[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

สหกรณ์ไทย

              การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากเมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น  
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจ 
แบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยาย การผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หัน 
ไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงและยังถูกเอา เปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนา 
จึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ อยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด 
         นอกจากนี้การ ทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สิน 
พอกพูนมากขึ้น เรื่อยๆจนลูกหนี้บางรายต้อง โอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดิน  
ทำกินไปในที่สุด  
         จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการ คิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหา 
เงินทุนมาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาใน 
ด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ 
         วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงิน ทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป 
       วิธีที่ 2  วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน 
      วิ ธีที่ 2 นี้ เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวง พระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญ 
เซอร์ เบอร์นาร์ด ฮันเตอร ์หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดีย เข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนา ได้เสนอว่า 
ควรจัดตั้ง '' ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ '' ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกัน 
เพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ท่านได้แนะนำให้จัดตั้ง 
เป็นสมาคมที่เรียกว่า '' โคออเปอราทีฟ โซไซตี้ '' (Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่ง 
กันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทรง บัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า ''สมาคมสหกรณ์'' จึงกล่าวได้ว่า 
ประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิ ได้ดำเนินการอย่างไร  
         จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรม สถิติพยากรณ์เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วน ราชการ  
3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์ การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 
ทดลอง จัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์  
ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบ อย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ 
          ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบ ไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ในรายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า ''เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้ว  
ได้ตกลงเลือกสหกรณ์ ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นใน เยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรม 
ย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย  
          จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์ 
จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น '' พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย '' 
           สำหรับ รูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะ ได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน  
ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการ พิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีผู้คน ไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตรให้ตั้งตัวได้ 
รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ ดินอย่างเต็มที่ 
        ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์ หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 
เป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า '' สหกรณ์ วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ ''  
            โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มี  
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็น  
นายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็น การเริ่มต้น แห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์   ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิก  จำนวน 16 คน ทุน ดำเนินงาน 3,080 บาทซึ่งเป็นเงิน    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงิน ทุนจำนวน 3,000 บาท 
ได้อาศัยเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือ    ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำ ประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคาร  ในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตรา ร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้นในปีแรกจำนวน   1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิกส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่ง ดอกเบี้ยได้ครบทุกรายแสดงให้เห็นว่าการนำ   วิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไข ความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ ดังกล่าว รัฐบาล 
จึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้ง สหกรณ์ในระยะแรกนั้น 
         นอกจากจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัดใน ทางกฎหมายด้วยเพราะพระราชบัญญัตเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ.2459ิ 
ทำให้การ จัดตั้งสหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้อง  
ออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่ม เติมสมาคม  
พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก  
          พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้มีการรับ จดทะเบียนสหกรณ์ประเภทอื่นๆจากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 
พระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. 2471 อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์  
ได้ขยายออกไปอีกมาก ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและ ได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ  
ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สหกรณ์บำรุงที่ดิน สหกรณ์ค้าขาย สหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480  
            ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอเสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยาชื่อว่าร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้ 
มีสมาชิกแรกตั้ง 279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับปัญหา 
ค่าครองชีพโดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวน 
การสหกรณ์ในประเทศไทยก็ คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. 2511  
เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการดำเนินธุรกิจ 
เป็นแบบ อเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิกได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์  
การเกษตรมาจนปัจจุบันและในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษา  
แก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศมีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับ สถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ 
เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ  
ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ โดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิกซึ่งประเทศไทย  
ได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  
พ.ศ. 2516 ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคมสหกรณ์ประมง  
สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้น 
ในประเทศไทย จวบจนปัจจุบัน 







  ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจ 

ของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสหกรณ์  
ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัวการสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี 
ความสำคัญ ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไข 
ปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับ ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น  






คลิกดูที่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.clt.or.th/thaicoop.html

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง