[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

เทคนิคการวิเคราะห์หาตัวชี้วัดความสามารถหลัก(Key Competencies)

เทคนิคการวิเคราะห์หาตัวชี้วัดความสามารถหลัก(Key Competencies) 
โดย...ณรงค์วิทย์ แสนทอง
[email protected]

ฉบับที่แล้วผมได้เขียนถึงเทคนิคการวิเคราะห์หาตัวชี้วัดผลงานหลักหรือ KPI (Key Performance Indicator)ของตำแหน่งงานไปแล้ว วันนี้จะขอพูดถึงเทคนิคการวิเคราะห์หาความสามารถหลักหรือที่เรียกกันว่า Key Competencies ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจคำว่าความสามารถ (Competency)ก่อนว่ามันคืออะไร มีความสำคัญต่อการประเมินผลงานอย่างไร

ความสามารถ (Competency) หมายถึง ทัศนคติ อุปนิสัย ทักษะและพฤติกรรมที่คนแสดงออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นนิสัยที่แท้จริงของคนๆนั้น ไม่ใช่การเสแสร้ง ไม่เหมือนกับพฤติกรรมที่สามารถเสแสร้งแกล้งทำได้ชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าคนไหนมีความสามารถเรื่องการบริการ ไม่ว่าคนๆนั้นจะอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร เขาจะแสดงออกถึงความมีน้ำใจในการให้บริการคนอื่นเสมอ แต่ถ้าเขามีเพียงพฤติกรรม เขาจะแสดงออกกับคนเพียงบางคน เพียงบางสถานที่หรือบางเวลาเท่านั้น เราจะสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมกับความสามารถได้ชัดเจน ถ้าเราเดินเข้าไปร้านมินิมาร์ทบางแห่ง เราจะได้ยินคำว่า ''สวัสดีคะ(ครับ)'' แต่สีหน้าคนที่สวัสดีเราไม่ได้ไปด้วยกันกับความหมายของคำว่าสวัสดีเลย บางครั้งเราได้ยินแต่เสียง ไม่รู้ว่าตัวคนอยู่ที่ไหน อย่างนี้เรียกว่าเขามีเพียง ''พฤติกรรม'' ของการบริการเท่านั้น แต่ถ้าเราเดินเข้าไปโรงแรมหรือร้านอาหารบางแห่ง เราจะได้ยินคำว่า ''สวัสดีคะ(ครับ)'' พร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส แววตาบ่งบอกให้เห็นว่าพร้อมที่จะให้บริการเราจริงๆ และลึกๆในใจของเขาก็เป็นอย่างนั้นจริง อย่างนี้พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าเขามีความสามารถด้านการบริการ

เมื่อท่านผู้อ่านได้เข้าใจความหมายของคำว่าความสามารถแล้ว ผมจะขอนำกลับเข้ามาสู่เทคนิคการวิเคราะห์หาความสามารถหลักของตำแหน่งงาน (Job Competency) ซึ่งมีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้

กำหนดความสามารถให้สอดคล้องกับกลุ่มผลงานที่คาดหวังหลัก (Key Result Areas)

ให้นำเอาผลความคาดหวังหลักที่วิเคราะห์ได้จากการหา KPI ในตอนที่แล้วมาเป็นตัวตั้ง แล้วลองกำหนดดูว่า การที่จะทำให้งานนั้นๆบรรลุเป้าหมายได้ตามที่กำหนดไว้นั้น คนที่ทำงานในตำแหน่งงานนั้นจะต้องมีความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น

กลุ่มผลงานที่คาดหวังหลัก
(Key Result Areas) ความสามารถที่น่าจะมีแล้วทำให้งานสำเร็จ
(Competencies) 
เวลาสรรหา (Time) การวางแผน (Planning)

การประสานงาน (coordination)

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)

การให้บริการ (Service Mind) 
 
ต้นทุนการสรรหา (Cost) การวางแผน (Planning)

การประสานงาน (coordination)

ความละเอียด (Attention to details)

จิตสำนึกด้านต้นทุน (Cost Awareness) 
 
คุณภาพของการสรรหา (Quality) การวางแผน (Planning)

การติดต่อสื่อสาร (Communication)

ความละเอียด (Attention to details)

การประสานงาน (coordination)

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) 
 

กำหนดความสามารถหลัก

หาความสามารถที่ซ้ำกันมากที่สุด ความสามารถตัวใดที่เกิดขึ้นซ้ำกันมากที่สุดถือว่าเป็นความสามารถหลักของตำแหน่งงานนั้นๆ จากตัวอย่างดังกล่าวนี้จะเห็นว่าตัวที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ การวางแผน และการประสานงาน(ซ้ำกัน 3 ครั้ง) 
จัดลำดับความสำคัญของความสามารถในกลุ่มเดียวกัน ให้จัดลำดับความสามารถของแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจากผลกระทบต่อผลสำเร็จของผลที่คาดหวัง ความสามารถตัวใดมีความสำคัญต่อความสำเร็จของผลที่คาดหวังมากที่สุด ความสามารถนั้นถือเป็นความสามารถหลัก เช่น ความสามารถที่มีผลกระทบต่อเวลาในการสรรหาพนักงานใหม่มากที่สุดคือ การวางแผน รองลงมาคือ การประสานงาน การให้บริการและการประสานงานตามลำดับ 
กลุ่มผลงานที่คาดหวังหลัก
(Key Result Areas) ความสามารถที่น่าจะมีแล้วทำให้งานสำเร็จ
(Competencies) ลำดับความสำคัญ 
1 เวลาสรรหา (Time) การวางแผน (Planning)

2 การประสานงาน (coordination)

3 มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)

4 การให้บริการ (Service Mind) 

สำหรับจำนวนตัวชี้วัดความสามารถหลักไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ว่าควรจะมีจำนวนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม แต่มีข้อสังเกตคือกลุ่มผลงานที่คาดหวังหลักทุกตัวจะต้องมีความสามารถรองรับอย่างน้อยหนึ่งตัว ถ้างานใดมีความสามารถซ้ำกันมาก จำนวนความสามารถหลักก็จะมีจำนวนน้อย

นอกจากความสามารถประจำตำแหน่งงาน (Job Competencies) แล้ว การประเมินผลการปฏิบัติงานมักจะนำเอาความสามารถหลักขององค์กร (Core Competencies) หรือบางองค์กรเรียกว่าคุณค่าองค์กร (Core Value) มาใช้ในการประเมินผลงานด้วย เพราะนอกจากต้องการให้ความสามารถของคนเหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบแล้ว ก็ยังต้องการให้ความสามารถของคนสอดคล้องกับคุณค่าขององค์กรอีกด้วย เช่น โรงแรมจะมีความสามารถหลักขององค์กรคือ การให้บริการ (Service Mind) ดังนั้น ทุกตำแหน่งจะต้องถูกประเมินในหัวข้อนี้ ไม่ว่าตำแหน่งงานนั้นๆจะมีความสามารถประจำตำแหน่งในหัวข้อนี้หรือไม่ก็ตาม
 
 





HR Center


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ณรงค์วิทย์ แสนทอง

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง