[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ผ้าบาติก ราชินีแห่งศิลปะบนผืนผ้า

                                                                                     บาติก ราชินีแห่งศิลปะบนผืนผ้า   
หนังสืออ้างอิง : สารวัฒนธรรม Suara bundaya ปีที่ 1 ฉบับที่ 04 สิงหาคม - กันยายน 2541 

       ผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติกเป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แหล่งกำเนิดของผ้าปาเต๊ะมาจากไหนยังไม่เป็นข้อยุตินักกวิชาการจากยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียมาก่อนแล้วจึงแพร่เข้าไปในอิโดนีเซีย อีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซียแม้ว่าจะมีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศ อื่นๆ ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่น       แต่หลายคนก็ยังเชื่อว่าผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของชาวชวา และยังยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำเป็นศัพท์ ภาษาอิโดนีเซีย จากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ ชาวดัชท์ ก็ได้สรุปว่าการทำโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดังเดิมของชาวเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนทีจะติดต่อค้าขายกับอินเดีย คนไทยรู้จักผ้าปาเต๊ะในชื่อว่า ''ผ้าบาติก'' คนรุ่นเก่าเรียกผ้าปาเต๊ะที่ไม่ได้ผลิต ในประเทศไทยว่า ''ผ้ายาวอ (JAVA) '' หมายถึงผ้าของชาวชวา   การเขียนลายบาติกด้วยมือ ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการในการเขียน  และเรียกชื่อตามลักษณะ ของผ้าเช่น 
        จาวอตูเลส (JAVA TULIS ) : ใช้เรียกผ้าปาเต๊ะที่ใช้เทคนิคการเขียนเทียน ด้วยจันติ้ง (เครืองมือที่ใช้เขียนขี้ผึ้งด้วยมือ) ตลอดทั้งผืน
        จาวอตูเก (ผ้าชวากระบอกไม้ไผ่ ) : ผ้าคุณภาพชั้นดี เนื้อดี เบาบาง และสามารถม้วนเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งกำมือเท่านั้น
        จาวอบือเละ : หมายถึงผ้าพันชวา คือผ้าที่มีความยาวประมาณ 3.5 - 4 หลา เป็นลักษณะของผ้าที่ไม่เย็บตะเข็บผ้าให้ติด กัน แต่จะใช้วิธีนุ่งแบบ พันรอบตัว
        จาวอ ซือแปะ : ผ้าชวาตราดอกจิกเป็นผ้าถุงคุณภาพดี มีตราดอกจิกเป็นเครื่องหมายการค้า และเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้ที่มี ฐานะดี 

         ปัจจุบันผ้า ปาเต๊ะ หรือ บาติก ได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมอย่างมาก สามารถดัดแปลเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้หลายรูปแบบ เช่น ผ้าเช็ดหน้า , ผ้าผันคอ , ผ้าคลุมผม , เสื้อ และอื่นๆ และมีเทคนิคในการผลิตหลายแบบ เช่น เทคนิคการเขียนด้วยมือ ( Batik Tulis ) จัดเป็นผ้าบาติกชั้นสูง จะใช้เขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ ่เรียกว่า ''จันติ้ง'' (Canting ) มีลักษณะ คล้ายปากาลูกลื่น ตรงปลายเป็นกรวยเพื่อให้น้ำเทียนไหลออกการเขียนเทียนต้องเขียนทั่วทั้งผืนขณะที่น้ำเทียนกำลังร้อนๆ ไหลติดซึมลงไปในเนื้อผ้า ส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้เขียนเทียน ก็คือพื้นที่ที่จะใช้สีลงตามแบบที่ต้องการ แล้วจึงนำผ้าไปต้มเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายออก ผ้าปาเต๊ะลายพิมพ์ (Mem Batik Cap) จะใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ ,ทองแดง ,หรือโลหะ โดยการใช้แม่พิมพ์จุ่มเทียนที่กำลังร้อนพอเหมา พิมพ์ลวดลายบนผ้า จากนั้นจึงแต้มสี หรือนำไปย้อมต่อไป 

       การพิมพ์ลายด้วยเครื่องช่วยช่วยผ่อนแรง  และสามารถผลิตในจำนวนที่มากๆ
 

''จันติ้ง'' อุปกรณ์ใช้สำหรับเขียนลาย

โดยใส่ขี้ผึ้งเหลวไว้ภายใน
 
 





คลิกที่นี่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.geocities.com/anokpatani/batik.html

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง