[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ศาสนาเปรียบเทียบ

ทุกศาสนาคือหนทางสู่สันติ ทุกศาสดาพร่ำสอนให้ประพฤติดี ทำดี ไม่เบียดเบียนกัน
 
              1. ศาสนาพุทธ
                  ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ก่อตั้งขึ้นในประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ 2500 ปีเศษ แล้วแผ่ขยายลงไปทางเอเซียเหนือ ตะวันออกไกล เอเซียอาคเนย์ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาแห่งเอเซีย
                  ศาสนาพุทธ มีการทำพิธีกรรมในวันสำคัญ ทางศาสนาและโอกาสพิเศษ เช่นวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันออกพรรษา เป็นต้น พระสงฆ์เป็นผู้นำในการทำพิธี สวดมนต์ อบรมศีลธรรม ศึกษาและปฎิบัติธรรม
                  พระอุโบสถ เป็นสถานที่สำคัญสูงสุด ที่ชาวพุทธใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และประกอบพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา เช่นกราบรรพชาอุปสมบท การฟังพระปาฎิโมกข์ การสวดมนต์ทำวัตร
   
              2. ศาสนาคริสต์
                  ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม มีพระเยซูเป็นศาสดา ก่อตั้งขึ้นในประเทศอิสราเอล เมื่อ พ.ศ. 543 เป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศทางตะวันตก นับถือศาสนาคริสต์
                  บาทหลวง ทำหน้าที่เป็นผู้นำชาวคริสต์ ในการประกอบพิธีกรรม การสวดมนต์ การรักษาศีล การอบรมสั่งสอนศีลธรรม ตามหลักคริสตธรรม ในพระคัมภีร์ไบเบิล เพื่อความสันติสุข และภราดรภาพในสังคม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ที่บริหารด้านการศึกษา พัฒนาอาชีพ และการรักษาพยาบาลอีกด้วย
                  โบสถ์ เป็นสถานที่สำหรับสวดมนต์อ้อนวอนขอพร และสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า และใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีมิสซา คริสตศาสนิกชนจะต้องไปเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์ เพื่อสวดมนต์ฟังธรรม สารภาพบาป และขอพรจากพระเจ้า
 
              3. ศาสนาอิสลาม
                  ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม มีท่านนบีมูฮำหมัดเป็นศาสดา การประกอบพิธีฮัจย์   เป็นศาสนพิธีที่สำคัญยิ่งของชาวมุสลิม ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนที่ 12 แห่งปีอิสลาม ชางมุสลิมทั่วโลกจะไปชุมนุมกันที่นครเมกกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
                  การนมัสการ วันศุกร์เป็นศาสนกิจที่ต้องกระทำในทุกวันศุกร์ เพื่อให้ชาวมุสลิมได้มาประชุมโดยพร้อมเพียงกัน เพื่อนมัสการพระผู้เป็นเจ้าร่วมกันรับการอบรมศีลธรรม รับคำสั่งสอนจากผู้มีความรู้ ชาวมุสลิมนิยมนุ่งโสร่งและสวมหมวกผ้า เป็นเอกลักษณ์
                  มัสยิด หรือสุเหร่า เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การนมัสการพระเจ้า อบรมศีลธรรมจริยธรรม นอกจากนี้ยังใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น รับประสูติท่านศาสดา การนมัสการในวันศุกร์ พิธีการสมรส เป็นต้น
 
               4. ศาสนาซิกข์
                   ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม มีท่านคุรุนานักเทพ เป็นศาสดาองค์ที่ 1 สืบต่อมา ถึงท่านคุรุโควินทสิงห์ เป็นศาสดาองค์ที่ 10 มีสุวรรณวิหารตั้งอยู่ที่เมือง อัมริสสา แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย เป็นศูนย์ชาวซิกข์ทั่วโลก
                   พระคัมภีร์ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเคารพสูงสุด จัดวางในที่สูงบนแท่นบูชา จะต้องมีผู้ปรนนิบัติพระคัมภีร์อยู่เสมอ คือการศึกษาและปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ชาวซิกข์ทุกคนจะต้องถอดรองเท้า และโพกศีรษะ ก่อนเข้าไปในโบสถ์จะต้องเข้าไปกราบพระคัมภีร์ ด้วยความเคารพเสียก่อน
                   พิธีกรรม การเปิดอ่านพระคัมภีร์ จะต้องทำอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ทุกวันจะมีการนำคำสั่งสอนบทใดบทหนึ่ง ในพระคัมภีร์มาเป็นธรรมะประจำวัน ที่ชาวซิกข์ทุกคนต้องปฎิบัติตาม การสวดมนต์จะมีดนตรีประกอบ ตามทำนองบทร้อยกรองที่ไพเราะ
 
                5. ศาสนาฮินดู
                    ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม ในคัมภีร์ของฮินดูได้บอกไว้ว่า เทพเจ้านามว่า พระนารายณ์เป็นศาสดา ศาสนาฮินดูพัฒนาการมาจากศาสนาพรามหมณ์ โบสถ์เทพมณเฑียรเป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานเทวรูปสำคัญ และใช้ทำพิธีกรรมต่างๆ ของชาวฮินดู
                    พระนารายณ์ และพระลักษมี เป็นเทพเจ้าที่สำคัญสูงสุดของชาวฮินดู เป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ และจักรวาล เป็นผู้ให้รางวัลแก่ผู้ทำดี และลงโทษผู้กระทำความผิด สำหรับพระลักษมีเป็นสัญญาลักษณ์แห่งการมีโชคลาภ
                    ชาวฮินดู จะไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนาภายในโบสถ์เทพมณเฑียร ทุกวันเวลา 6.00-8.00 น. และ 18.30-19.30 น. บัณฑิตเป็นผู้นำสวดมนต์สรรเสริญ อ้อนวอนขอพรจากเทพเจ้า อบรมศีลธรรม จริยธรรม โดยถือหลักอหิงสา เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม





คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด


โดย:
งาน: กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: บ้านจอมยุทธ

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 3

อ่าน 0 ครั้ง