[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

วิธีกำจัดขยะอวกาศ

                                                                                                  วิธีกำจัดขยะอวกาศ 
                   ถึงแม้ว่าบรรยากาศเหนือโลกเราจะกว้างใหญ่ไร้ขอบเขตสักปานใดก็ตาม แต่ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์วิทยาหลายคนก็กำลังปริวิตกเกี่ยวกับปริมาณขยะในอวกาศ ซึ่งกำลังมีปริมาณมากขึ้น ๆ ทุกวัน
                  หากเราย้อนเวลาสู่อดีตเมื่อ 40 ปีก่อน ซึ่งเป็นเวลาที่โลกเริ่มรู้จักการปล่อยดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นักเทคโนโลยีและนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้นไม่เคยคิดที่จะนำดาวเทียม ที่หมดสภาพใช้งานแล้วกลับมาซ่อมเพื่อใช้ซ้ำอีก
                  จนในที่สุดเราก็พบว่า ขณะนี้เรามีดาวเทียมที่กำลังทำงานอยู่ประมาณ 500 ดวงและมีดาวเทียมที่หมดสภาพทำงานแล้วประมาณ 2,000 ดวง หากเรานับชิ้นส่วนที่เกิดจากการระเบิดของจรวดส่งดาวเทียม และถังเชื้อเพลิงของจรวดที่ใช้งานแล้ว เราก็เห็นได้ว่า ขยะอวกาศมีจำนวนเป็นแสนชิ้นทีเดียว
                  ขยะเหล่านี้มีขนาดและความเร็วต่าง ๆ กัน เศษขยะที่มีขนาดเล็กพริกขึ้หนูหากมีความเร็วสูง จะมีพลังทำลายสูง เศษโลหะขนาด 0.1 มิลลิเมตร หากมีคามเร็ว 5 เมตร/วินาที สามารถทะลวงชุดอวกาศของมนุษย์อวกาศให้พรุนเป็นรูได้ ขยะขนาดใหญ่ 0.5 มิลลิเมตร สามารถชนกระจกหน้าต่างของกระสวยอวกาศให้แตกละเอียดได้ และหากขยะมีขนาด ''มโหฬาร'' ถึง 5 มิลลิเมตร ผนังห้องบังคับการของยานอวกาศก็มีสิทธิ์ไปและนั่นก็หมายความว่า มนุษย์อวกาศไม่กลับโลก แต่จะไปสวรรค์เลย
                  ตัวเลขจำนวนดาวเทียมและยานอวกาศทั้งที่ใช้งานแล้ว และกำลับใช้งานอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผลงานของหน่วยงานรัฐบาล แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เอกชนกำลังวางแผนจะส่งดาวเทียมสื่อสารของตนขึ้นไปอีกหลายดวง นั่นหมายความว่า ในอีก 10 ปี เราจะมี ''ขยะ'' มากขึ้นอีก 3 เท่าของปัจจุบัน
                  ด้วยพลังของเหตุและผลดังกล่าวนี้ จึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการประชุมของนักวิทยาศาสตร์ประมาณ 200 คน ที ่Darrmstadt ในประเทศเยอรมนี เพื่อหาวิธีกำจัดขยะอวกาศ
                 ที่ประชุมได้พิจารณาแบ่งดาวเทียมออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกเป็นพวกที่มีวิถีโคจรต่ำ คือที่ระดับสูง 200-2,000 กิโลเมตรเหนือโลก และพวกที่โคจรสูงคือระดับ 36,000 กิโลเมตร
                 ถึงแม้ดาวเทียมทั้งสองประเภทจะมีเพดานโคจรสูงแตกต่างกัน แต่ก็มีโอกาสชนกันได้ เพราะเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 จรวด Ariane 4 ได้ระเบิด ชิ้นส่วนของจรวดได้พุ่งเข้าชนดาวเทียม Cerise ของฝรั่งเศส ทำให้วิถีโคจรของ Cerise ต้องเปลี่ยนไป
                ในการทำลายขยะนั้นที่ประชุมได้พิจารณาที่จะยิงเลเซอร์จากพื้นดินไปเผาขยะในอวกาศ แต่โครงการนี้ต้องใช้งบประมาณ 2,600-4,500 ล้านบาท เพื่อกำจัดขยะที่มีวงจรโคจรต่ำ และ 7,000 ล้านบาทสำหรับขยะที่ลอยสูง เมื่อโลกวิทยาการปัจจุบันยังไม่มีเลเซอร์พลังสูงเช่นนี้ใช้เลย ความคิดนี้เห็นจะต้องพักรอ เพราะนอกจากจะมีโอกาสสำเร็จน้อยแล้วยังแพงอีกต่างหาก และปัญหาใหญ่คือมีประเทศใดบ้างที่เต็มใจจะลงขันในโครงการกำจัดขยะอวกาศนี้ และควรจะบอกให้เจ้าของขยะอนุมัติก่อนที่จะทำลายหรือไม่ แล้วสำหรับขยะแต่ละชิ้น ๆ ใครจะบอกได้อย่างไรว่าเป็นฝีมือของใครทำ และที่สำคัญก็คือเวลาขยะชนกันในอวกาศที่ไม่มีกฎจราจร ขยะใครชนขยะใครกันแน่ ในกรณีของจรวด Ariane กับดาวเทียม Cerise นั้น คู่กรณีเป็นของฝรั่งเศส แต่หากเป็นกรณีระหว่างชาติหนึ่งกับอีกชาติหนึ่ง เรื่องนี้ถึงศาลโลกแน่ ๆ
                จะอย่างไรก็ตาม ที่ประชุมก็มีความเห็นว่า ปัญหาขยะอวกาศยังไม่ถึงระดับวิกฤติ ที่ประชุมได้เสนอให้ประเทศต่าง ๆ ที่มีความสามารถด้านอวกาศ ให้ออกแบบดาวเทียมโดยมีเชื้อเพลิงบรรจุภายใน สำหรับเวลาดาวเทียมหมดสภาพใช้งาน มันจะใช้เชื้อเพลิงนั้นบังคับตัวมันให้พุ่งเสียดสีกับบรรยากาศรอบโลกจนลุกไหม้เป็นจุณหมด
                 หากทุกชาติร่วมมือกันจริงและคิดหาวิธีที่ดีในการกำจัดขยะก่อนที่จะสร้างขยะ ชาตินี้เราก็คงไม่มีวันที่จะมีการประชุมเรื่องปัญหามลภาวะในอวกาศนอกโลกเลย





คลิกที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.school.net.th/library/snet6/envi3/who/kya1.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง