไม่แน่ใจในโปรแกรมการออกกำลังกาย ควรเข้ารับการแนะนำจากแพทย์ เพื่อป้องกัน อันตรายอันอาจเกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ของการออกกำลังกาย ได้ดีที่สุด






http://variety.teenee.com/foodforbrain/37268.html


โดย:
งาน: งานบริหารฝ่ายปฐมวัย
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: รพ.พระราม9

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 2 ครั้ง