[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

จากร้อนสู่ฝนพึงระวัง ‘ทั้งโรค-ทั้งภัย’ เดิม ๆ แต่ก็ยัง‘ร้าย!’

“จะเริ่มต้นกลางเดือน พ.ค.เป็นต้นไป” ...นี่เป็นส่วนหนึ่งจากรายงานข่าวการคาดหมายลักษณะอากาศ ’ฤดูฝน“ ในประเทศไทยในปี 2556 นี้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งก็มีการระบุว่าช่วงเวลาเริ่มต้นฤดูฝนในไทยในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามปกติ ทั้งนี้ หากฝนปีนี้เป็นปกติจริง ๆ ไม่มาช้ากว่าปกติ ปัญหาภัยแล้งก็คงจะทุเลาเร็ว ไม่ยาวนานอย่างที่หวั่น ๆ กัน?? และหากเป็นปกติโดยตกไม่มากผิดปกติ ปัญหาน้ำท่วมก็คงไม่น่ากลัว??

แต่ไม่ว่าฝนปีนี้จะปกติหรือไม่ก็มีสิ่งที่ต้องหวั่น

’โรคและภัยที่มักมาพร้อมกับฝน“ ก็ต้องกลัว!!!!

ว่ากันถึง “ภัย” ยังไม่พูดถึงโรค ช่วงฤดูฝนก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ’ภัยการใช้รถใช้ถนน“ ซึ่งในช่วงฤดูฝนอุบัติเหตุจะยิ่งเกิดง่าย และกับการป้องกันหรือการระวังนั้น นอกจากผู้ใช้รถใช้ถนน
จะต้องไม่ประมาทด้วยประการทั้งปวงแล้ว ช่วงฤดูฝนนี่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงดูแลถนนรูปแบบต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อความปลอดภัยด้วย อย่าปล่อยให้มี “ถนนอันตราย” คอยคร่าชีวิตผู้ใช้รถใช้ถนน

ถนนรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางราบ ทางโค้ง สะพาน ทางยกระดับ ฯลฯ หากไม่ได้มาตรฐานก็อาจจะเป็นต้นเหตุหรือเป็นตัวซ้ำเติมอุบัติเหตุ ซึ่งประเด็นนี้ก็เคยมีนักวิจัยศูนย์วิจัยอุบัติเหตุระบุไว้อย่างน่าคิดว่า...ภาครัฐก็มีหน้าที่ในการเพิ่ม หรือเสริมอุปกรณ์ ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เพื่อรักษาชีวิตประชาชน ซึ่งแม้ผู้ใช้รถใช้ถนนจะผิดพลาด แต่ก็ไม่ควรต้องรับโทษถึงขั้นเสีย
ชีวิต!!

’ภัยฟ้าผ่า“ นี่ก็ประมาทไม่ได้ ซึ่งในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตเพราะถูกฟ้าผ่าไม่น้อย และปี 2556 นี้ยังไม่ทันจะเข้าฤดูฝนจริง ๆ แค่ช่วงรอยต่อปลายฤดูร้อนกับฤดูฝนก็เริ่มมีข่าวคนไทย “ถูกฟ้าผ่าเสียชีวิต” กันแล้ว

การป้องกันภัยฟ้าผ่านั้น ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง แต่เอาเข้าจริงเรา ๆ ท่าน ๆ ก็อาจจะเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องให้ความสำคัญกับข้อควรปฏิบัติระหว่างอยู่ในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองเพื่อให้ปลอดภัยจากฟ้าผ่า เช่น ไม่ไปอยู่ในพื้นที่กลางแจ้งโล่ง ๆ ไม่ไปอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่หรือเสาสูงเพราะจะยิ่งไม่ปลอดภัยจากฟ้าผ่า ไม่สวมใส่เครื่องประดับต่าง ๆ ที่เป็นโลหะ ไม่ใช้หรืออยู่ใกล้กับอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ

และกับโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ “มือถือ” ถ้าพกพาแล้วไปอยู่ในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ก็ต้องระวัง!! ซึ่งทางหน่วยงานด้านการป้องกันภัยก็เคยเตือนไว้ว่า...โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เป็น “สื่อล่อฟ้า”

 






จากร้อนสู่ฝนพึงระวัง ‘ทั้งโรค-ทั้งภัย’ เดิม ๆ แต่ก็ยัง‘ร้าย!’


โดย:
งาน: งานสุขอนามัย
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: เดลินิวส์

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 2 ครั้ง