[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

การปลูกกล้วยไม้

                                                                                                การปลูกกล้วยไม้ 
 ประเภทของกล้วยไม้ 

แบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโตได้ 2 ประเภทคือ 
1. ประเภทแตกกอ (Sympodial) ได้แก่ กล้วยไม้ในสกุลหวาย แคทลียา และรองเท้านารี กล้วยไม้ประเภทนี้มีส่วนของเหง้าเจริญ ไปตามแนวนอนของ เครื่องปลูก และที่โคนลำลูกกล้วยติดกับเหง้าจะมีตาที่สมบูรณ์ 2 ตา เมื่อลำลูกกล้วยเจริญจนสุดลำตาที่โคนตาหนึ่งจะแตกออกมาเป็น ลำใหม่ ส่วนตาอีกข้างหนึ่งพักตัว ลำที่เกิดก่อนซึ่งเป็นลำที่มีอายุมากเรียกว่าลำหลัง ส่วนลำที่แตกใหม่มีอายุน้อยกว่าเรียกว่าลำหน้า สำหรับตาที่อยู่บนลำที่เจริญเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นตาดอก 


2. ประเภทแวนด้า (Monopodial) เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด คือ ตาที่ยอดจะแตกใบใหม่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนโคนต้นจะออก รากไล่ตามยอดขึ้นไป ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า ช้าง กุหลาบ เข็ม และแมลงปอ 

กล้วยไม้ที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ตัดดอกควรมีจุดเด่นทั้งในด้านดอกและการเจริญเติบโต คือ เป็นต้นที่ปลูกเลี้ยงง่าย ต้านทานโรค เจริญเติบโตเร็ว รูปทรง ต้นแข็งแรง ให้ดอกดก ดอกขนาดใหญ่ สีสด กลีบดอกหนา รูปทรงดอกสมบูรณ์ ก้านช่อแข็งแรง ก้านยาวตรง ดอกเรียงบนช่อได้ระเบียบสวยงามและบานได้ทน 
พันธุ์กล้วยไม้ที่นิยมปลูกเป็นการค้า 
ก. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ (Sympodial) ทำได้หลายวิธี คือ 
1. การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งชนิดใบบางสอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยตัดให้ ขาด และใช้ปูนแดงทาแผนให้ทั่ว ลำหลังที่ถูกตัดขาดจะแตกหน่อเป็นลำใหม่ขึ้น เมื่อลำใหม่นี้เริ่มมีรากโผล่ก็ยกออกปลูกได้ 
2. การตัดชำ ใช้กับกล้วยไม้สกุลหวายที่ตาที่โคนลำแห้งตายไปแล้ว โดยนำลำหลังของหวายที่ตัดใบ ตัดรากออกหมดมาปักชำให้โคนลำฝังไปในทรายหยาบประมาณ 2-3 ซม. ห่างกัน 4-5 ซม. เก็บในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด รดน้ำให้โชก ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า ตะเกียง เมื่อลำ ตะเกียงเริ่มเกิดรากก็ตัดเอาไปปลูกได้ 
3. การตัดแยกลำหน้า ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกันแล้วนำไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ จึงจะนำไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับตัดแยกลำหน้า คือ เมื่อลำหน้าสุดเริ่มมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 ซม. 
ข. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแวนด้า (Monopodial) 
1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกปล้องถี่ เช่น แอสโคเซนด้า, แวนด้าใบแบนยอดที่ตัดต้องมีรากติดมาอย่างน้อย 1 ราก ส่วนพวกข้อห่าง เช่น แมลงปอ อะแรนดา ควรให้รากติดมา 2 ราก และตอที่เหลือต้องมีใบติดอยู่เพื่อให้สามารถแตกยอดใหม่ได้ 
2. การตัดแยกแขนง กล้วยไม้ประเภทนี้สามารถแตกหน่อหรือแขนงที่กลางต้นได้ จะตัดแยกเมื่อหน่อหรือแขนงมีใบ 2-3 คู่ และมีรากโดยตัดให้ชิดต้นแม่ 
นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังนิยมใช้ต้นกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะการขยายพันธุ์วิธีนี้ ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ ในปริมาณมากโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น และเป็นต้นที่ปลอดโรค 
การปลูก

การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้นนอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน 
โรงเรือน

การสร้างโรงเรือนมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ และเพื่อจัดวาง ต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบ สะดวกแก่การทำงาน โดยสร้างหลังคาโรงเรือนเพื่อพรางแสงให้เหลือ 50-70% ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด (ตารางที่ 1) โครงสร้างของโรงเรือนควรแข็งแรง มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป 
ในปัจจุบันนิยมสร้างโรงเรือน 2 แบบคือ 
1. สร้างโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน 
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ และใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำหลังคา 
โครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเสาคอนกรีตหรือแป๊ปน้ำ ฝังลึกในดิน 50 ซม. โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักเบาใช้ได้ง่าย และมีราคาถูกโดยขึงให้ตึงและยึดติดกับลวดให้เรียบร้อย 

พื้นที่โรงเรือนควรปูทรายและใช้แผ่นซีเมนต์ปูทางเดินเพื่อไม่ให้น้ำขังและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ส่วนโต๊ะวางกล้วยไม้ ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 15-20 เมตร แล้วแต่ขนาดของโรงเรือนและเว้นทางเดินกว้าง 1-1.2 เมตร ราวแขวนซึ่งใช้กับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้าอยู่ในระดับสูงจากพื้นประมาณ 2.5 เมตร แต่ละราวห่างกัน 40-50 ซม. และทุก ๆ 4 ราวควรเว้นทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร 
วัสดุปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ เช่น หวาย ออนซีเดียม และ Cattleya ต้องใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดีและไม่อุ้มน้ำจนแฉะ หาได้ง่าย ราคาถูก และมีอายุใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่น กาบมะพร้าว หรือ แท่งอัดกาบมะพร้าว โดยนำต้นกล้วยไม้ผูกติดกับไม้ไผ่ปักบนเครื่องปลูก หรืออาจใช้วิธีขึงลวดตามความยาวโต๊ะๆ ละ 4 ราว แล้วผูกต้นติดกับราว เพื่อยึดไม่ให้ต้นล้มและให้รากเกาะติดเครื่องปลูกได้เร็ว ไม่ควรปลูกอัดกันแน่นไปและทำให้ช่อดอก กล้วยไม้ที่ได้มีดอกลดลงด้วย ตลอดจนเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง 
สำหรับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้า ช้าง กุหลาบ เครื่องปลูกที่ใช้ควรมีความทนทานไม่ผุเร็ว เป็นวัสดุที่หาง่ายมีราคาถูกและมีสภาพเหมาะกับการเจริญและแผ่ขยายของระบบราก วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ อิฐ กระถางแตก และถ่าน แล้วปลูกในกระเช้าไม้สักหรือกระถางดินเผาเจาะรูด้านข้างขนาด 5-6 นิ้ว โดยวางต้นกล้วยไม้ลงกึ่งกลางของภาชนะปลูกให้โคนต้นอยู่เหนือกระถาง 2-3 ซม. ใส่วัสดุปลูกจนเต็มภาชนะปลูกใช้ลวดเกี่ยวภาชนะแขวนในโรงเรือน 
การย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูกในภาชนะ 
เมื่อกล้วยไม้ในขวดมีรากและใบสมบูรณ์จึงนำออกจากขวดล้างวุ้นออกด้วยน้ำสะอาด แล้วปลูกลงในกระถางขนาดปากกว้าง 3.5-4.5 นิ้ว กระถางละ 25-40 ต้น เรียกว่ากระถางหมู่ โดยใช้ถ่านและออสมันด้าเป็นเครื่องปลูก เนื่องจากขณะลูกกล้วยไม้อยู่ในขวดจะได้รับสภาพที่มีความชื้นสูงมาก เมื่อนำออกจากขวดในระยะแรกจึงต้องปลูกเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้นสูงและอับลม เช่น ตู้ที่คลุมด้วยพลาสติกใส รดน้ำให้ชุ่มปิดไว้ 2 วัน หลังจากนั้นจึงปิดฝาเฉพาะกลางวัน เปิดกลางคืนอีก 2 วัน แล้วเปิดฝาออกเลย 3 วัน จึงนำออกจากตู้พลาสติก วางไว้ในเรือนกล้วยไม้จนเจริญเติบโตได้ขนาด คือ ถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ควรมีใบยาว 5-7 ซม. ส่วนกล้วยไม้ประเภทแตกกอควรมีลำลูกกล้วยสูง 5-7 ซม. จึงย้ายลงสู่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 

การดูแลรักษา 
การให้น้ำ น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น 
การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื ่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก 
นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ 
การเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี ผู้ปลูกต้องกำหนดวันตัดดอกให้แน่นอน แล้วจัดตารางใส่ปุ๋ย -ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม หากให้ปุ๋ยก่อนตัดดอก 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพดอกและอายุการปักแจกันลดลง ช่วงเวลาตัดดอกควรตัดในช่วงเข้ามืดโดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อหรือตัดด้วยกรรไกร โดยต้องทำ ความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส ลักษณะของช่อดอกที่สามารถตัดได้ในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกต้องบาน 3/4 ของช่อดอก, ออนซิเดียมตัดในระยะเหลือดอกตูมที่ปลายช่อ 1-2 ดอก แวนด้า และแอสโคเซนด้า ตัดดอกเมื่อดอกบานหมดช่อ ส่วนอะแรนด้า, ม๊อคคาร่า ตัดดอกเมื่อดอกบานเกือบหมดช่อหรือหมดช่อ 

โรคและแมลงที่สำคัญของกล้วยไม้
1. โรคเน่าดำหรือโรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ 
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทำลายรากทำให้รากแห้งมีผลทำให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเน่าเป็นสีน้ำตาลหากเป็นรุนแรงเชื้อจะลามเข้าไปในลำต้น ซึ่งเมื่อผ่าดูจะเห็นในลำต้นมี สีดำเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณปากดอกและก้านดอก เหี่ยวสีน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ระบาดมากในฤดูฝนหรือในสภาพอากาศมีความชื้นสูง 
การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกิน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้แยกออกไปเผาทำลายทิ้งถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่โตควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกแล้วใช้สาร เคมีป้าย เช่น ริโดมิลสลับกับไดเทน เอ็ม 45 

2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม 
โรคนี้เป็นปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจแสดงอาการระหว่างการขนส่งได้ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis พบที่กลีบดอกกล้วยไม้ โดยเริ่มแรกเป็นจุด ขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลือง จุดขยายใหญ่มีสีเขียวเข้มคล้ายสนิม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนหรือสภาพที่มีน้ำค้างลงจัด 
การป้องกันกำจัด รักษาความสะอาดแปลง อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมดและเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทไดเทน เอ็ม 45 ไดเทน เอล เอฟ หรือ มาเนกซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น 

3. โรคใบปื้นเหลือง 

เกิดจากเชื้อ Pseudocercospora dendrobii มักเกิดกับใบที่อยู่โคนต้น โดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมาก ๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนว ยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นกลุ่มผงสีดำ และใบจะเป็นสีน้ำตาลหลุดร่วงจากต้น โรคนี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว 
การป้องกันกำจัด เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน ไดเทน เอ็ม 45 หรือ เบนเลท ทุก 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค 

4. โรคใบจุด 
เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis เกิดได้ตลอดปีลักษณะอาการจะแตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวยตรงกลาง แผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาล เกษตรกรมักเรียกว่าโรคขี้กลาก ในสกุลหวายแผลจะมีจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน เกิดได้ทั้งใบบนและใบล่าง 
การป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน, ไดเทน เอ็ม 45 หรือไดเทน แอล เอฟ 

5. โรคแอนแทรกโนสหรือโรคใบไหม้ 

เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. พบได้ที่ปลายใบและกลางใบ ลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นวงเรียงซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น และมีกลุ่มของเชื้อราเป็นสีดำเกิดขึ้นบนวง 
การป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคทิ้ง และฉีดพ่นด้วยไดเทน เอ็ม 45 แคบเทน เดอโรซาล 

6. โรคต้นเน่าแห้ง 

เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii พบมากบริเวณรากหรือโคนต้น ซึ่งจะผุเปื่อย ถ้าอากาศชื้นมาก ๆ จะมีเส้นใยสีขาว และมีเม็ดกลม ๆ คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น บางครั้งจะแสดงอาการที่ใบทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและร่วงตาย ไปในที่สุด มักระบาดในฤดูฝน 
การป้องกันกำจัด เก็บรวบรวมใบกล้วยไม้ที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือฉีดพ่นด้วย เทอราโซล หรือ ไวตาแวกซ์ 

7. โรคเน่าเละ 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน ลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสี น้ำตาลและฉ่ำน้ำ และต้นกล้วยไม้จะเน่าตายทั้งต้น 
การป้องกันกำจัด ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกนำไป

แมลงศัตรูของกล้วยไม้

orchid0.htmorchid0.htm
1. เพลี้ยไฟ 

เป็นแมลงขนาดเล็กมีลำตัวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว มักอยู่บริเวณปากของดอกกล้วยไม้ ระบาดมากในฤดูแล้งหรือช่วง ที่ฝนทิ้งช่วง เพลี้ยไฟทำลายได้ทั้งในดอกตูมและดอกบาน โดยถ้าทำลายดอกตูมตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอกจะทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ถ้าเข้าทำลายในช่วงดอกบานระยะแรกจะเกิดลักษณะสีซีดขาวเป็นทางที่บริเวณกลีบดอก ถ้า มีการระบาดค่อน ข้างรุนแรงบริเวณปากจะเป็นแผลสีน้ำตาล และมีอาการเหี่ยวแห้งจึงเรียกกันว่า ดอกไหม้หรือปากไหม้ 
การป้องกันกำจัด 
ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน และโมโนโครโตฟอส โดยฉีดพ่นในช่วงเช้า ระหว่าง 8.00-10.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบเพลี้ยไฟมาก ถ้ามี การระบาดมากควรฉีดพ่นสารเคมี 4-5 วันต่อครั้ง และฉีดติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าการระบาดจะลดลง 

2. แมลงวันดอกกล้วยไม้หรือไอ้ฮวบ 

เป็นหนอนสีเหลืองลำตัวยาวประมาณ 0.8-3.0 ม.ม. อาศัยอยู่ที่บริเวณเส้าเกสรโดยเฉพาะที่บริเวณใกล้กับยอด เกสรตัวเมีย มักระบาดในช่วงฤดูฝน หนอนจะเข้าทำลายดอกกล้วยไม้เฉพาะดอกตูมขนาดเล็ก ซึ่งกลีบดอกยังปิดหรือเริ่มแทงช่อดอก ทำให้ดอกตูม ชะงักการเจริญเติบโตหงิกงอ บิดเบี้ยว และต่อมาจะมีอาการเน่าเหลืองฉ่ำน้ำและหลุดร่วงจากช่อดอก ถ้าเข้าทำลายดอกตูมขนาดใหญ ่ทำให้ดอกตูมมี อาการบิดเบี้ยว บริเวณโคนดอกจะมีรอยเน่าช้ำสีน้ำตาลดำ บริเวณแผลที่ช้ำมักจะมีราฟูสีขาวทำให้อาจเข้าใจผิดว่ามีเชื้อราเป็นสาเหตุ 
การป้องกันกำจัด 
ควรเก็บดอกตูมที่มีอาการเน่าฉ่ำน้ำหรือที่มีอาการบิด เบี้ยวมาทำลายให้หมด และใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น สารโมโนโครโตฟอส สารคาร์โบซัลแฟน และเมทโธมิล ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน ติดต่อกันจนกว่าการระบาดจะลดลง ฉีดพ่นที่บริเวณช่อ และเครื่องปลูกด้วยเพื่อจะได้ทำลายทั้ง หนอนและดักแด้ 

3. ไรกล้วยไม้ 
ทำลายกล้วยไม้โดยดูดกินน้ำเลี้ยง จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยไม้ เช่น ใบข้อหรือลำต้นและดอกระบาดมากในสถานที่มีอากาศร้อนและแห ้ง แล้ง ที่ใบมักพบที่หลังใบ ใบจะมีจุดด่างขาวเล็ก ๆ และมีคราบสีขาวของไรจับ หากระบาดรุนแรงบริเวณผิวใบจุดยุบลงหากเข้าทำลายที่ข้อหรือลำต้น จะเห็นไรเกาะกลุ่มแน่นเป็นกระจุก ลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือดำจึงมักเรียกว่า โรคข้อดำ จึงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ถ้าทำลายช่อ ไรจุดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านหลังของกลีบดอกโดยเฉพาะบริเวณโคน ทำให้กลีบดอกเป็นรอยช้ำบุ๋มเป็นจุดสีม่วงเ ข้ม ถ้าทำลายตั้งแต่ระยะดอกตูม เมื่อดอกบานแผลจากการทำลายจะเห็นที่บริเวณกลีบล่าง และก้านดอก เรียกว่า ดอกหลังลาย 
การป้องกันกำจัด 
เก็บต้นกล้วยไม้ที่ไม่ต้องการทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของไร หากระบาดไม่มากให้ฉีดด้วยกำมะถันทุก 4-5 วัน แต่ถ้าระบาดมากควรใช้ ไดโคทอล พ่นทุก 3-4 วัน 

4. หนอนกระทูหอม 
มีลำตัวสีเขียวหนอนจะทำลายกัดกินดอกและใบให้เว้าแหว่งได้ทำให้ดอกและใบเสียหาย 
การป้องกันกำจัด 
ใช้สารฆ่าแมลงประเภทไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น เฟนวาลีเรท หรือ เดลต้าเมทริน ถ้าระบาดมากและหนอนดื้อยาใช้สารประเภทไดฟลูเบนซูรอน 

5. หนอนกระทู้ผัก 
ตัวอ่อนของหนอนจะกัดกินใบอ่อนและดอกทำให้ผล ผลิตเสียหาย 
การป้องกันกำจัด 
ถ้ายังระบาดไม่มากใช้วิธีเด็ดดอกหรือตัดใบทิ้ง และเผาทำลาย แต่ถ้ามีการรระบาดมากอาจใช้สารฆ่าแมลงพวก เมทโธมิลฉีดพ่น 

6. เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง 
ซึ่งอาศัยรวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบ จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ด้านบนของใบมีจุดสีเหลืองเน่าใบจะเหลืองและเหี่ยว ถ้ามีเป็นจำนวน มากจะทำให้กล้วยไม้ชะงักการเจริญเติบโต อาการต่อมาจะมีราดำเกิดขึ้นกับใบล่างของลำต้น เพราะเพลี้ยจะถ่ายมูลออกมาเป็ นอาหารของมด และ เป็นอาหารของเชื้อราดำ 
การป้องกันกำจัด 
การฉีดพ่นด้วยสารคาร์บาริลหรือราดที่เครื่องปลูก ถ้าระบาดมาก ๆ ใช้สารฆ่าแมลงพวกโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น 
 





คลิกเพื่อดูรายละเอียดที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.kasetonline.com/plant.asp

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 1

อ่าน 0 ครั้ง