|
|
ดาวอังคาร ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ชั้นใน เช่นเดียวกับโลกของเรา เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 ของระบบสุริยะจักรวาล มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ราว 1.5 เท่าของโลก (1.5 AU: Astonomical Unit) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ราวครึ่งของโลก พื้นผิวส่วนใหญ่ ประกอบด้วยหิน และผงโลหะจำพวกเหล็ก จึงทำให้ดูเห็นจากโลกเป็นสีแดง ในขณะที่ขั้วโลก ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง และน้ำแข็งปกคลุม ครั้งหนึ่ง เคยเชื่อว่า ดาวอังคารเป็นดาวฝาแฝดของโลก และอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ จึงมีเรื่องราว หรือนิยายมากมาย ที่กล่าวถึงดาวอังคารดวงนี้ ในชื่อของ ดาวเคราะห์แดง (The Red Planet) ชื่อดาว: ดาวอังคาร (Mars) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งสงคราม ของชาวโรมัน ส่วนชาวกรีกเรียกว่า ''Ares'' ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ดาวอังคารมีสีแดง ชื่อของดาว จึงเกี่ยวข้องกับสงคราม และความตาย ชาวบาบิโลเนียนโบราณ เรียกว่า ''Nergal'' หมายถึง เทพเจ้าแห่งความตาย ส่วนชาวฮินดู เรียกเทพเจ้าแห่งสงคราม Karttikeya ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง: ดาวอังคาร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 6794 กิโลเมตร หรือ 4222 ไมล์ ซึ่งใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของโลก เล็กน้อย มวล: ดาวอังคารมีมวลประมาณ 6.42 x 10 23 กิโลกรัม หรือ ราว 1/9 ของมวลโลก ความโน้มถ่วง: ดาวอังคาร มีความโน้มถ่วงที่พื้นผิวราว 38% ของผิวโลก ดังนั้น สมมุติว่าท่านมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัมบนโลก จะมีน้ำหนักเหลือประมาณ 22.8 กิโลกรัม บนพื้นผิวดาวอังคาร ระยะห่างจากดวงอาทิตย์: ดาวอังคาร ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 227,940,000 กิโลเมตร หรือ 141,600,000 ไมล์ คิดเป็นระยะประมาณ 1.5 เท่าของระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ถึงโลก (AU: Astromonical Unit) โดยที่ดาวอังคาร โคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระยะห่างระหว่าง 206.6 - 249.2 ล้านกิโลเมตร จากดวงอาทิตย์ ระยะเวลาที่โคจรรอบดวงอาทิตย์: 687 วัน (วันบนโลก) ระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง: 24.6 ชั่วโมง อุณหภูมิ: ดาวอังคาร มีอุณหภูมิเฉลี่ย -65 องศาเซลเซียส (หรือ -85 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์) ขณะที่อุณหภูมิจริง อยู่ระหว่าง -140 ถึง +20 องศาเซลเซียส (หรือ -220 ถึง +70 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์) ดาวบริวาร: ดาวอังคาร มีดาวบริวารเล็กๆ 2 ดวง คือ Phobos (ออกสียงว่า {FOH-bohs} หมายถึง ความกลัว (fear)) และ Deimos (ออกสียงว่า {DEE-mos} หมายถึง น่ากลัว (panic)) โดยความหมายของชื่อดาวบริวารทั้งสอง จะสอดคล้องกับชื่อของดาวอังคารจำนวน ชั้นวงแหวน: ดาวอังคาร ไม่มีวงแหวน ชั้นบรรยากาศ: ดาวอังคาร มีความหนาของชั้นบรรยากาศราว 0.7% ของโลกเท่านั้น แต่ก็เพียงพอที่จะเกิดลม หรือพายุฝุ่นได้ โดยชั้นบรรยากาศประกอบด้วย พื้นผิว: พื้นผิวดาวอังคารประกอบด้วยหิน ที่ประกอบด้วยโลหะ จำพวกเหล็กเป็นส่วนมาก และผงโลหะจำพวกเหล็ก จึงทำให้ดูเห็นจากโลกเป็นสีแดง ในขณะที่ขั้วโลก ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง และน้ำแข็งปกคลุม เมื่อเปรียบเทียบกับโลก: ดาวอังคาร ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่า เป็นดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดาวอังคารจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าโลกมาก และแห้งแล้ง นอกจากนี้ ชั้นบรรยากาศที่เบาบาง ไม่สามารถป้องกันรังสีอันตราย ที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ได้ มีหลักฐานที่พอเชื่อได้ว่า ครั้งหนึ่ง ดาวอังคารมีลำธารของน้ำมาก่อน จากร่องของ Torrential Water Flows |
คลิกที่นี่ |
โดย: งาน: งานห้องสมุด อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: http://skywatcher.hypermart.net/Planets/Mars/Mars.htm |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |