|
|
ดาวพฤหัส
ดาวพฤหัส (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ชั้นนอก อยู่ลำดับที่ 5 ของระบบสุริยะจักรวาล และมีขนาดใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาล มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ราว 5.2 เท่าของโลก (5.2 AU: Astonomical Unit) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ใหญ่กว่าโลกราว 11.2 เท่า พื้นผิวของดาวพฤหัส ถูกปกคลุมด้วยชั้นบรรยากาศที่หนา ราวกับว่า ดาวพฤหัส เป็นก้อนก๊าซขนาดใหญ่ และเห็นเป็นแถบขวาง ตามแนวศูนย์สูตร บางครั้ง ก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศ จะก่อตัวเป็นพายุ มีการหมุนตัวของลม ด้วยความเร็วสูง อาจถึง 400 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 644 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เลยทีเดียว ทำให้มองเห็นเป็นวงๆ และอาจนานถึง 300 ปีทีเดียวชื่อดาว: จูปีเตอร์ (Jupiter) หรือที่ทราบกันดี อีกชื่อหนึ่งว่า Jove (โจฟว.) เป็นชื่อของเทพเจ้าโรมัน เช่นเดียวกันกับเทพเจ้า Zeus ประมุขแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย และเป็นเจ้าแห่งฝนฟ้าอากาศ ของเทพนิยายกรีกโบราณ ... อ่านนิทานดาวพฤหัส คลิ๊กที่นี่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง: ดาวพฤหัส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 142,800 กิโลเมตร หรือ 88,736 ไมล์ ซึ่งใหญ่กว่าโลกราว 11.2 เท่า ส่วนปริมาตรนั้น สามารถจุโลกได้ถึง 1,000 ดวงเลยทีเดียว! มวล: ดาวพฤหัสมีมวลประมาณ 1.89 x 10 27 กิโลกรัม หรือ ราว 318 เท่าของมวลโลก ความโน้มถ่วง: ดาวพฤหัส มีความโน้มถ่วงที่พื้นผิวราว 236% ของผิวโลก (2.36 เท่า) ดังนั้น สมมุติว่าท่านมีน้ำหนัก 68 กิโลกรัมบนโลก จะมีน้ำหนักถึงประมาณ 160 กิโลกรัม บนพื้นผิวดาวพฤหัส ระยะห่างจากดวงอาทิตย์: ดาวพฤหัส ห่างจากดวงอาทิตย์ เฉลี่ยประมาณ 778 ล้านกิโลเมตร หรือ 480 ล้านไมล์ คิดเป็นระยะประมาณ 5.2 เท่าของระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ถึงโลก (AU: Astromonical Unit) โดยที่ดาวพฤหัส โคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระยะห่างระหว่าง 740 - 816 ล้านกิโลเมตร จากดวงอาทิตย์ ระยะเวลาที่โคจรรอบดวงอาทิตย์: 11.9 ปี (ปีบนโลก) ระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง: 9 ชั่วโมง 50 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง ที่แนวเส้นศูนย์สูตร (The Equator) ส่วนที่ขั้วชองดาว จะช้ากว่าประมาณ 5 นาที เนื่องจากดาวพฤหัส ถูกปกคลุมด้วยก๊าซหนา ไม่ใช่เป็นพื้นผิวแข็ง แบบโลกของเรา อุณหภูมิ: ดาวพฤหัส มีอุณหภูมิเฉลี่ย -110 องศาเซลเซียส (หรือ -166 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์) ดาวบริวาร: ดาวพฤหัส มีดาวบริวารเล็กๆ ไม่ต่ำกว่า 16 ดวง โดย 4 ดวงแรก ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2153 (ค.ศ. 1610) จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ''Galilean Satellites'' ซึ่งมี Io, Europa, Ganymede และ Callisto โดยที่ Ganymede เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ ที่ใหญ่ที่สุด ทั้งของดาวพฤหัส และดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาล จำนวนชั้นวงแหวน: ดาวพฤหัส มีวงแหวน 4 วง บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ''Jovian Ring'' ถูกค้นพบโดยยานสำรวจ Voyager 1 เมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ส่วนภาพทางซ้ายที่เห็น เป็นภาพวงแหวนที่ถ่าย โดยยาน Voyager 2 ซึ่งวงแหวนของดาวพฤหัส มีความกว้างราว 6,500 กิโลเมตร (หรือราว 4,000 ไมล์) ในขณะที่มีความหนาน้อยกว่า 10 กิโลเมตร ชั้นบรรยากาศ: ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัส ประกอบด้วย ไฮโดรเจนประมาณ 90% เป็นฮีเลียมประมาณ 10% ส่วนที่เหลือ คือมีเทน, น้ำ และแอมโมเนีย รวมถึงก๊าซอื่นๆ บางครั้ง ก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศ จะก่อตัวเป็นพายุ มีการหมุนตัวของลม ด้วยความเร็วสูง อาจถึง 400 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 644 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เลยทีเดียว ทำให้มองเห็นเป็นวงๆ และอาจนานถึง 300 ปีทีเดียว |
คลิกที่นี่ |
โดย: งาน: งานห้องสมุด อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: http://skywatcher.hypermart.net/Planets/Jupiter/Jupiter.htm |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |