[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

สถานที่ท่องเที่ยว  ในเขตอำเภอเมือง 
                        วัดโสธรวรารามวรวิหาร    ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า ''วัดหงษ์'' 
สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ประดิษฐาน  ''หลวงพ่อพทุธโสธร'' 
พระพุทธโสธรคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร 
สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมาและมีผู้อันเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ 
แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ  รูปทรงสวยงามมาก 
แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะ 
ที่เห็นในปัจจุบัน        ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธร กันเป็นจำนวนมาก 
                    เนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ     ทางคณะกรรมการวัดจึงมีมติให้รื้อ 
พระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยอันเชิญพระพุทธโสธรจำลองมาประดิษฐานไว้   ณ 
อาคารชั่วคราว     เพื่อเปิดให้ประชาชนได้นมัสการตามปกติประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์  และเมื่อดำเนินการ 
ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2530  โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทย 
ที่ออกแบบพิเศษเฉพาะรัชกาล    ลักษณะแบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรง 
มณฑปแบบไทยต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  ด้านข้าง ต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับ 
พระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ      จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคาแบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย 
กว้าง 44.50 เมตร ยาว 123.50 เมตร     ส่วนศาลากลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร 
ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตรทองคำหนัก 77 กิโลกรัม มูลค่า 44 ล้านบาท  ผนังด้านนอกพระอุโบสถ 
เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ดาวดึง 
พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลตำแหน่งของดวงดาวบนเพดานจะกำหนดตามดาราศาสตร์ตรงกับวันที่ 5 กันยายน 
พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวันยกยอดฉัตรทองคำเหนือมณฑปพระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเขียนเป็นภาพเขียน 
ประดับโมเสกสี ดังนั้นเมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดบริเวณวัดโสธรฯ 
มีบริการร้านค้าจำหน่ายอาหาร   สินค้าของที่ระลึกจากจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดใกล้เคียง 
และบริเวณท่าน้ำมีบริการเรือหางยาวรับส่งผู้โดยสารระหว่างตลาดในตัวเมืองและวัดโสธรฯ 
และเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำบางปะกง 
                        วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) เป็นวัดจีนในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน 
ที่ขยายมาจากวัดเล่งเนยยี่ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ  ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร 
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่รูปปั้นขนาดใหญ่ของจตุโลกบาล และเทวรูปจีนฮ้วยโห้ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ 
นอกจากนี้มีพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วหารว่องอ้วนตี๋ 
วิหารตี่ซังอ๋องและสระนทีสวรรค์ เป็นต้น 

                       วัดอุภัยภาติกรรม (วัดซำปอง) ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้นใหม่ เป็นวัดญวน 
ในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า 
เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนไปแล้วเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) 
หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ''เจ้าพ่อซำปอกง'' ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น คือวัดกัลยานิมิตร ฝั่งธนบุรี วัดพนันเชิง 
จ.พระนครศรีอยุธยาและวัดอุภัยภาติราม จ. ฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงค์โปร์ 
และไต้หวันมานมัสการอยู่เป็นประจำ 

                        วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย์)         ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา 
จากหลักฐานแผ่นเงินที่พบรอยแตกตรงคอระฆังของเจดีย์องค์ใหญ่ทราบว่าสร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ 
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 โดยนายเสือ หรือพระเกรียงไกรกระบวนยุทธปลัดเมืองฉะเชิงเทรากับภรรยา ซื่อ อิน 
ได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นในปี พ.ศ. 2416 ส่วนวัดนั้นสร้างเสร็จในราวปี พ.ศ. 2424 นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ 
ทางกรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว  สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่เจดีย์ องค์ใหญ่ 1 องค์ เจดีย์องค์เล็ก 
2 องค์ วิหารพระพุทธบาท สุสานเก่า อุโบสถ และหอระฆัง 

                     ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง              ตั้งอยู่กับแนวเดียวกับป้อมเมืองฉะเชิงเทราห่างจากถนนเล็กน้อย 
ภายในศาลหลักเมืองมีเมืองยอดหัวเม็ด  และพระพุทธรูป  เป็นศาลหลักเมืองที่มีลักษณะแปลกกว่าศาลหลักเมืองจังหวัดอื่น ๆ 
คือมีลักษณะเป็นศิลปแบบจีน คล้ายกับศาลเจ้าจีน 

                    วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)  ตั้งอยูที่ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 
พร้อมกับการสร้างป้อมและกำแพงเมืองในปี พ.ศ. 2377 โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง 
ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปางค์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ที่กรุงเทพฯมหานคร 
ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น วัดนี้เดิมเรียกว่า วัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทรา 
และได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า    ''วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ''    ซึ่งแปลว่าวัดที่ลุงพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง 

                   ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา      อยู่ถนนมรุพงษ์  ในเขตเทศบาลเมือง  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 
เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูมารุกราม และในสมัยรัชการที่ 5 ได้ใช้เป็นที่ตั้งตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฎอั้งยี่ 
(พ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่ก่อความวุ่นวยปล้นสดมชาวเมือง) 
ปัจจุบันบริเวณหน้าป้อมจัดเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและชมทิวทัศน์แม่น้ำบางปะกง 
ส่วนตัวด้านหลังกำแพงที่ประดิษฐานศาลเจ้าพ่อหลักเมืองซึ่งพระพุทธรูปและปืนใหญ่เก็บรักษาอยู่ 

                   สวนสมเด็จพระศรีนนครินทร์ฉะเชิงเทรา    ตั้งอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา 
มีเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่ เป็นสวนสาธารณะ มีสระน้ำขนาดใหญ่  กลางสวน  มีต้นไม้ยืนต้นดอกไม้ประดับ 
ทั่วสวนพื้นที่บางส่วนเป็นสนามหญ้า มีทางเดินเท้ารอบสระน้ำและบริเวณทั่วไป 
พื้นที่ส่วนหนึ่งจัดเป็นสนามเด็กเล่น เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี 

                  การท่องเที่ยวทางเรือแม่น้ำบางปะกง 
ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราชไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี) 
อำเภอบางน้ำเปรี้ยวเรียกว่าแม่น้ำแปดริ้ว อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา 
และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกงรวมระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร การท่องเที่ยวทางเรือในแม่น้ำบางปะกง 
เริ่มจากตัวเมืองฉะเชิงเทราเพื่อชมธรรมชาติ สองฝั่งน้ำชมบ้านเรือน ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย 
ผ่านสถานที่น่าสนใจ  เช่น อาคารตำหนัก กรมขุนมรุพงษ์ ศิริวัฒน์  ป้อมและกำแพงเมืองโบราณ 
อาคารศาลากลางหลังเก่า  กลุ่มเรือนแพสมัยเก่า วัดวาอาราม ทั้งไทย จีน ฝรั่งรวม 20 หลังเช่น  วัดเมือง วัดสัมปทวน 
วัดแหลมใต้ วัดสายชล วัดเซ็นปอล ไปขึ้นฝั่งที่วัดโพธิ์บางคล้า  เพื่อชมค้างคาวแม่ไก่นับแสนตัวที่วัดนี้  ระยะทางประมาณ 
25 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง  สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าน้ำวัดโสธรวรารามวรวิหาร 
หรือที่ท่าน้ำหน้าตลาดในตัวเมือง มีทั้งเรือหางยาวจุคนได้ 8-10 คน  หรือเรือสำราญจุคนได้ 40 คน 
อัตราค่าเช่าเรือตามแต่จะตกลงกัน ตามจำนวนผู้โดยสารและระยะทาง (ประมาณชั่วโมงละ 1,200 บาท) 





คลิก


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.chachoengsao.go.th

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง