[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ประวัติชาติไทย

            สมัยสุโขทัย ( พ . ศ .  ๑๗๖๒ - ๑๙๘๑ 

  อาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเริ่มต้นขึ้น   เมื่อ  พ . ศ .  ๑๗๖๒   ภายหลังที่พ่อขุนผาเมือง   เจ้าเมืองราด   และพ่อขุนบางกลางหาว   เจ้าเมืองบางยาง   ร่วมมือกันยกกำลังเข้าขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง   ซึ่งยึดครองสุโขทัยออกไปได้สำเร็จ   และสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย   ทรงพระนามว่า  ''  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ''   อันเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมาเป็นเวลาถึง  ๒๐๐  กว่าปี   สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย    คือ   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   พัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของอาณาจักรสุโขทัยมีดังนี้
 
            ๑ ) ด้านการปกครอง  ในสมัยสุโขทัยตอนต้น  ( พ . ศ .  ๑๗๖๒ - ๑๘๔๐ )  มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก   ทั้งนี้เป็นเพราะอาณาเขตและราษฎรมีน้อย   ดังเช่นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   ได้โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง   เพื่อให้ราษฎรที่มีความทุกข์เดือดร้อนไปสั่นกระดิ่งร้องเรียนได้   นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรไว้ที่กลางดงตาล   เพื่อให้พระสงฆ์ขึ้นนั่งเทศน์สั่งสอนราษฎรในวันธรรมสวนะ   หรือมิฉะนั้นพระองค์ก็จะทรงประทับ   เพื่อสั่งสอนพสกนิกรด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด   ต่อมาในสมัยสุโขทัยตอนปลาย  ( พ . ศ .  ๑๘๔๑ - ๑๙๓๑ )  ก็มีการปกครองแบบธรรมราชา   อันเป็นลักษณะการปกครองที่กษัตริย์ทรงปฏิบัติต่อประชาชนตามหลักทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนา   และต่อมาสุโขทัยก็เริ่มได้รับอิทธิพลการปกครองแบบเทวราชาจากขอม   ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนหนึ่งเทพเจ้า  ( คือ  พระนารายณ์หรือพระศิวะ )   ทำให้ฐานะของกษัตริย์ได้รับการยกย่องให้สูงส่งมากขึ้น   กล่าวคือ  มีฐานะประดุจดังสมมติเทพ   มีอำนาจสูงสุดในอาณาจักร

            ๒ ) ด้านเศรษฐกิจ   ลักษณะเศรษฐกิจของสุโขทัยนั้น    โดยส่วนรวมแล้วราษฎรสุโขทัยมีอาชีพการเพาะปลูกเป็นหลัก   แต่เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ไม่สู้จะเอื้ออำนวยเท่าใดนัก   ดังนั้น   การชลประทานจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของอาณาจักรสุโขทัย   นอกจากนี้   การหัตถกรรมประเภทเครื่องปั้นดินที่เรียกว่า  '' เครื่องสังคโลก  ''  ก็เป็นผลผลิตที่สำคัญที่ช่วยเหลือให้เศรษฐกิจของสุโขทัยมีความเจริญมั่นคงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง   รวมทั้งการค้าขายทั้งภายในและภายนอกก็ช่วยให้อาณาจักรสุโขทัยมีสภาพเศรษฐกิจที่มั่นคงพอจะดำรงความเป็นอาณาจักรอยู่ได้   จนกระทั่งอาณาจักรอยุธยาซึ่งอยู่ทางใต้เริ่มสถาปนาอำนาจของตนใน  พ . ศ .  ๑๘๙๓   เศรษฐกิจสุโขทัยจึงประสบกับภาวะฝืดเคือง   เนื่องจากเส้นทางการค้าถูกปิดกั้นโดยอาณาจักรอยุธยา

            ๓ ) ด้านสังคม   สังคมสุโขทัยเป็นสังคมที่ผู้คนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น   โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของอำนาจในแผ่นดิน   พระราชวงศ์  ขุนนาง   ข้าราชการจะเป็นผู้รับเอาพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไปปกครองบ้านเมืองอีกต่อหนึ่ง   โดยราษฎรบางส่วนมีฐานะเป็นไพร่และข้ารับใช้ของนาย   และอยู่ภายใต้การปกครองและควบคุมของขุนนางและข้าราชการ   แต่ราษฎรบางส่วนก็มีอิสระในการดำรงชีวิตของตนเองพอสมควร

            ๔ ) ด้านศิลปวัฒนธรรม   อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างมาก   ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏอยู่ในศิลปะประเภทต่าง ๆ   เช่น   สถาปัตยกรรม   ประติมากรรม   และวรรณกรรม   ผลงานทางด้านวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยสุโขทัยก็คือ   การประดิษฐ์ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   เมื่อ  พ . ศ .  ๑๘๒๖   ซึ่งได้พัฒนามาเป็นตัวอักษรไทยในปัจจุบัน

 
            กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วงมี  ๙  พระองค์   ได้แก่

            ๑ .  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์   เริ่มเสวยราชย์ระหว่าง  พ . ศ .  ๑๗๖๒ - ๑๗๘๑

            ๒ .  พ่อขุนผาเมือง

            ๓ .  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ประมาณ  พ . ศ .  ๑๘๒๒ -๑๘๔๒

            ๔ .  พระยาเลอไท

            ๕ .  พระยางั่วนำถม

            ๖ .  พระมหาธรรมราชาที่  ๑  ลิไท   เสวยราชย์ระหว่าง  พ . ศ .  ๑๘๙๐   สวรรคตระหว่าง  พ . ศ .  ๑๙๑๑ -๑๙๑๗

            ๗ .  พระมหาธรรมราชาที่  ๒   เสวยราชย์ถึงประมาณ  พ . ศ .  ๑๙๔๒

            ๘ .  พระมหาธรรมราชาที่  ๓ ไสลือไทย    เสวยราชย์ถึง  พ . ศ .  ๑๙๒๖

            ๙ .  พระมหาธรรมราชาที่  ๔  บรมปาล   เสวยราชย์ถึงประมาณพ . ศ .  ๑๙๘๑





คลิกดูรายละเอียดที่นี้


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.rayongwit.net/library/hist/pa/Period%201.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง