[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

เพื่อชีวิต น้ำสมุนไพรห่างไกลน้ำอัดลม

                     คงไม่มีใครปฏิเสธว่าน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างนิยมชมชอบ อันเนื่องมาจากรสชาดที่ถูกลิ้น สีสันที่ถูกตา รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดรวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่มีอย่างมากมาย ประชาชนพากันบริโภคโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่พวกเขารับประทานเข้าไป
                     จะมีสักกี่คนที่เล็งเห็นผลกระทบจากการบริโภคเจ้าน้ำซ่า ๆ อัดก๊าซใส่สีที่เรียกว่าน้ำอัดลมอย่างถ่องแท้
                     ในความเป็นจริงน้ำอัดลมนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่ใคร ๆ คิด เมื่อเราหันมองส่วนผสมของมันจะพบว่ามันประกอบไปด้วย น้ำ, น้ำตาล, อย่างที่หลาย ๆ คนทราบและยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาทิ กรดฟอสฟอริกที่ผสมลงไปเพื่อรักษารสชาดให้คงเดิมอยู่เสมอ และคาร์บอเนตที่เกิดมาจากกระบวนการผลิต
                     ในส่วนของกรดฟอสฟอริกหากรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้น
                     ปัจจุบันประเทศที่เจริญแล้วเริ่มเห็นปัญหาจากการบริโภคน้ำอัดลมเนื่องจากมีปัญหาโรคกระดูกพรุนมากขึ้น และภาวะการเป็นกรดที่สูงขึ้นของน้ำอัดลมยังทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
                     นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น ฟันผุ โรคอ้วน อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วย
                     จากปัญหาสุขภาพที่เกิดจากน้ำอัดลมนี้ ทำให้บางประเทศห้ามขายน้ำอัดลมในโรงเรียน เพราะเชื่อว่าอะไรที่ฝังไปในความเคยชินของเด็กแล้วจะติดเป็นนิสัยไปจนโต ซึ่งการติดน้ำอัดลมของเด็ก ๆ นี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น
                     หากเราย้อนกลับมามองเครื่องดื่มชนิดอื่นแล้ว จะพบว่ายังมีทางเลือกอื่นอีกมากมายที่สามารถทดแทนน้ำอัดลมได้ นอกจากรสชาดที่ดีแล้ว ยังส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย
                     หนึ่งในทางเลือกนั้นกำลังเป็นที่สนใจและได้รับความนิยม นั่นคือน้ำสมุนไพร มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำสมุนไพรได้
                     ยกตัวอย่างเช่น มะตูม ใบบัวบก ลูกยอ ว่านหางจระเข้ เป็นต้น ซึ่งน้ำสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกันไปตามสรรพคุณของสมุนไพรนั้น ๆ
                     แต่โดยรวมแล้วการดื่มน้ำสมุนไพรจะทำให้ร่างกายได้วิตามินและเกลือแร่บางชนิด เช่น วิตามินเอ, ซี, อี รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ อีกมากมายซึ่งสารต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะไม่ได้รับจากน้ำอัดลม
                     นอกจากนี้ น้ำสมุนไพรบางชนิดยังมีใยอาหารซึ่งช่วยในการขับถ่ายและขับสารพิษบางชนิดออกจากร่างกายได้ บางชนิดมีรงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่าคลอโรฟีล ซึ่งสามารถช่วยบำรุงเลือดได้ บางชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง น้ำสมุนไพรยังมีประโยชน์อื่นอีกมากมาย ทั้งยังสะดวกในการรับประทานเช่นเดียวกับน้ำอัดลม
                     หากมองในแง่เศรษฐกิจและสังคม การบริโภคน้ำสมุนไพรเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนที่ผลิตพืชสมุนไพรเป็นหลัก และยังเป็นการสนองต่อนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาลอีกด้วย
                      ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมีพืชพรรณมากมายที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นน้ำสมุนไพรได้ทั้งพืชพรรณที่เราคุ้นเคยและพืชพรรณที่อยู่ในป่า
                      ตัวอย่างเช่น ในหน้าหนาวร่างกายต้องการความอบอุ่นก็หยิบสมุนไพรในครัวที่มีรสเผ็ดร้อนเช่น ใบกระเพรา ต้นตะไคร้ แง่งขิง ใบมะกรูด แล้วแต่จะหาได้ ใส่ใบเตยลงไปเพื่อช่วยแต่งกลิ่นน้ำมาต้มเอาน้ำเติมน้ำตาลกรวดเล็กน้อย จะได้น้ำสมุนไพรรสซ่า ชื่นใจไม่แพ้น้ำอัดลมแต่ที่เหนือกว่าก็ตรงที่น้ำสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และประโยชน์ต่อร่างกายอื่น ๆ อีกมากมาย
                      หรือวันดีคืนดีไปตลาดเจอระกำ สมอ มะขามป้อม ก็จับมาต้มน้ำแต่งรสด้วยเกลือ น้ำตาล ตามใจชอบ จะได้น้ำสมุนไพรรสเปรี้ยวมีสรรพคุณช่วยละลายเสมหะ แก้ไอ ช่วยระบายอ่อน ๆ  กำจัดพิษออกจากร่างกาย
                      หรือหน้าร้อนก็หาใบบัวบก หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย แตงโม นำมาต้ม ๆ ปั่น ๆ เติมน้ำตาลกรวดเล็กน้อย เย็นชื่นใจ ช่วยคลายร้อน ปรับสมดุลของร่างกาย
                      ดังนั้น น้ำสมุนไพรคือสิ่งประดิษฐ์คิดค้นเพื่อสุขภาพที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเองและครอบครัวรวมทั้งแขกที่มาเยือนคือสิ่งที่ดี ๆ ที่ควรมอบให้กัน
                      อย่างไรก็ดีการเลือกดื่มน้ำสมุนไพรจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสม โดยดูจากสภาพของร่างกายของคนเราแต่ละคน แต่ละสภาวะอากาศรอบ ๆ เช่น เมื่อเกิดอาการร้อนใน







โดย:
งาน: งานบริหารแผนกบริการ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 17 – 23 มกราคม 2546

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง