[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยกับแนวคิดการพัฒนาสมอง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ  ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ได้มีการปฏิรูปการศึกษาและกำหนดพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข

และแนวโน้มของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้เน้นการพัฒนา “คน” ต่อเนื่องไปอีก โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการสร้างคุณค่าที่ดีงามให้สังคมเป็นสังคมแห่งคุณภาพ ที่สามารถพึ่งตนเองได้ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

            ทั้งนี้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย ในช่วงอายุ 0-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด อีกทั้งปัจจุบันแนวคิดในการพัฒนาเด็กที่เน้นด้านสมองกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากแนวคิดในการพัฒนาเด็กแบบเดิมที่แยกเป็นส่วน คือร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา  อาจไม่ครอบคลุมกับความสามารถของเด็กที่หลากหลาย ซึ่งแนวความคิดใหม่จะมุ้งเน้นการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม (Holistic) เพื่อให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพของแต่ละคนอย่างเต็มที่ตามความสามารถ ความเก่ง และความถนัดที่หลากหลายมากมาย ตามทฤษฎีพหุปัญญาของ   โฮเวิร์ด  การ์ดเนอร์  Howard Gardner 
- การพูด

 -การเขียน

 -การควบคุมด้านภาษา  ท่าทาง สัญลักษณ์

-  การวิเคราะห์

-  การเห็นรายละเอียด

-   ระบบ ลำดับ

-   ความเป็นเหตุผล

-   ตรรก

-   การแสดงออก



 
 -   ความคิดสร้างสรรค์

-     จินตนาการ

-     ศิลปะ

-      การสังเคราะห์

-      จังหวะ

-      การรับรู้

-      ความงามความจำ

-      จิตใต้สำนึก

-     การเห็นภาพรวม

-      การกระทำหลายสิ่งพร้อมกัน
 
 

พัฒนาสมองทั้งด้านซ้ายและด้านขวาให้เกิดความสมดุลได้มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

โรงเรียนต้องจัดให้มีระบบการพัฒนาสมรรถภาพสมอง

 
 การดื่มน้ำ

น้ำทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูง การสูญเสียสมาธิ การลดถอยในการจดจำข้อมูล    สาเหตุเพราะขาดน้ำ ดื่มน้ำบริสุทธิ์วันละ 6-8 ถ้วย

การรับประทานอาหาร

ความจำและการเรียนรู้เกี่ยวข้องกัน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สัมพันธ์กับการรับ ประทานอาหารที่ถูกหลัก อาหารที่ยังคงความสดทำให้สมองด้านซ้ายและด้านขวาประสานกัน

การหายใจ

สมองต้องการออกซิเจน ออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี

  
การฟังเพลง

เสียงของดนตรีจะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองด้านให้สอดคล้องกันทั้งระบบ การฟังเพลงที่มีคุณภาพทำให้สมองผลิต Alpha waves และ Theta waves ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกิดความคิดสร้างสรรค์ขั้นสูง เพิ่มความจำลึก

 
การคลายความเครียด
ความเครียดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ต้องหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย                                       
          จัดลำดับความสำคัญของงาน อย่าคิดว่าตัวเองไร้ค่า
การบริหารสมอง
การบริหารสมองทำให้สมองทำงานอย่า

ทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก

 

สมองซีกซ้าย
 สมองซีกขวา
 
-สัญลักษณ์ ภาษา การอ่าน การออกเสียง ลายมือ การฟังและการรับ การพูด การท่องจำปากเปล่า การเขียน

-การรับรู้โดยการโยงสัมพันธ์ทางโสตประสาท (auditory association)

-ตรรก/คณิตศาสตร์

-การมองเห็นรายละเอียดและข้อเท็จจริง

-การทำตามคำสั่ง

-การคิดที่มีรายละเอียด

-การเรียงลำดับเหตุการณ์

-การเคลื่อนไหวที่สลับซับซ้อน 


 -มิติสัมพันธ์รูปทรงและรูปที่เป็นนามธรรมและที่สลับซับซ้อน ความไวต่อสี การถ่ายทอด ทางศิลปะ

-ดนตรี การขับร้อง
-การคำนวณตัวเลข

-การสร้างสรรค์

-การหลับตาและมองเห็นภาพ           ความสามารถ  ในการสร้างจินตภาพ(visualization)

-การรับรู้สิ่งต่างๆ การมองเห็นภาพรวม(holistic)

-อารมณ์ ความรู้สึก

-สมาธิ

-ความเชื่อต่างๆ การเกิดฌานหยั่งรู้

-การระลึกได้ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและทันทีทันควัน

-ประสาทสัมผัส
 

วิธีรับรู้ของจิตที่อยู่ในอำนาจความนึกคิดของสมองซีกซ้ายและขวา

 

สมองซีกซ้าย
 สมองซีกขวา
 
-รับรู้จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่       

(part-to-whole.linear)

-รับรู้ในลักษณะสัญลักษณ์ (symbolic)

-รับรู้ในลักษณะที่เรียงลำดับกัน (sequential)

-รับรู้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลถูกต้องตามตรรกวิทยา (logical)

-ถ่ายทอดเป็นคำพูด การเขียน (verbal)

-อาศัยความเป็นจริงเป็นพื้นฐาน               

(reality-based)

-รับรู้เกี่ยวกับทางโลก (temporal)

-การรับรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract)
 -รับรู้สิ่งที่เป็นภาพรวมและสมบูรณ์ (holistic)

-เห็นจริงจัง/เห็นประจักษ์ (concrete)

-รับรู้สิ่งที่ไม่เป็นลำดับ(random)

ใช้ฌานปัญญาหรือความรู้สึก/การรับรู้พิเศษ (intuitive)

-ใช้ภาษาท่าทาง ที่ไม่ใช้คำพูด (nonverbal)

-อาศัยจินตนาการเป็นแกน(fantasy-oriented)

-ไม่เกี่ยวกับทางโลก(non-temporal)

-คล้ายคลึงกัน(analogy)

-ข้อความที่นำมาเปรียบเทียบกัน
 

ความเป็นมาของทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

เมื่อปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) กระทรวงศึกษาธิการในกรุงปารีสได้ขอร้องให้นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ อัลเฟรด บิเนท์ (Alfred Binet) และคณะให้พัฒนาเครื่องมือสำหรับวัดนักเรียนประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นนักเรียนสอบตก เพื่อหาทางช่วยแก้ไข จากการพัฒนาเครื่องวัดนี้ทำให้เกิดแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก หลายปีต่อมาสหรัฐอเมริกาได้นำแบบทดสอบนี้ไปใช้และได้มีการสร้างแบบทดสอบกันเพิ่มเติม และใช้อย่างแพร่หลายดังเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า แบบทดสอบไอคิว (IQ) หรือแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา

แปดสิบปีหลังจากที่มีแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาฉบับแรก นักจิตวิทยาชาวอเมริกาแห่งมหาลัยฮาร์วาร์ด ชื่อ โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ก็ได้ประกาศว่าโลกเราตีความหมายของความฉลาดหรือเชาวน์ปัญญาหรือสติปัญญาแคบไป

             การ์ดเนอร์เสนอในหนังสือ ชื่อ “ ขอบเขตของจิต ” (Frames of mind) เมื่อปี พ.ศ. 2526 (Gardner,1983) ว่า ความฉลาดหรือเชาวน์ปัญญาของมนุษย์นี้มีอย่างน้อยถึง 8 ด้าน การ์ดเนอร์เรียกทฤษฎีนี้ว่า “ทฤษฎีพหุปัญญา“        (Theory of  Multiple Intelligences – M.I.) การ์ดเนอร์ต้องการจะรู้จักขอบเขตของศักยภาพความสามารถของมนุษย์ที่นอกเหนือไปจากคะแนนแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา เขาตั้งข้อสงสัยถึงความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาแบบต่างๆ ที่ดึงคนออกจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และให้ทำหรือตอบเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่เคยทำ การ์ดเนอร์บอกว่าความฉลาดหรือเชาวน์ปัญญาน่าจะเกี่ยวกับความสามารถใน 1.การแก้ปัญหาและ 2.ออกแบบงานและผลงานชนิดต่างๆ ในสถานการณ์ธรรมชาติ 

ความหมายของพหุปัญญา (Multiple Intelligences)


พหุปัญญา คือ ความสามารถทางสติปัญญาหลายด้านซึ่งโฮเวิร์ด  การ์ดเนอร์ เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ขึ้น ซึ่งเชื่อว่า สิ่งที่คนแต่ละคนแสดงออกมาเป็นสิ่งที่ผสมผสานระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม (1993. : 88) เขาเชื่อว่าสติปัญญาหมายถึง โครงสร้างทางชีวจิตวิทยา ซึ่งจะเป็นตัวสร้างแหล่งทางความคิดของคนเราซึ่งจะส่งผลต่อเนื้อหาแต่ละด้าน และยังมีผลมาจากองค์ประกอบสำคัญ 2ประการ คือ พันธุศาสตร์และสังคมสติปัญญาตามความคิดของ การ์ดเน่อร์มี  8 ด้าน

ความเชื่อ
         คนเรามีความรู้ความสามารถและศักยภาพในการเรียนรู้หลายด้าน :

 

1.ด้านภาษา 
(Language/Linguistic Intelligences)

 2.ด้านตรรก/คณิตศาสตร์

         (Logical/Mathematical Intelligences)

 
3.  ด้านพื้นที่ (Spatial Intelligences) 

 
 4.ด้านการเคลื่อนไหวทางกาย

 (Bodily/Kinesthetic Intelligences)

 
5. ด้านดนตรี (Musical Intelligences) 
 

 6. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ 
(Interpersonal Intelligences)

 
7.  ด้านความเข้าใจตนเอง

 (Intrapersonal Intelligences)


 8. ด้านธรรมชาติ (Naturalistic Intelligences) 

 
ลักษณะของพหุปัญญา

สติปัญญา
 ลักษณะ ประเภทของบุคคล
 
1.      ด้านคำพูด/ภาษา

(Verbal/Linguistic)
 -          เข้าใจคำสั่งและความหมายของคำ

-          ชอบอ่านเขียน เล่าเรื่อง

-          อธิบายได้ชัดเจน

-     ชอบสอนและชอบเรียน และเรียนได้ดี ถ้ามีโอกาสได้พูด ฟัง และเห็น

-          มีอารมณ์ขัน

-     มีความจำดี จำสถานที่ วันเดือนปี และสิ่งละอันพันละน้อยได้

-          สามารถวิเคราะห์ด้านภาษาได้ดี
 -          กวี

-          นักเขียน

-          นักพูด

-          นักโต้วาที
 
2.   ด้านตรรก/               คณิตศาสตร์

(Logical/Mathematical)
 -          สามารถจำสิ่งที่เป็นแบบแผนที่เป็นนามธรรมได้

-     มีเหตุผลเชิงสรุปความสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

-     ชอบทำการทดลอง ค้นหาคำตอบ ทำงานกับตัวเลข หาคำตอบด้านรูปแบบ และความสัมพันธ์

-     ชอบคณิตศาสตร์ คิดในเชิงเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดี

-          เรียนได้ดี โดยการจัดหมวดหมู่ แยกประเภท
 -          วิทยาศาสตร์

-          นักคณิตศาสตร์

-          นักคิด

-          นักสถิต
 
3.      ด้านดนตรี/จังหวะ

(Musical/Rhythmic)
 -     ชอบร้องเพลง ฟังเพลง ชอบเล่นดนตรี และตอบสนองต่อเสียงเพลง

-          แยกแยะจำทำนอง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้เร็ว

-          เรียนจังหวะ เสียง และดนตรี ได้ดี

-     รู้จักโครงสร้างของดนตรี โครงสร้างในการฟังเพลง

-          ไวต่อเสียง

-          คิดท่วงทำนอง/จังหวะได้

-          สัมผัสคุณภาพของเสียงได้
 -          นักดนตรี

-          นักแต่งเพลง

-          วาทยากร

-          วิศวกร
 
4. ด้านความถนัดทางกาย                   (Bodily Kinesthetic)
 -     สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและสามารถแสดงออกได้

-     ชอบการเคลื่อนไหว สัมผัส และใช้ภาษาทางกาย (body Language)

-     ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกาย เช่น กีฬา เต้นรำ การแสดงและประดิษฐ์สิ่งของได้ดี

-     มีความสามารถในการแสดงท่าทาง สามารถพัฒนาการทำงานของร่างกาย

-     เรียนได้ดีถ้ามีโอกาสสัมผัส เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ว่าง และการสัมผัส
 -          นักกีฬา

-          นักเต้นรำ

-          ศัลยแพทย์

-          นักประดิษฐ์
 
5. ด้านมิติสัมพันธ์  (Spatial Relation)
 -          สามารถมองเห็นแง่มุมต่างๆ ได้

-          เห็นความสัมพันธ์ของพื้นที่

-          สามารถแสดงออกด้วยภาพ

-          สามารถมองเห็นรูปลักษณ์ของสิ่งต่างๆ 

-          สามารถหาทิศทางในที่ว่างได้

-          สามารถจัดรูปฟอร์มต่างๆ ในสมองได้

-     จินตนาการดี มองเห็นการเปลี่ยนแปลง อ่านแผนที่แผนภูมิได้ดี

-     เรียนได้ดีถ้าต้องใช้จินตนาการมีโอกาสใช้ความคิดอย่างอิสระ(ฝัน) ทำงานด้วยสี และภาพ

-     ชอบที่จะวาด สร้าง ออกแบบ ฝัน ศึกษาภาพนิ่ง ภาพยนตร์ และทดลองกับเครื่องจักรกล

-           
 -          นักเดินเรือ

-          นักบิน

-          ประติมากร

-          ศิลปิน/นักวาดภาพ

-          สถาปนิก
 
6. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal)
 -     เข้าใจผู้อื่น นำผู้อื่น จัดกลุ่ม สื่อสาร ระงับข้อพิพาทได้ 

-          ทำงานเป็นกลุ่มได้

-          แยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

-          สามารถสื่อความหมายโดยไม่ใช้ภาษาพูดได้

-     ชอบมีเพื่อนมากๆ ชอบพูดกับคน และร่วมสังสรรค์กับคนอื่น

-     เรียนได้ดีถ้ามีโอกาสได้แบ่งปัน/ร่วมทำงาน เปรียบเทียบสัมพันธ์ให้ความร่วมมือ และมีโอกาสสัมภาษณ์ผู้อื่น
 -          ครู

-         นักสังคม          สงเคราะห์

-          นักแสดง

-          นักการเมือง

-          พนักงานขายของ
 
7. ด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal)
 -          มีสมาธิดี

-          เป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน

-     มีความเข้าใจตนเอง ชอบคิดฝัน และหมกมุ่นอยู่กับความรู้สึก/ความคิดของตนเอง และแสดงความรู้สึกของตนเองได้หลายๆ อย่าง

-          มีความรู้สึกที่เกี่ยวกับตัวตนของตนเอง

-          มีความคิดระดับสูงและมีเหตุผล

-     ขอบที่จะทำงานคนเดียว และสนใจติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ เรียนได้ดีถ้ามีโอกาสทำงานโดยลำพังทำโครงการเดี่ยวๆ

-     แสวงหาความสำเร็จในความสนใจและเป้าหมายของตนเอง และต้องการเป็นผู้สร้างสรรค์

-     เรียนโดยวิธีเรียนด้วยตนเอง ตามจังหวะการเรียนเฉพาะคน
 -          นักจิตวิทยา

-          ผู้นำทางศาสนา

-          นักปรัชญา
 
8. ด้านการรักธรรมชาติ
 -     เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และปรากฎการณ์ธรรมชาติ

-     เข้าใจความสำคัญของตนเองกับสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสามารถของตนที่จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ

-     เข้าใจถึงพัฒนาการของมนุษย์ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย

-          เข้าใจและจำแนกความเหมือนกันของสิ่งของ

-          เข้าใจการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของสสาร
 -          นักวิทยาศาสตร์
 

 

ดร.เยาวพา เดชะคุปต์ แปลมาจาก “Multiple Inteligence” เอกสารในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ทักษะการคิดรูปแบบการเรียนรู้ (Thinking Skill & Learning Style)” โดย Finkeistein , Leonard & Finkeiisten , Leila. (2541 ณ ห้องประชุมตึกชาญ อิสสระ 6-8 กุมภาพันธ์ 2541)




พหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

รองศาสตราจารย์ ดร.เยาวพา เดชะคุปต์

ได้คิดรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดหาทฤษฎีพหุปัญญา ดังนี้
             A        Active Learning

            ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีชีวิตชีวา

             C       Cooperative

            ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

             A        Analysis

            ผู้เรียนมีส่วนในการวิเคราะห์ประสบการณ์การเรียนรู้

             C       Constructivism

            ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

             A        Application

            ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน


แผนภูมิสรุปทฤษฎีพหุปัญญา 

(ก)

ปัญญา
 องค์ประกอบแกน
 ระบบสัญลักษณ์
 ลักษณะผลผลิตสูงสุด 
ด้านภาษา
 ไวต่อเสียงของคำ, โครงสร้างความหมายและหน้าที่ของคำในภาษา
 ระบบภาษาที่มีการสะกดคำ
 นักเขียน, นักพูด เช่น เวอร์จิเนีย วูลฟ์ มาร์ตินลูเธอร์ คิง
 
ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์
 มีความไวในการวินิจฉัยแบบแผนจำนวนและเหตุผล สามารถวิเคราะห์เหตุผลที่ซับซ้อน
 ภาษาคอมพิวเตอร์ (เช่น ปาสคาล)
 นักวิทยาศาสตร์ , นักคณิตศาสตร์ เช่น มาดาม คูรี, เบลส ปาสคาล
 
ด้านมิติ
 สามารถรับรู้สิ่งที่มองเห็นภายนอกและแปลงกลับเป็นการรับรู้ภายในได้
 ภาษารูปภาพ (เช่นภาษาจีน)
 จิตรกร , สถาปนิก เช่น ฟรีดา คาร์ไล และไอ.เอม.ไพ
 
ด้านกายสัมผัส
 สามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีความสามารถทางมือกับวัตถุ
 ภาษามือ , ภาษาเบรล
 นักกีฬา นักเต้นรำ นักปั้น เช่น เจสสี โฮเว , มาร์ธา แกรห์ม , ออกุสโรแดง
 
ด้านดนตรี
 เข้าใจและสามารถผลิตจังหวะทำนอง และมีความเข้าใจซาบซึ้ง การแสดงออกทางดนตรี
 ระบบโน้ตดนตรี 

ระบบรหัสโทรเลข
 นักแต่งเพลง, นักแสดง เช่น สตีฟวี, วันเดอร์, 

มีโดรี
 
ด้านมนุษยสัมพันธ์
 สามารถวินิจฉัยและปฏิบัติต่ออย่างเหมาะสมต่ออารมณ์และความต้องการของผู้อื่น

 
 สิ่งที่ช่วยให้รู้ในสังคม เช่น ท่าทาง การแสดงออกบนใบหน้า
 นักแนะแนว , นักการเมือง เช่น คาร์ล โรเยอร์ส , เนลสัน แมนดาลา
 
ด้านตน
 สามารถจำแนกความรู้สึกของตนรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตน
 สัญลักษณ์เกี่ยวกับตน เช่น ความฝัน ผลงานศิลปะ
 นักจิตบำบัด, ผู้นำทางศาสนา เช่น ซิกมันต์ ฟรอยด์,พระพุทธเจ้า
 

(ข)

ปัญญา
 ระบบประสาท
 ลักษณะพัฒนาการ
 วิธีการที่วัฒนธรรมยกย่อง
 
ด้านภาษา
 ขมับด้านซ้ายและหูด้านหน้า (บริเวณโบรคาและเวมมิค)
 “ผลิดอกออกผล” ตั้งแต่วัยเด็กและอยู่ไปจนถึงวัยชรา
 การเล่านิทาน , วรรณคดี ฯลฯ
 
ด้านเหตุผล-คณิตศาสตร์
 ด้านหูซ้าย
 สูงสุดตอนวัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้นเริ่มเสื่อมถอยตั้งแต่อายุ ปี
 การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีคณิตศาสตร์, การนับและระบบแยกประเภท ฯลฯ
 
ด้านมิติ
 บริเวณส่วนหลังของสมองซีกขวา
 ความคิดเชิงเรขาคณิต จะเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย และคิดรูปแบบยูคลิดประมาณ 9-10 ปี แต่ความไวต่อศิลปะจะมีตั้งแต่เด็กจนวัยชรา
 ผลงานศิลปะ ,ระบบการนำทาง , การออกแบบสถาปัตยกรรม , การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ฯลฯ
 
ด้านกายสัมผัส
 เซเรเบลลัมและโมเตอร์ คอร์เทกซ์
 แตกต่างกันตามลักษณะองค์ประกอบ เช่น ความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น และประเภทของการแสดงออก เช่น ยิมนาสติก เบสบอล การแสดงท่าใบ้
 ผลงานประดิษฐ์ด้วยมือ เล่นกีฬา , การแสดงละคร , การเต้นรำ , การปั้น , แกะสลัก ฯลฯ
 
ด้านดนตรี
 ขมับด้านขวา
 เป็นปัญญาที่พัฒนาก่อนสุด , อัจฉริยเด็กๆ จะผ่านวิกฤติการณ์พัฒนาหลายขั้น
 การแต่งเพลง , การแสดง , การอัดเทป ฯลฯ
 
ด้านมนุษยสัมพันธ์
 สมองซีกขวา และระบบลิมบิค
 ระยะ 3 ปีแรกของชีวิต เป็นระยะสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ชีวิต
 ผลงานการเมือง , ระบบธรรมนูญสังคม
 
ด้านตน
 สมองด้านหน้า และระบบลิมบิค
 ความสัมพันธ์ระหว่างตนกับผู้อื่นพัฒนาระหว่าง 3 ปีแรกของชีวิตซึ่งเป็นระยะวิกฤตในการพัฒนา
 ระบบศาสนา ,ทฤษฎีจิตวิทยา , พีธีกรรมต่างๆ
 
 

 
  
  (ค)
  
 
ปัญญา
 การเริ่มต้นของวิวัฒนาการ
 ปรากฏในสัตว์อื่น องค์ประกอบทางประวัติศาสตร์

(คิดจากปี ค.ศ.1990หรือพ.ศ.2533)
 
ด้านภาษา
 อักษรเขียนมีมา 30,000 กว่าปี
 ลิงออกชื่อได้
 มีการถ่ายทอดภาษาทางวาจามาจนกระทั่งมีตัวหนังสือและการพิมพ์
 
ด้านเหตุผล-คณิตศาสตร์
 ระบบจำนวนและปฏิทิน
 ผึ้งสามารถคำนวณระยะทางโดยการเต้นรำ
 มีความสำคัญมากขึ้นด้วยอิทธิพลของคอมพิวเตอร์
 
ด้านมิติ
 การวาดภาพฝาผนังในถ้ำ
 สัตว์หลายชนิดมีสัญชาติญาณของการมีพื้นที่ของตน
 มีความสำคัญมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีด้านการดูและวิดีโอ
 
ด้านกายสัมผัส
 การใช้เครื่องมือของมนุษย์ยุคแรก
 การใช้เครื่องมือของสัตว์บางประเภท
 มีความสำคัญในยุคเกษตรกรรม
 
ด้านดนตรี
 มีหลักฐานว่ามนุษย์สมัยแรกมีเครื่องดนตรี
 นกร้องเพลง
 มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมที่ยังใช้การสื่อสารทางวาจา และการติดต่อสื่อสารจะใช้ดนตรีมาก
 
ด้านมนุษยสัมพันธ์
 ชีวิตในยุคแรกๆ จะมีการรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน และในการล่าสัตว์หาอาหาร
 ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกในสัตว์หลายชนิด
 มีความสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจที่มีการบริการ
 
ด้านตน
 พิธีกรรมทางศาสนาของมนุษย์ ในยุคแรกๆ 
 ลิงซิมแปนซีสามารถรู้จักตนในกระจก , ลิงชนิดต่างๆ รู้จักกลัว
 มีความสำคัญมากขึ้นในสังคม อนาคตที่ซับซ้อนและต้องการความสามารถในการเลือก
 


สรุป

1.      ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้านจากการศึกษาเรื่องสมอง

2.   ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้าน มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ซึ่งบางคนอาจจะมีปัญญาทั้ง 8 ด้านสูงมากแต่บางคน อาจจะมีเพียงหนึ่ง หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่นไม่สูงนัก

3.   ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ ถ้ามีการให้กำลังใจ ฝึกฝนอบรม มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ความร่วมมือของผู้ปกครอง การได้ประสบการณ์ ก็อาจจะเสริมสมรรถภาพของปัญญาด้านต่างๆ ได้

4.   ปัญญาต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ การ์ดเน่อร์ ชี้แจงว่า การแบ่ง ลักษณะของปัญญาแต่ละด้านเป็นเพียงการอธิบายลักษณะของปัญญาแต่ละด้านเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว ปัญญาหลายๆ ด้านจะทำงานร่วมกัน เช่น ในการประกอบอาหาร ก็ต้องสามารถอ่านวิธีทำ (ด้านภาษา) คิดคำนวณปริมาณของส่วนผสม (ด้านคณิตศาสตร์) เมื่อประกอบอาหารเสร็จ ก็ทำให้สมาชิกทุกคนในบ้านพอใจ (ด้านมนุษย์สัมพันธ์) และทำให้คนเองมีความสุข (ด้านการเข้าใจรู้จักตนเอง) เป็นต้น การกล่าวถึงปัญญาแต่ละด้าน เป็นเพียงการนำลักษณะพิเศษเฉพาะออกมาศึกษา เพื่อหาทางใช้ให้เหมาะสม

5.   ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถหลายทาง เช่น บางคนไม่มีความสามารถด้านการอ่าน ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความสามารถทางภาษา เพราะเขาอาจจะเป็นคนที่เล่านิทานและเล่าเรื่องเก่ง ใช้ภาษาพูดได้คล่องแคล่ว หรือคนที่ไม่มีความสามารถทางกีฬาก็อาจจะใช้ร่างกายได้ดี ในการถักทอผ้า หรือเล่นหมากรุกได้เก่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า แม้แต่ในปัญญาด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะมีการแสดงออกถึงความสามารถหลากหลายการ์ดเน่อร์ เชื่อว่าแม้ว่าคนแต่ละคนจะมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน แต่ก็สามารถพัฒนาปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ได้



แบบสำรวจพหุปัญญาสำหรับผู้ใหญ่
 

    โปรดทำเครื่องหมาย 3หน้าข้อความที่เป็นจริงกับตัวท่าน และท้ายแบบสำรวจแต่ละด้านจะมีเนื้อที่ให้ท่านเขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลที่มิได้ปรากฎในนี้

          ปัญญาทางด้านภาษา

______ หนังสือมีความสำคัญต่อข้าพเจ้า

______ ข้าพเจ้าสามารถจำคำในสมองได้ก่อนอ่าน พูด และเขียน

______ ข้าพเจ้าได้ประโยชน์จากการฟังวิทยุ หรือเทปมากกว่าจากการดูภาพยนตร์

หรือโทรทัศน์

______ ข้าพเจ้าชอบเกมทางภาษา เช่น สแครบเบิล พาสเวิร์ด

______ ข้าพเจ้าชอบเล่นสนุกกับผู้อื่นในการเล่นคำ การแต่งกลอนตลก ฯลฯ

______ คนอื่นๆ มักจะถามข้าพเจ้าถึงความหมายของคำศัพท์ที่ข้าพเจ้าใช้ในการพูดหรือ

เขียน

______ วิชาภาษา สังคมศึกษา เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าเรียนได้ดีมากกว่าวิชาคณิตศาสตร์และ

วิทยาศาสตร์

______ เวลาขับรถไปตามทางหลวง ข้าพเจ้ามักชอบอ่านคำโฆษณาหรือประกาศตามป้าย

            ข้างทางมากกว่าดูวิวข้างทาง

______ เวลาสนทนาข้าพเจ้าจะกล่าวถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าได้อ่านหรือได้ฟังมา

______ เมื่อเร็วๆ นี้ข้าพเจ้าได้เขียนบทความที่ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจและบทความนี้ทำให้ผู้อื่น

รู้จักข้าพเจ้ามากขึ้น

                ความสามารถทางภาษาของท่าน (เพิ่มเติม)____________________________________
__________________________________________________________________________


          ปัญญาทางด้านเหตุผลและคณิตศาสตร์

______ ข้าพเจ้าสามารถคิดคำนวณในใจได้ดี

______ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าชอบเมื่อเป็นนักเรียน

______ ข้าพเจ้าชอบเล่นเกมที่ต้องคิดเป็นเหตุเป็นผล

______ ข้าพเจ้าชอบทำการทดลองประเภท “อะไรจะเกิดขึ้น …. ถ้า” (เช่น จะเกิดอะไรขึ้น

            ถ้าข้าพเจ้าเพิ่มน้ำที่จะใช้รดกุหลาบเป็นสองเท่า)

______ ข้าพเจ้าชอบคิดหารูปแบบ หลักการจากความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งของ เหตุการณ์

______ ข้าพเจ้ามีความสนใจในพัฒนาการใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์

______ ข้าพเจ้าเชื่อว่าเกือบทุกสิ่งในโลก สามารถหาคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลได้

______ บางทีข้าพเจ้ามักจะคิดเชิงนามธรรมที่ไม่มีภาษาหรือรูปร่าง

______ ข้าพเจ้าจับผิดในเรื่องเกี่ยวกับเหตุผลในสิ่งที่ผู้อื่นทำทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

______ ข้าพเจ้าจะรู้สึกสบายใจ ถ้าสิ่งต่างๆ มีการจัดหมวดหมู่ วัด คำนวณ วิเคราะห์

            ความสามารถทางด้านเหตุผลและคณิตศาสตร์ของท่าน (เพิ่มเติม)_____________________

__________________________________________________________________________

 
          ปัญญาทางด้านมิติ

______ ข้าพเจ้าสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนเมื่อหลับตา

______ ข้าพเจ้ามีความรู้สึกไวต่อสี

______ ข้าพเจ้าชอบบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูป เพื่อบันทึกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น

______ ข้าพเจ้าชอบเล่นเกมตัดต่อ และเกมที่ใช้ตา

______ เวลาฝันตอนกลางคืน ข้าพเจ้าจะเห็นภาพชัดเจน

______ ข้าพเจ้ามักจะหาทางกลับได้ถูกในที่ที่แปลกใหม่

______ ข้าพเจ้าชอบวาดรูป หรือขีดเขียน

______ ข้าพเจ้าจะถนัดวิชาเรขาคณิตศาสตร์มากกว่าวิชาพีชคณิตขณะที่เรียนในโรงเรียน

______ ข้าพเจ้ามักจะคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมองจากเบื้องบนเพื่อให้เห็นภาพทั้งหมด

______ ข้าพเจ้าชอบอ่านหนังสือที่มีรูปภาพมากๆ 

           ความสามารถทางด้านมิติของข้าพเจ้า (เพิ่มเติม)_________________________________

_________________________________________________________________________

 

ปัญญาทางด้านร่างกายและสัมผัส
______ ข้าพเจ้าเล่นกีฬาอย่างน้อยชนิดหนึ่งเป็นประจำ

______ ข้าพเจ้ามักจะนั่งเฉยๆ ไม่ได้นาน

______ ข้าพเจ้าชอบทำงานด้วยมือ เช่น ตัดเย็บ ถักทอ งานไม้ งานปั้น

______ ความคิดดีๆ ของข้าพเจ้ามักจะเกิดขึ้นขณะที่ข้าพเจ้าเดินหรือวิ่งออกกำลัง หรือขณะ

            ที่ทำงานด้วยมือ

______ ข้าพเจ้าชอบอยู่กลางแจ้ง

______ ข้าพเจ้ามักจะใช้มือหรือออกท่าทางเวลาพูดคุย

______ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องได้สัมผัสกับสิ่งของจริงๆ เพื่อจะเรียนรู้ให้มากเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ

______ ข้าพเจ้าชอบเล่นหรือแสดงที่ตื่นเต้นและเสี่ยงภัย

______ ข้าพเจ้าเป็นคนที่มีความสัมพันธ์ทางร่างกายดี

______ ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องฝึกหัดจริงๆ มิใช่จากการอ่านหรือดูวิดีโอ

ที่แสดงวิธีการ

          ความสามารถทางด้านร่างกายและสัมผัส (เพิ่มเติม)_______________________________

_________________________________________________________________________

 

          ปัญญาทางด้านดนตรี

______ ข้าพเจ้าร้องเพลงได้ไพเราะ

______ ข้าพเจ้าสามารถบอกเสียงดนตรีที่ผิดได้

______ ข้าพเจ้ามักจะฟังดนตรีจากวิทยุ เทป บ่อยๆ

______ ข้าพเจ้าเล่นเครื่องด





Havard Gardner


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.thai.net/kindergarten

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง