[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ประวัติมติชน

                                                                ประวัติมติชน ประวัติความเป็นมาของ ''มติชนรายวัน''
  
     ''การประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์เพื่อให้เป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงนั้น ต้องกระทำด้วยสำนึกที่ว่า เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และของชาติ เป็นที่สุด''
   ...ขรรค์ชัย บุนปาน, พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร, สุจิตต์ วงศ์เทศ,.. คือผู้ร่วมคิดค้นร่วมต่อสู้ เพื่อให้เกิดหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ หนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน ตามความคิดเห็นข้างต้น
ก่อนหน้านั้น ''ประชาชาติรายสัปดาห์'' ออกสู่สายตามหาชน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2516 และต่อมาก็เกิด หนังสือพิมพ์รายวัน อีกฉบับหนึ่ง คือ ''ประชาชาติ'' เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2517
 การออกหนังสือพิมพ์ ประชาชาติรายวันครั้งแรกเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับบ่ายจำนวน 12 หน้า ราคา 2 บาท ต่อมา เมื่อมีความจำเป็นบาง ประการ จึงได้ลดราคาลงเป็น 1.50 บาทและพิมพ์ออกจำหน่ายในภาคเช้าในช่วงแรกดำเนินไปด้วยดี ได้รับการต้อนรับ จากผู้อ่าน ทุกระดับ เป็นที่กล่าวขวัญ จากบุคคลในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐบาลหรือเอกชน จำนวนจำหน่ายขยับสูงขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดก็เป็นที่แน่ใจว่า การจัดทำหนังสือในแนวทางนี้ถูกต้อง และมีประโยชน์แก่ ผู้อ่านทุกระดับ จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
 แต่เมื่อมาถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 บริษัท เดอะเนชั่น จำกัด โดยคณะกรรมการบริหาร ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อหนังสือพิมพ์ได้ประกาศหยุดกิจการหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ด้วยเหตุผลว่าขาดทุน คณะผู้บริหารงาน หนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวันเดิม จึงพร้อมใจกันนำผู้ร่วมงานมาเปิดกิจการใหม่ต่อเนื่องกัน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา โดยมีผู้บริหารงานประกอบด้วย ขรรค์ชัย บุนปาน, สุจิตต์ วงษ์เทศ, พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงาน ย้ายจากสถานที่เดิมเป็นอาคารพญาไท ถนนศรีอยุธยา และเปลี่ยนชื่อหนังสือพิมพ์เป็น ''รวมประชาชาติ'' ดำเนินงานโดยบริษัท ประชาชาติ จำกัด ด้วยการระดมทุน เริ่มแรกจาก ขรรค์ชัย บุนปาน, อากร ฮุนตระกูล, พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร, สุจิตต์ วงษ์เทศ และ กู้เงินจากธนาคาร
 ในช่วงระหว่างที่ หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ประชาชาติหรือรวมประชาชาติ ปรากฎสู่บรรณพิภพ ก็ได้สร้างความแปลกใหม่ขึ้นในวงการ หนังสือพิมพ์ ด้วยการให้ความสำคัญแก่บุคคลที่ตกเป็นข่าวอย่างเที่ยงธรรมเน้นให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยทั่วไป เข้าร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ก้าวไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม โดยยึดหลักความเท่าเทียมกัน ในสิทธิเสรีภาพ และการ อยู่ดีกินดีของประชาชน เน้นเอกราช และอธิปไตยของชาติ เป็นหลัก เสนอแนวทางการพัฒนาประเทศ ให้ก้าวขึ้นทันอารยประเทศทั้งหลาย ตลอดจนสนับสนุนการเลือกตั้งในทุกวิถีทาง เพื่อธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ขณะที่การดำเนินงานของหนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติรายวัน กำลังก้าวไปสู่ความเข้าใจของผู้อ่านขยายวงกว้างขึ้น สถานการภายในประเทศ ทางด้าน การเมืองเริ่มปั่นป่วน นับตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 และ รัฐบาลจตุรพรรค โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีเข้าบริหารประเทศ กลุ่มและขบวนการต่างๆ ที่ต่อต้านแนวทางประชาธิปไตย พยายามรักษาผลประโยชน์กลุ่มของตนเป็นที่ตั้ง ก่อให้เกิดการนองเลือดขึ้น เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จนเป็นเหตุให้คณะทหารโดยพลเรือเอกสงัดชลออยู่ เข้ายึดอำนาจปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และได้สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ทุกฉบับเพื่อหยุดยั้งการเสนอข่าวและภาพที่ปรากฎขึ้นในวันนั้นด้วยเหตุผลว่าเพื่อยุติ และขจัดความขัดแย้งรุนแรง อันจะเกิดขึ้นได้ชั่วคราว
หนังสือพิมพ์ที่ถูกปิด ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น13 ฉบับ ในจำนวนนี้หนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติ ก็เป็นหนึ่งในจำนวน นั้นที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่อนุญาตให้หนังสือพิมพ์ที่ถูกปิดได้ออกใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีคำสั่งห้ามในทางลับ มิให้คณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์รวมประชาชาติรายวัน ทำหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างเด็ดขาด
โดยที่ยึดงานหนังสือพิมพ์เป็นอาชีวปฏิญาณ คณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์รวมประชาชาติ ที่ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง จึงได้คิดออกหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ-ธุรกิจ รายสัปดาห์แทน ชื่อว่า''เข็มทิศธุรกิจ'' เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของหนังสือพิมพ์ธุรกิจ เศรษฐกิจ โดยเสนอ ข่าวธุรกิจทั้งด้านรัฐ และด้านเอกชน ตลอดจน ความเคลื่อนไหวการลงทุน และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งยังสรรหาบทความ ข้อคิดเห็นจากบุคคลภายนอกทาง ด้านเศรษฐศาสตร์มาเสนอเป็นแนวทางให้ผู้อ่านทราบทุกสัปดาห์ โดยมี 12 หน้า ด้วยกระดาษปอนด์ขาวอย่างดี ขายในราคา 5 บาท จนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในเวลาอันรวดเร็ว
 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2520 คณะผู้บริหารเห็นว่า สถานการณ์ทางการเมือง โดยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินนโยบายไร้เหตุผล คับแคบ และไม่มีสมรรถภาพ ผู้คนในชาติส่วนใหญ่ เริ่มทวี ความอึดอัดต่อ การปกครอง แบบเผด็จการ พลเรือนแบบเบ็ดเสร็จ ที่อ้างว่า จะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยให้ได้ภายใน 12 ปี คณะผู้บริหารจึงเร่งออกหนังสือพิมพ์ เข็มทิศ เป็นรายสามวัน เพื่อเสนอข่าวการเมืองอย่างใกล้ชิด ทั้งพยายามท้วงติง การกระทำบางอย่างอัน ไม่ถูกไม่ควร แม้ว่า ในช่วงระยะเวลาอันเลวร้าย ภายใต้การบริหารของรัฐบาล หนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะถูกคุกคามปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นรายใดพยายามทักท้วงรัฐบาล ก็จะถูกสั่งปิด จากคณะที่ปรึกษาเจ้าพนักงาน การพิมพ์ทันที แม้ว่า ข้อทักท้วงนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ บ้านเมือง เพียงไรก็ตาม
ต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 คณะปฏิวัติ โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ และพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้โค่นล้มรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียรด้วยการเข้ายึดอำนาจปกครองเสียเอง และ สั่งยกเลิก คณะที่ปรึกษา เจ้าพนักงานการพิมพ์ผ่อนคลายให้ผู้ประกอบ วิชาชีพหนังสือพิมพ์ได้ประกอบอาชีพ ตามอุดมการตนเอง ได้
กระนั้นก็ตาม หนังสือพิมพ์ 13 ฉบับที่ถูกปิด ก็ไม่ได้รับคำสั่งให้พิมพ์จำหน่ายอยู่ดี เมื่อเป็นเช่นนั้น คณะผู้บริหาร ซึ่งประกอบ วิชาชีพหนังสือ พิมพ์มาโดยตลอด หลังจากที่พยายามร้องเรียนขอความเป็นธรรม โดยการยื่นข้อเรียกร้อง ให้รัฐบาลพิจารณาอนุญาต ให้หนังสือพิมพ์ที่ถูกปิดลง ได้พิมพ์ออกจำหน่ายอีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ คณะผู้บริหารจึงมีมติว่าจะ ออกหนังสือพิมพ์ที่มีแนวทางคล้ายกับหนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติ ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อได้
ทางคณะบริหารจึงได้ผลิตหนังสือพิมพ์แนวเดียวกับ ''รวมประชาชาติ'' ในชื่อใหม่ว่า ''มติชน'' โดยถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2521 และจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2521 ด้วยทุนจดทะเบียน1 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อ ประกอบธุรกิจการพิมพ์ โดยเป็นผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ ในระยะเริ่มแรก จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันชื่อ มติชน เป็นหนังสือ พิมพ์รายวันทั่วไป ที่เสนอข่าวเน้นหนักไปทาง ข่าวการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยออกควบคู่ไปกับ หนังสือพิมพ์เข็มทิศธุรกิจ ราย 3 วันซึ่งภายหลังใช้ชื่อ ประชาชาติธุรกิจ แทน และได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นลำดับ จนเป็นหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจ เศรษฐกิจ ราย 3 วันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศในปัจจุบัน
24 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ได้ผลิต และ วางจำหน่าย หนังสืออีก 2 ฉบับ คือ ''มติชนสุดสัปดาห์'' รายสัปดาห์ และ นิตยสาร ''ศิลปวัฒนธรรม''รายเดือน
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จัดตั้ง บริษัท งานดี จำกัด ขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ของบริษัท และรับจำหน่ายหนังสือพิมพ์ ของสำนักพิมพ์อื่นๆ ด้วย
ปี พ.ศ. 2530 ย้ายสถานที่ทำการบริษัท จากหลังวัดราชบพิธฯ มาอยู่ที่หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 ถนนเทศบาลนฤมาล แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร อันที่เป็นที่ของบริษัท มาจนถึงปัจจุบัน
 ปี พ.ศ. 2531 ออกนิตยสาร ''เทคโนโลยีชาวบ้าน'' รายปักษ์
15 ธันวาคม พ.ศ. 2532 มติชน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และในปีนี้เอง ได้ออกหนังสือพิมพ์ ''สปอร์ตนิวส์'' รายวันเสนอข่าวกีฬา
ปี พ.ศ. 2533 ก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ 9 ชั้นพร้อมอาคารผลิต ขณะเดียวกันก็ได้จัดซื้อเครื่องพิมพ์ UNIMAN 4/2 จากบริษัท MAN ROLLAND ของเยอรมันตะวันตกจำนวน 8 ยูนิต มูลค่า 120 ล้านบาท เพื่อรองรับยอดจำหน่ายหนังสือทุกฉบับในเครือ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และสนองความต้องการลงโฆษณาสี่สี ของผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ
ปี พ.ศ. 2535 สั่งซื้อระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับเตรียมการพิมพ์ มูลค่าประมาณ40 ล้านบาท เพื่อใช้ในงาน กองบรรณาธิการ ของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับใน เครือ ขณะเดียวกันเพื่อความคล่องตัวมากขึ้นในด้านงานพิมพ์ บริษัทได้สั่งเครื่องป้อนกระดาษอัตโนมัติ จำนวน 2 ยูนิต และขยายแท่นพิมพ์ UNIMAN 4/2 ออกไป โดยจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องพิมพ์เพิ่มเติม
  2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จดทะเบียนแปรสภาพ เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ต่อกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ ทะเบียน บมจ. 219
ปี พ.ศ. 2538 สั่งซื้อแท่นพิมพ์ UNISET 1 เครื่องพร้อมอุปกรณ์เพิ่มเติมจากบริษัท MAN PLAMAG ประเทศเยอรมนี มูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท เครื่องพิมพ์ดังกล่าว มีกำลังการผลิตหนังสือพิมพ์รายวันถึง วันละ 400,000 ฉบับ ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยปลายปี 2538 และออกนิตยสารใหม่อีก 2 ฉบับคือ นิตยสาร ''อสังหาริมทรัพย์'' รายสัปดาห์ และ นิตยสาร ''เส้นทางเศรษฐี'' รายเดือน
 ปี พ.ศ. 2539 บริษัทได้เข้าซื้อกิจการ บริษัทข่าวสด จำกัด ซึ่งผลิตหนังสือพิมพ์ ''ข่าวสด'' รายวัน
 หลังจากนั้น การเพิ่มทุนจดทะเบียนเรื่อยมา จนล่าสุดบริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 245 ล้านบาท (มีนาคม 2539) และ เข้าถือหุ้นในบริษัทข่าวสด จำกัด ในสัดส่ว





http://mic.matichon.co.th/about/


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://mic.matichon.co.th/about/

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 1

อ่าน 0 ครั้ง