|
|
ความหมาย : คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม
คนต่างด้าวที่ยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักร : 1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ในหนังสือเดินทางเท่านั้น 2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทนเมื่อได้รับแจ้งอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามารับใบอนุญาตและทำงาน ได้ คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้ 1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักร หรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท) 2. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราว จะทำงานได้ต่อเมื่อ ได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ) 3. คนต่างด้าวฝ่าฝืนการทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้ 1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท) 2. ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ) 3. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายระยะเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท) 4. ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้ (ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ) 5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท) 6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า 7. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท) นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวทำงานต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะงาน หรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) 2. นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานหรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่น หรือออกจากงานต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับเข้าทำงานหรือย้าย หรือออกจากงาน (ผู้ฝ่าฝื่นมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท) สิทธิการอุธรณ์ กรณีที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานและไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ทำงานอื่น หรือไม่ให้เปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ทำงาน ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ โดยทำเป็นหนังสือที่ยื่นต่ออธิบดีกรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งไม่อนุญาต |
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด |
โดย: งาน: งานทะเบียนสถิติ อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: สำนักงานจัดหางานจังหวัดอุบลราชธานี |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |