[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

แมลง

                                  แมลง  
          การแพร่พันธุ์ 
แมลงส่วนใหญ่แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ ไข่เหล่านั้นได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิของตัวผู้ ที่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียก่ อนวางไข่ มีแมลงเป็นส่วนน้อยที่วางไข่โดยไม่ต้องผสมกับตัวผู้ และไข่เหล่านั้น สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยออกล ูกหลานสืบต่อกันไปได้ เช่ น ตั๊กแตนกิ่งไม้ แมลงบางพวก เช่น เพลี้ยอ่อน ออกลูกเป็นตัวโดยไม่มีการผสมกับตัวผู้ แมลงเหล่านี้จึงมีตัวผู้น้อยมากหรือแ ทบจะไม่มีเลย แมลงบางพวกจะวางไข่โดยไม่จำกัดสถานที่ ปล่อยให้ไข่ตกไปตามยถากรรม ตั๊กแตนกิ่งไม้โดยทั่ว ๆ ไปจะมีนิสัยเช่นนี้ ทำใ ห้ตัวอ่อนที่ฟักออกมาต้องหาอาหารช่วยตัวเอง แมลงมากชนิดจะวางไข่ตามแหล่งที่เป็นอาหารของลูกอ่อน ช่วยให้ลูกอ่อน ที่ฟักออกมามีอาหารกินได้ทันที บางชนิดวางไข่ใบเดี่ยว ๆ บนพืชอาหาร กระจายทั่วไปโดยปราศจากสิ่งปกปิด เช่น ผีเสื้อหนอนแ ก้วส้ม วางไข่ตามใบส้มทั ่ว ๆ ไป นอกจากนี้ก็มีพวกที่วางไข่เป็นกลุ่มอย่างเปิดเผย เช่น มวนลำใย ซึ่งลูกอ่อนที่ฟักออกมาจะอยู่รวมกลุ่มกันระยะหนึ่งก่อนที่จะแยกย้ายกันไป แมลงจำนวนมากวางไข่เป็นกลุ่มโดยจัดให้ไข่อยู่ใต้สิ่งที่ปกปิดต่าง ๆ เพื่อช่วยในการอำ พรางศัตรู แมลงชีปะขาว ปกปิดไข่ด้วยขนจากปลายท้องแม่ ตั๊กแตนตำข้าว ทำสารเหนียว ซึ่งแข็งตัวหุ้มรอบไข่ที่อยู่ภายใน แต่เวลาเดียวกัน ก็มีแมลงมากชนิดที่อาศัยธรรมชาติช่วยปกปิดให้ เช่น ตั๊กแตนปาทังก้า วางไข่ซ่อนอยู่ในฝักและฝังไว้ใต้ผิวดินอีกทีหนึ่ง ทำให้ยากแก่ศัตรูที่จะค ้นหาได้พบ  
        ทำไมแมลงจึงต้องมีการลอกคราบ   
         การเจริญเติบโต 
เนื่องจากแมลงมีเปลือกลำตัวแข็ง การเติบโตของร่างกายจึงมีจำกัด เมื่อร่างกายโตจนคับเปลือก แมลงจะโตต่อไปไม่ได้ ก็ จะต้องลอกเปลือกลำตัวเก่าทั้ง และสร้างเปลือกลำตัวใหม่ให้โตกว่าเดิม แมลงจึงเจริญเติบโตไปได้เราเรียกกันว่า การ ลอกคราบ (moulti ng, ecdysis) การลอกคราบแต่ละครั้งก็จะทำให้แมลงโตขึ้นไปด้วย แมลงทุกชนิดจึงมีการลอกคราบเพื่อการเจริญเติบโตโดยมี การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (metamorphosis) อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตโดยวิธีลอกคราบและมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างนี้ก็มีแตก ต่างกันไป 
แมลงบางพวกบางเหล่าเมื่อลูกฟักออกจากไข่จะมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ จนแยกแทบจะไม่ออกว่ามีส่วนไหนที่ต่างไปจากพ่อแม่เรียกได้ว่าแมลงเหล่านี้มีการเจริญเติบโตแบบ ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (ametabola, non-meta-morphosis) ซึ่งจะเห็นได้จา กแมลงพวกตั วสองง่ามและสามง่าม เป็นต้น 
        แมลงบางพวกเมื่อลูกฟักออกจากไข่จะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ มีความแตกต่างอยู่บ้างที่จะสังเกตเห็นได้ว่าไม่เหมือนพ่อแม่ เช่น ปีกยังไม่เจริญออกมาให้เห็นเต็มที่เหมือนพ่อแม่ ยังคงเห็นเป็นติ่งอยู่เท่านั้น เรามักนิยมเรียกลูกแมลงประเภทนี้ ว่า ตัวอ่อน (nymph) แมลงพวกนี้ได้แก่ ตั๊กแตน แมลงสาบ แมลงดานา มวน เป็นต้น เรียกว่ามีการเจริญเติบโตแบบ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างน้อย (gradual metamorp hosis, paurometabola) 
สำหรับพวกแมลงปอนั้น พวกตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ในขณะที่ตัวที่โตเต็มที่อาศัยอยู่บนบกตัวอ่อนยังคงลักษณะให้เห็น คล้ายแมลงที่โตเต็มที่ เช่น ร่างกายแบ่งเป็นส่วน ๓ ส่วน มีขา ๖ ขา แต่รูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากพ่อแม่โดยสิ้นเชิง เช่น ตัวอ้ายโม่ง หรือแมลงปิดหน้า อี่นิ่ว ละงำหน้าง้ำ ซึ่งเป็นตัวอ่อนของแมลงปอ อาศัยอยู่ในน้ำมีรูปร่างลักษณะต่างไปจากแมลงปอ อาศัยอยู่ ในน้ำมีรูปร่างลักษณะต่างไปจากแมลงปอ ซึ่งอาศัยอยู่บนบกโดยสิ้นเชิง จัดเป้นการเจริญเติบโตแบบ การเปลี่ยนแปลงรูปร่า งกึ่งสมบูรณ์ (incomplete metamorphosis, hemimetabola) 
นอกจากนี้ยังมีพวกที่ลูกมีการเจริญเติบโต โดยมีรูปร่างที่ผิดแปลกไปจากพ่อแม่โดยสมบูรณ์ เช่น ผีเสื้อ ด้วย แมลงวัน เม ื่อยังเล็กอยู่มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ดูไม่ออกว่าเป็นแมลง มีวิถีชิวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนอาหารที่แตกต่างไปจากพ่อแม่โดยสิ้นเ ชิง ก่อนจะเป็นตัวเต็มวัยก็เข้าดักแด้ รูปร่างของดักแด้ก็ต่างออกไปจากหนอนและตัวเต็มวัย แมลงเหล่านี้จัดว่ามีการเ จริญเติบโตแบบ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสมบูรณ์ (Complete metamorphosis, holometabola) พวกนี้จึงมีขั้นตอนการเจริญเติบโต ๔ ระยะคือ ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย 
พวกสุดท้ายเป็นพวกที่มีการเจริญเติบโตแบบ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างขั้นสูง (hypermetamorphosis) ซึ่งมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร ่างเหมือนกับแบบสมบูรณ์ ต่างกันที่ในระยะที่ฟักออกจากไข่ จะมีรูปร่างเป็นตัวอ่อน มีร่างกายแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ หัว อก และท้อง มีขา ๓ คู่ แต่เมื่อลอกคราบแล้วต่อไปจะมีลักษณะเป็นตัวหนอนก่อนที่จะเข้าดักแด้ แมลงพวกนี้จึงมีขั้นตอนการ เจริญเติบโตเป็น ๕ ระยะคือ ระยะไข่ ตัวอ่อน ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย  

         พ่อแม่แมลงมีการเลี้ยงดูลูกอย่างไร  
          การดูแลรักษาลูก 
        ส่วนใหญ่พ่อแม่ของแมลงไม่มีการเลี้ยงดู ปล่อยให้ลูกหากินช่วยตัวเอง แมลงส่วนใหญ่จึงวางไข่หรือออกลูกที่แหล่งอาหา รหรือบริเวณที่มีอาหารให้ลูก แมลงส่วนน้อยที่มีการดูแลช่วยเหลือลูก เช่น แมลงดาสวน ตัวเมียจะวางไข่เป็นแผงติดแน่นบนหลังตัวผู้ เมื่อตัวผ ู้ว่ายน้ำไป ณ ที่ใดก็เท่ากับพาไข่ติดไปด้วย ไข่จึงรอดพ้นจากศัตรู แมลงดานาจะคอยเฝ้ารักษากลุ่มไข่ที่ตัวเมีย วางติดไว้กับต้นพืชในน้ำ ไม่ยอมให้ศัตรูเข้ามาทำลาย รวมทั้งคอยไล่ตัวเมียที่อาจจะเข้ามากินไข่ของตัวเองด้วย จนกระทั่งตัวอ่อนฟักออกจากไข่แล้วจึง ละทิ้งไป แมลงหนีบจะฝ้าดูแลรักษาตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ จนกระทั่งโตพอสมควรที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว จึงจะแยก ตัวไป 
อย่างไรก็ตาม แมลงหลายพวกเสาะหาที่ทำรังหรือสร้างรังอย่างแข็งแรง สำหรับป้องกันภัยให้ลูกและหาอาหารมาเก็บไว้ให้ ลูกกิน เช่น ผึ้งกรวย จะเที่ยวเสาะหารูขนาดพอเหมาะเช่นรูที่แมลงอื่นเจาะทิ้งร้างไว้ หรือรูที่คนทำขึ้น เช่นรูกุญแจที ่โต๊ะหรือรูกลอนประตู รูท่อยางที่ถูกทิ้งไว้ เมื่อได้ที่แล้วจะบินออกไปกัดใบไม้เป็นแผ่นเกือบกลม นำมาห่อเป็นกรวย รองกันหลายชั้นในรูเพื่อเป็นรัง นำเกสรดอกไม้มาบุรังจนเพียงพอที่จะเป็นอาหารให้ลูกอ่อน ซึ่งฟักออกจากไข่กินจนเจริญเติบโตเต็ มที่ได้ ส่วนผึ้งหลอดนั้นทำรังแบบเ ดียวกันแต่จะกรุรังด้วยดินเหนียวหรือดินผสมยางไม้ ก่อนที่จะขนใบไม้มากรุรัง หมาร่าจะขนดินเหนียวมาสร้างรังให้แข็งแรงจนเสร็จเสียก่อนจะไปหาตัวหนอนที่เป็นอาหารของลูกอ่อนโดยต่อยให้สลบแล้วขนมาใส่ในรังที่เตรียมไว้ก่อนที่จะวางไข่ลงไปบนตัวหนอนที่สลบนั้นแล้วจึงปิด รังเพื่อให้ลูกน้อยที่ฟักออกจากไข่ได้กินตัวหนอนที่อยู่ในรังจนเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัยแมลงเหล่านี้จึงมีชีวิตอย่างโดดเดี่ยว  
          แมลงที่มีความเป็นอยู่แบบสังคมชั้นสูง มีการแบ่งชั้นออกเป็นกี่วรรณะ  
          แมลงที่รวมตัวกันอยู่เป็นฝูงช่วยกันทำรังหาอาหารเลี้ยงลูกอ่อน จัดเป็นแมลงที่มีความเป็นอยู่แบบสังคมชั้นสูงนั้น ได้แก่ ต่อ แตน ผึ้ง ชันโรง มด และปลวก ในรัง ๆ หนึ่งจึงอาจจะพบแมลงเหล่านี้เป็นพัน เป็นหมื่น หรือนับแสนตัวก็มี แมลงเหล่า นี้มีการแบ่งชั้นวรรณะกล่าวคือในแต่ละรัง ตัวอ่อนเจริญเมื่อโตเต็มวัยมีรูปร่างไม่เหมือนกัน และทำหน้าที่ต่างกัน ม ีวรรณะตัวผู้ วรรณะตัวเมีย วรรณะกรรมกร และวรรณะทหาร พวกต่อหลวง ต่อหัวเสือ แตนลิ้นหมา ผึ้งโพรง ผึ้งหลวง ผึ้งเลี้ยง และชันโ รง เป็นต้น มีตัวผู้ขนาดย่อมกว่าตัวเมียทำหน้าที่ผสมพันธุ์ ตัวเมียที่จะเป็นแม่รังเมื่อผสมพันธุ์และวางไข่ซึ่งจะฟ ักเป็นตัวแพร่ลูกหลานต่อไป ส่วนพวกวรรณะกรรมกรหรือลูกรังนั้นคือตัวเมียที่เป็นหมัน มีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างรังหาอาห ารมาเลี้ยงตัวอ่อน และคอยเฝ้าระวังศัตรู โดยมีเหล็กในที่ต่อยให้เจ็บปวดถึงตายได้ ต่อ แตน และผึ้ง เหล่านี้ไม่มีวรรณะทหารที่จะมีรูปร่างผิดแปลกออกไป เพราะพวกวรรณะกรรมกรที่ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว โดยปกติในรังแต่ละรังของต่อและผึ้ง ดังกล่าวข้างต้นจะมีต ัวเมียตัวเดียวซึ่งเป็นแม่รัง ที่เหลือเป็นลูกรัง ซึ่งเป็นวรรณะกรรมกร จะพบตัวผู้ก็เฉพาะเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์หรือแยกร ัง ต่อและแตนชนิดที่กล่าวข้างต้นไม่มีการเก็บสำรองอาหารไว้ในรัง ฉะนั้น เมื่อแหล่งอาหารขาดแคลน ก็จำเป็นที่จะต้องแยกรังออกไปหาแหล่ งใหม่เพื่อสร้างรังใหม่ต่อไป สำหรับผึ้งที่กล่าวข้างต้นและชันโรงมีการเก็บสำรองอาหารซึ่งเป็นน้ำผึ้งและเกสรดอกไม้ไว้ในรวงรัง โดยแบ่งสัดส่วนเอาไว้เป็นที่เก็บสำรองโดยเฉพาะ มนุษย์เราได้อาศัยน้ำผึ้งที่เก็บสำรองเหล่านี้มาเป็นอาหารอีกทีหนึ่ง ส่วนผึ้งมิ้มมีว รรณะและความเป็นอยู่เช่นเดียวกับผึ้งอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ผิดกันแต่ว่าผึ้งงานซึ่งเป็นวรรณะกรรมกรไม่มีต่อมน้ำพิ ษ และเหล็กในที่จะใช้ป้องกันตัว ชอบมักจะถูกทำลายโดยมนุษย์และศัตรูอื่น ๆ ได้ง่าย ต้องย้ายรังหลีกหนีบ่อย ๆ 
ในกรณีของมดและปลวก นอกจากจะมีวรรณะตัวผู้ ตัวเมีย กรรมกรแล้ว ยังมีวรรณะทหาร ซึ่งมักจะมีร่างกายใหญ่โตผิดสัดส่วนเมื่อเทียบกับวรรณะกรรมกร ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของรวงรัง ดังจะเห็นได้จากมดง่ามและปลวกโดยทั่วไป เป็นต้น พวกนี้มักจะมีหัวโตผิด สัดส่วนกับอกและท้อง มีขากรรไกรหน้ารูปร่างคล้ายเขี้ยวใหญ่ เป็นที่น่าเกรงขามของศัตรูพวกวรรณะทหารเหล่านี้จะพบได้บ่ อย ๆ เมื่อเดินไปตามทาง ปะปนกับวรรณะกรรมกร ปลวกงานมีความแตกต่างกับมด ผึ้ง ต่อ แตน และชันโรง ที่กล่าวข้างต้น ในแง่ที่ว่าสาม ารถช่ วยทำงานตั้งแต่อายุเยาว์วัย โดยไม่ต้องรอให้เจริญเติบโตเต็มที่  

     แมลงให้คุณและโทษอย่างไร  
     ประโยชน์และโทษของแมลง 
แมลงก็เช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งหลาย เมื่อมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ย่อมมีทั้งประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ ประโยชน์ที่มนุษย์ได้ รับจากแมลงนั้น ได้แก่ มนุษย์ใช้แมลงเป็นอาหารหรือเครื่องชูรสในอาหาร เช่น ในประเทศไทย มีการใช้แมลงดานามาปรุงน้ำพริก ในภาคกลาง มดแดงหรือมดส้มแทนน้ำส้มในภาคเหนือ มีการคั่วแมลงกุดจี่และหนอนไหมกินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนึ่งหรือยำต ัวอ่อนของต่อหลวง ต่อหัวเสือในภาคใต้ ในที่ ๆ กันดารอาหาร มนุษย์มักต้องอาศัยแมลงเป็นอาหารประจำที่จะหาได้เสมอ นอกจากตัวแ มลงเองแล้วมนุษย์ก็ยั งได้ประโยชน์จากผลิตผลของแมลง เช่น น้ำผึ้ง จากผึ้งมาเป็นอาหารและเข้าเครื่องยา ไหมจากไหมเลี้ยงและไหมป่ามาทำเครื่องนุ ่งห่ม ครั่งจากแมลงครั่งมาทำแลกเกอร์ผสมสีทาบ้านและเครื่องเรือนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้แมลงเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา กันเป็นล่ำเป็นสัน มนุษย์ได้อาศัยแมลงช่วยผสมเกสรบำรุงพันธุ์พืชต่าง ๆ เพื่อให้ผลิตออกผลมาก ๆ โดยเฉพาะใช้ผึ้ง ชันโรง แมลงภู่ แมลงวันหัวเขียว ทั้งนี้ตามประสิทธิภาพของแมลงแต่ละอย่างที่จะผสมพันธุ์พืชแต่ละชนิด เช่น การผลิตเมล็ดหอมหัวใหญ่ จะใ ช้แมลงวันหัวเขียว ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าผึ้ง มีหลายกรณีเช่นกันที่มนุษย์เพาะเลี้ยงแมลงที่เป็นประโยชน์ แล้วปล่อยไปช่วยก ำจัดแมลงหรือศัตรูพืชอื่น ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงแตนเบียนไข่เพื่อช่วยทำลายไข่ของหนอนเจาะลำต้นข้าว ไข่ของมวนลำไย เวลาเดียวกันก็ได ้มีการเพาะเลี้ยง แมลงให้ช่วยทำลายวัชพืช เช่น หนอนกระทู้ ทำลายจอก แหน หนอนเจาะกระบองเพชรเพื่อทำลายป่ากระบองเพชรที่ไร้ประโยชน์ แมลง หลายชนิดมีสารที่ให้ประโยชน์ทางการแพทย์จึงนำมาใช้ผสมเป็นเครื่องยารักษาโรคต่าง ๆ ซี่งปรากฏว่ามีแมลงหลายชนิดอยู่ ในตำร ับยาไทย และในเรื่องนี้ทางประเทศจีนได้ศึกษาค้นคว้าและก้าวหน้าไปมาก นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้แมลง ในการศึกษาเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เสมอ เช่น การใช้แมลงหวี่ ในการศึกษาทางพันธุกรรม ทำให้วิทยาศาสตร์ขานี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จะสังเก ตเห็นได้ว่ าในการนำสัตว์ขึ้นจรวดไปทดลองในอวกาศ มักจะต้องมีแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดถูกนำไปทดลองด้วยเสมอ แมลงหลายชนิดที่ช่วยเกษตรกรโดยทางอ้อม เช่น ด้วงกุดจี่ ด้วงมูลสัตว์และด้วงเขี้ยวกาง ที่ช่วยกินย่อยสลายมูลสัตว์ต่าง ๆ ให้หายกลิ่ นเหม็นและกลายเป็นปุ๋ ยเร็วขึ้นบางประเทศเข้าไปเพาะเลี้ยงเพื่อให้ช่วยสลายมูลสัตว์ให้แต่โดยทั่วไปแล้วแมลงที่มีประโยชน์ที่อยู่ในธรรมชาติได้ช่วยเกษตรกรในการทำลายศัตรูพืชต่าง ๆ ไม่ให้ระบาดง่ายอยู่แล้ว หากแมลงที่มีประโยชน์ไม่ถูกทำลายโดยน้ำมือของ มนุษย์เอง เช่น ถูกยาฆ่าแมลงตาย เกษตรกรก็จะได้ประโยชน์จากแมลงเหล่านี้มาก และประการสุดท้ายมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในรูปลักษณะ สีสันขอ งแมลง ไปในการออกแบบทางศิลปะ เสียงร้องและพฤติกรรมต่าง ๆ ของแมลงยังช่วยบำรุงจิตใจของมนุษย์ เป็นเพื่อนของมนุษย์ในยามเหงา แมล งต่าง ๆ เช ่น จิ้งหรีด จักจั่น เรไร แม่ม่ายลองใน จึงได้ปรากฎในบทกวี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ทั้งของไทยและของต่างประเทศบ่อย ๆ 
       แมลงที่ให้โทษนั้นมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน ที่พบเห็นกันง่ายก็ได้แก่พวกที่เป็นศัตรูของคนและสัตว์โดยตรง มี ทั้งก่อความรำคาญให้ เช่น แมลงสาบส่งกลิ่นเหม็นตามถ้วยชาม และตู้อาหารที่ไปเกาะ ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายโดยการกัดต่อยทิ้ งน้ำพิษให้เกิดอาการเจ็บป่ วย เช่น ต่อ แตน มดตะนอย บุ้ง ร่าน หรือเป็นตัวเบียนดูดกินเลือดกัดกินผิวหนังให้เกิดอาการคัน เช่น ยุง เรือด เหา ตลอดจนทำลายปัจจัยที่จำเป็นต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น ปลวก ทำลายบ้านอยู่อาศัย ตลอดจนวัสดุที่ใช้งาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ มอดหรือตัวกินทำลายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค พวกตั๊กแตน มวน ด้วง และหนอนผีเสื้อต่าง ๆ มากมายที่เป็นศัตรูทำลายพืชผลที่ เพาะปลูก และที่สำคัญก็คือมีมากชนิดที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น ยุงนำเชื้อมาลาเรีย ไข้เลือดออก แมลงวัน นำโร คอหิวาต์ โรคท้องร่วง และพวกที่นำไปสู่สัตว์ เช่น เหลือบ นำโรคแอนแทรกซ์ไปสุ่โคตลอดจนพวกที่นำโรคไปสู่พืช ได้แก่ เ พลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เป็นต้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชมากมาย โรคที่แมลงนำสู่พืชมีโรคที่สำคัญ ๆ อันเกิดจากเชื้อวิสา แบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น  





คลิกดูรายละเอียดที่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK19/chapter5/t19-5-l1.htm#sect5

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง