[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

อัญมณีของไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก

                                                             
                                                      อัญมณีของไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งในอดีตและปัจจุบันคืออะไร  

                     ความรู้ ความเชื่อถือ และการใช้อัญมณีของคนไทยในสมัยโบราณ เริ่มมีมาแต่สมัยใดยังไม่มีหลักฐานกำหนดแน่ชัด เราอาจ ทราบเรื่องอัญมณีของไทยในอดีตได้จากวรรณคดีไทย บางเรื่อง บางตอน เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คนไ ทยเริ ่มรู้จักและใช้อัญมณีไม่กี่ชนิด มีการจัดแบ่งอัญมณีออกเป็น ๙ ชนิด เรียกว่า นพรัตน์ หรือนวรัตน์ หรือแก้วเก้าประการ เป็นต้น ในตำรานพ รัตน์มีคำกลอนที่มีอิทธิพล ทำให้คนไทยไม่น้อยรู้จักสนใจและนิยมนับถืออัญมณีว่าเป็นสิริมงคล มีการจัดแบ่งเป ็น ลักษณะ สี ชนิด ลำดับชั้นคุณภาพแตกต่างกันไป คำกลอนนั้นคือ ๑. เพชร (น้ำ) ดี  หมายถึง เพชร - Diamond  
๒. มณีแดง  หมายถึง ทับทิม - Ruby 
๓. เขียวใสแสง มรกต  หมายถึง มรกต - Emerald 
๔. เหลืองใสสด บุษราคัม*  หมายถึง บุษราคัม - Yellow - Sapphire or Topaz* 
๕. แดงแก่ก่ำ โกเมนเอก  หมายถึง โกเมน - Garnet 
๖. ศรีหมอกเมฆ นิลกาฬ  หมายถึง ไพลิน - Blue Sapphire 
๗. มุกดาหาร หมอกมัว  หมายถึง ไข่มุก - Pearl or Moonstone 
๘. แดงสลัว เพทาย  หมายถึง เพทาย - Zircon 
๙. สังวาลสาย ไพฑูรย์  หมายถึง ไพฑูรย์ - Chrysobery Cat's eye 
              * ในสมัยโบราณ คำว่า บุษราคัม จะหมายถึง โทแพซ แต่เมื่อเราพบว่าพลอยสีเหลืองของจันทบุรี ซึ่งเป็นแซปไฟร์สีเหลือง (Yellow Sapphire) มีคุณภาพเหนือกว่า เราจึงใช้ Yellow Sapphire แทน 
                 อัญมณีทั้ง ๙ ชนิดนี้ ประเทศไทยมีเกือบครบ ยกเว้น มรกตและไพฑูรย์ ซึ่งยังไม่พบ ชนิดที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ ทับทิมสยาม รองลงมาคือ ไพลินหรือนิลกาฬนั่นเอง เรื่องของอัญมณีโดยเฉพาะแก้วเก้าประการ คนไทยโดยทั่วไปนิยมเลื่อม ใสนับถือเป็นของมีค่าสูงและเป็นสิริมงคล นำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านศาสนา และในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำเป็นพระพุทธ รูปต่าง ๆ ตลอดจนใช้ประดับเครื่องทรงและที่ประทับ ใช้เป็นเครื่องประดับแสดงถึงตำแหน่งและเกียรติยศ เครื่องราชูปโภคในพระราชพิธีสำคัญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ของที่เป็นบำเหน็จรางวัล เครื่องประดับต่าง ๆ ของพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง ประชาชนโดยทั่วไปทุกระดับชั้นก็สามารถหามาใช้ได้ตามกำลังฐานะ นอกจากเพื่อความสวยงาม และความเป็นสิริมงคลต่าง ๆ แล้ ว ก็ยังใช้เป็นหลักทรัพย์ที่ถือเป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล เป็นของกำนัลตอบแทนผู้มีน้ำใจช่วยเหลือยามที่เคยตกทุกข์ได้ยากเป็นของสำหรับหมั้นหมาย เป็นต้น  

                                                                                             หินเขี้ยวหนุมานคืออะไร  

                        นอกจากนพรัตน์หรือแก้วเก้าประการแล้วยังมีอัญมณีอื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่คนไทยนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องประดับเป็นข องสวยงามและมีความหมายทางโหราศาสตร์เช่นเดียวกัน เช่น แก้วโป่งข่าม โมรา โมกุล ฯลฯ สำหรับแก้วโป่งข่ามเป็นแร่ควอตซ์ชนิดหนึ่งหรือที่ เรียกว่าหินเขี้ยวหนุมาน มีความโปร่งใสโปร่งตา และมักมีมลทินแร่บางชนิดอยู่ภายในเนื้อ ทำให้เกิดมีรูปร่าง สีสัน ลวดลายแปลกประหลาดต่าง ๆ สวยงาม มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ขนเหล็ก เข็มเหล็ก เข็มทอง ไหมทอง สายรุ้ง ฯลฯ แหหล่งกำเนิดสำคัญอ ยู่ที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปางและอำเภอสา จังหวัดน่าน เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมเลื่อมใส รู้จักกันมากในหมู่คนไทยทั่วทั้ งประเทศ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีเหตุการณ์ตื่นแก้วโป่งข่ามซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการอัญมณีไทยเลยก็ว่ าได้ 
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีชื่อเสียงมานานมากในเรื่องของอัญมณี โดยเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่มีอัญมณีหลาย ชนิด เช่น ทับทิม ไพลิน บุษราคัม เขียวส่อง เพทาย โกเมน ไข่มุก เป็นต้น อุตสาหกรรมและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ได้ รับการยกย่องและยอมรับทั้งในด้านคุณภาพและราคาจากนานาประเทศทั่วโลก สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ นับเป็นสินค้าส่งออกหมวดหนึ่งของไทยที่ได้สั่งสมบทบาทในการเป็นสินค้าที่สำคัญ ทำรายได้สูงให้แก่ประเทศโดยติดอันดับต้น ๆ ๑ ใน ๕ ของสิน ค้าส่งออกประเทศต่าง ๆ ขอ งประเทศและยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี นับเป็นสินค้าที่มีอนาคตที่สดใสมาก มีการผลิตและการทำเหมืองแ ร่อัญมณีในหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ค่าแรงงานถูก ช่างฝีมือมีคุณภาพ มีทักษะ มีความรู้ความชำนาญในการเจียระไน การออก แบบ และประดิษฐ์งานประณีตศิลป์นานาชนิด ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อุตสาหกรรมการผลิต การค้า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ จึงขยายต ัวอย่างรวดเร็วมากในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากตัวเลขของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ที่แสดงถึงสถิติของมูลค ่ารวมของการส่งออกสินค้าประเภทนี้ ที่มีค่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี  

                                                                อัญมณี รัตนชาติ เพชรพลอย มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  
                         
                               อัญมณีและคุณสมบัติเฉพาะ 
               อัญมณีอาจจะเรียกว่า รัตนชาติ หรือ เพชรพลอย ก็ได้ ปัจจุบันทั้งสามคำนี้ใช้สื่อความหมายเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยตรงที่ อัญมณีและรัตนชาติ มักจะใช้เรียกเป็นทางการ ส่วนเพชรพลอยเป็นคำเรียกทั่วไป สำหรับความแตกต่างของคำว่า อัญมณี และ รัตนชาติ คือ รัตนชาติจะหมายถึงแร่หรือหินมีค่าหรือกึ่งมีค่า ซึ่งเมื่อผ่านการตกแต่ง เช่น ขัดมัน เจียระไน หรือแกะสลักแล้ว จะมีคุณสมบัติเป็นอัญมณีเครื่องประดับ หรือ เครื่องเพชรพลอย (Jewelry) ได้ อัญมณีมักจะหมายถึงรัตนชาติที่ผ่านการตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ค ำว่า อัญมณี รัตนชาติ และเพชรพลอย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Gemstones และ Gems ดังนั้น ความหมายโดยรวมแล้ว อัญมณี หรือ รัตนชาติคือ วัตถุธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ชนิดต่าง ๆ หรือเป็นสารอินทรีย์บางชนิด เช่น ไข่มุก อำพัน ฯลฯ หรือเป็นหินบางชนิด เช่น ลาพิส - ลาซูลี โอนิกซ์มาร์เบิล ฯลฯ วัตถุเหล่านี้สามารนำมาตกแต่ง ขัดมัน เจียระไน แกะสลัก ใช้เป็นเครื่อ งประดับได้ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ความสวยงาม ความคงทนถาวร และความหายาก  

                                                                 อัญมณีมีส่วนประกอบทางเคมีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 

                   คุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties) อัญมณีทุกชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีเฉพาะตัว สามารถแสดงโดยสูตรเคมีซึ่งใช้เป็นหลักเกณฑ์อันดับแรก ที่ใช้ในการจัดแบ่งเป็นประเภท (specie) ของอัญมณีนั้น ๆ สำหรับอัญมณีซึ่งเป็นแร่ประเภทหหรือพวกเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของสี ความโปร่งใสหรือรูปร ่างลักษณะภายนอกบางอย่างนั้น ก็จะใช้สีความโปร่งใส และลักษณะภายนอกเหล่านั้นในการจัดแบ่งเป็นชนิด (Variety) ของอัญมณี กลุ่มแร่ ที่มีการเกิดเหมือนกัน ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกัน มีลักษณะโครงสร้างทางผลึก คุณสมบัติทางกายภาพและทางแสงไม่ต่างกัน แต่มีอง ค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จะเรียกว่า กลุ่มแร่หรือตระกูลแร่ (group) อัญมณีส่วนใหญ่จะประกอบขึ้นด้วยธาตุตั้งแต่ ๒ ชนิ ด หรือมากกว่าขึ้นไป ยกเว้นเพชร ซึ่งประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น องค์ประกอบทางเคมีของอัญมณีบาง ชนิด เช่น ไพลิน ทับทิม บุษราคัม มีสูตรเคมีคือ A12O3 (A1 = อะลูมิเนียม , O = ออกซิเจน) หมายความว่า ไพลิน ทับทิม และบุษราคัม จัดเป็นแร่ชนิดเดียวกัน แต่มีความ แตกต่างกันในเรื่องของสี คือ ไพลินสีน้ำเงิน ทับทิมมีสีแดง และบุษราคัมมีสีเห ลือง ทำให้เรียกชื่อเป็นชนิดอัญมณีต่างชนิดกัน  





คลิกที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK20/chapter7/t20-7-l1.htm#sect1

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 2

อ่าน 0 ครั้ง