[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ว่ายน้ำ

สระมาตรฐานสำหรับการแข่งขัน
ความยาวของสระว่ายน้ำจะอยู่ที่ 50 เมตร ความกว้าง 25 เมตร สภาเพื่อนักกีฬาสมัครเล่นระหว่างประเทศ ได้เพิ่มสระขนาดความยาว 25 เมตร ระหว่างการประชุม ณ เมือง เพิร์ท ออสเตรเลีย สระสำหรับการแข่งขัน มีเลนแข่ง 8 เลน แต่ละเลนกว้าง 7-9 ฟุต น้ำในสระ ควรลึกอย่างน้อย 4 ฟุต หรือมากกว่า สระว่ายน้ำ ในสหรัฐอเมริกาจะลึก ประมาณ 6-9 ฟุต อุณหภูมิน้ำ ต้องอยู่ที่ประมาณ 78 - 80 องศา ฟาเรนไฮต์ 

ในการแข่งขันว่ายน้ำ ในโอลิมปิคนั้น ทั้งประเภทชาย และหญิง มีการแข่งขัน ว่ายเดี่ยว 13 ประเภท และว่าย ผลัด 3 ประภท นอกจากนี้ ในกีฬาว่ายน้ำ ระดับโอลิมปิค ประเภทชาย จะไม่มีการแข่งขัน ว่ายฟรีสไตล์ 800 เมตร ส่วนผู้หญิง ก็ไม่มีการแข่งขัน ประเภท ฟรีสไตล์ 1,500 เมตร 

ท่ากรรเชียง
ในท่านี้ ผู้ว่ายน้ำ ต้องนอนหงาย ตลอดการแข่งขัน มียกเว้น ในช่วงที่ต้องกลับตัวเท่านั้น ในท่ากรรเชียงนั้น การเคลื่อนไหวของมือ จะเป็นไปในอีกรูปแบบหนึ่ง คล้ายๆการว่าย แบบคืบคลาน ไปเรื่อยๆ และก็ต้องเตะขา ไปพร้อมๆกันด้วย นับตั้งแต่ เดือนเมษายน ปี 1991 นั้น การแข่งขัน ว่ายแบบกรรเชียง อนุญาตให้ นักว่ายน้ำ ไม่จำเป็นต้องแตะขอบสระ ระหว่างการกลับตัว จนกว่าจะถึงเส้นชัย
กุญแจ สู่การว่ายกรรเชียง อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็คือ ''การหมุนแขน อยู่ตลอดเวลา'' ซึ่งในทางเทคนิคนั้น หมายความว่า หลังจากที่หัวไหล่เคลื่อนไหว มาอยู่ในระดับเดียวกับหน้าอก แขนอีกข้าง ต้องเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ การวางตำแหน่งของศรีษะจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ในการแข่งขันรายการฟีน่า นักว่ายน้ำแต่ละคนต้องโผล่ศรีษะ ขึ้นจากน้ำ ภายในระยะ 15 เมตร นับจากที่เริ่มออกสตาร์ท กฎข้อนี้ ได้รับการเปลี่ยนแปลงจาก กฎของฟีน่า เมื่อปี 1988 ที่กำหนดให้นักกีฬา ต้องโผล่ศรีษะ ภายในระยะทาง 10 เมตร จากเส้นสตาร์ท สาเหตุที่มีการเปลี่ยนระยะทาง ให้ยาวขึ้น ก็เพราะว่า นักว่ายน้ำอเมริกัน เดวิท เบอร์คอฟฟ์ ว่ายอยู่ใต้น้ำ ในระยะทางถึง 35 เมตร กว่าที่จะโผล่ศรีษะขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม สำหรับนักกีฬาว่ายน้ำคนอื่นๆ การแข่งว่ายน้ำ แบบกรรเชียงนั้น มีทั้งระยะทาง 100 เมตร และ 200 เมตร

ท่ากบ
ท่าว่ายกบ อาจจะเป็นท่าที่ยากที่สุด เพราะต้องมีการเคลื่อนไหว มือทั้ง 2 ข้าง ในทิศทางที่แนวระนาบ กับพื้น เหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง มือจะเคลื่อนไหว ตีน้ำอยู่ใต้หน้าอก และก็จะเคลื่อนไหว กลับไปอยู่ในตำแหน่ง ข้างหน้าศรีษะพร้อมๆ กัน ส่วนการเคลื่อนไหวขา จะเป็นการเตะขาในลักษณะเฉพาะ ที่เรียกว่าขากบ เพราะมีลักษณะ การเคลื่อนไหวคล้ายๆกบ เวลาว่ายน้ำ ทั้งนี้ ห้ามเคลื่อนไหวขา ในแบบปลาโลมา หรือแบบในท่ากรรเชียง การเข้าเส้นชัยนั้น นักว่ายน้ำต้องแตะขอบสระ ด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน ในการแข่งขันนั้น มีทั้งแบบ ระยะทาง 100 และ 200 เมตร

ท่าผีเสื้อ
ท่านี้ ต้องมีการใช้ร่างกาย ทุกๆส่วน โดยมือทั้ง 2 จะเคลื่อนไหวพร้อมๆกัน โดยหมุนข้ามศรีษะเป็นรูปวงกลม ส่วนการเตะขาจะเป็นแบบปลาโลมาโดยทั้ง 2 ขา ต้องเคลื่อนไหวขึ้นและลงพร้อมๆ กัน การเข้าเส้นชัย ก็คล้ายกับท่าว่ายแบบธรรมดา ที่ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้าง แตะขอบสระพร้อมๆ กัน ท่าผีเสื้อ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ประมาณช่วงต้น ทศวรรษที่ 50 โดยมีเป้าหมาย เพื่อเป็นทางเลือก สำหรับท่าธรรมดา ที่มีกฎระเบียบต่างกัน และในปี 1956 ก็ได้รับการบรรจุ อยู่ในกีฬาว่ายน้ำ ในโอลิมปิค ที่ เมลเบิร์น ประเทศ ออสเตรเลีย การแข่งขัน ท่าผีเสื้อ มีทั้งแบบระยะทาง 100 และ 200 เมตร

การแข่งขันแบบฟรีสไตล์
ในการแข่งขันประเภทนี้ นักกีฬาจะว่ายท่าไหนก็ได้ แต่โดยทั่วๆไป จะเป็นท่า ที่เรียกว่า ออสเตรเลียน คลอพ์ ซึ่งเป็นท่าว่ายน้ำธรรมดา ที่เรารู้จักกันนั่นเอง โดยมีการเคลื่อนไหวแขน อย่างอิสระ และมีการเตะขาขึ้นลง โดยในจังหวะ ของการเคลื่อนไหว ของวงแขน ทั้งสองข้าง 1 รอบ อาจจะมีการเตะขา 2 ครั้ง จนถึง 6 ครั้ง โดยการเตะขา แบบ 2 ครั้ง จะใช้ในการแข่งขัน ว่ายระยะทางไกล ส่วนแบบ 6 ครั้ง จะใช้ในการแข่งขันช่วงสั้น และตอนที่ ใกล้เข้าเส้นชัย เพื่อทำเวลา การแข่งขันแบบฟรีสไตล์ ในกีฬาโอลิมปิค มีทั้งใน ระยะทาง 100 เมตร 200 เมตร 400 เมตร 800 เมตร และ 1,500 เมตร โดยในประเภทชาย ไม่มีแบบระยะทาง 800 เมตร ส่วนประเภทหญิง ไม่มี 1,500 เมตร

การแข่งขันประเภทว่ายผสมเดี่ยว
ชื่อย่อของการแข่งขันประเภทนี้คือ I.M. หรือ Individual Medley ซึ่งเป็นการแข่งขันว่ายน้ำเดี่ยว ที่ใช้หลายท่าประกอบกัน เริ่มจากท่าผีเสื้อ ตามด้วยท่ากรรเชียง และท่ากบ และจบด้วยท่าฟรีสไตล์ โดยแต่ละท่าจะใช้เวลา 1 ใน 4 ของการแข่งขัน ซึ่งมีทั้งในระยะทาง 200 และ 400 เมตร 

การแข่งขันว่ายผลัดผสม
ในการแข่งขันแบบนี้ จะมีการรวมท่าทั้ง 4 ด้วยกัน โดยนักกีฬาแต่ละคน จะว่าย 1 ท่า เริ่มที่ท่ากรรเชียง ท่ากบ ท่าผีเสื้อ และจบด้วยฟรีสไตล์ การแข่งขันประเภทนี้ จะเป็นในแบบ 4 x 100 เมตร 

การว่ายผลัดแบบฟรีสไตล์
การแข่งขัน ว่ายผลัดแบบฟรีสไตล์ มีทั้งแบบ ระยะทาง 400 และ 800 เมตร โดยผู้เข้าแข่ง แต่ละคน ต้องว่ายเป็นระยะทาง 1 ใน 4 ของความยาวทั้งหมด โดยแต่ละคน จะว่ายได้แค่ 1 ผลัด เท่านั้น เหมือนกับ การว่ายผลัดผสม

การออกสตาร์ท และการกลับตัว
การแข่งขันหลายๆ ครั้ง จบลงที่ความพ่ายแพ้ เพราะว่าออกสตาร์ท หรือกลับตัว ได้ไม่ดีพอ ในช่วงสตาร์ทนั้น กรรมการจะเรียก นักกีฬา มาที่จุดออกสตาร์ท จากนั้นกรรมการ ก็จะตรวจสอบดูว่า ทุกคนอยู่ในตำแหน่ง ที่ถูกต้องหรือไม่ จากนั้น ก็จะให้สัญญาณ ออกสตาร์ท โดยอาจจะใช้ปืน หรือสัญญาณ อิเล็คโทรนิค ก็ได้ และถ้ากรรมการเห็นว่า ใครออกสตาร์ท ก่อนเสียงสัญญาณ ก็จะให้เริ่มกลับมา ออกสตาร์ทใหม่ หรือถ้าเกิดขึ้นหลายครั้ง ผู้ที่ทำผิดบ่อยๆ อาจจะถูกจำกัดสิทธิ ลงแข่งขันได้
การกลับตัว อย่างรวดเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญ ที่นำไปสู่ชัยชนะ ในทุกๆ การแข่งขัน นักว่ายน้ำ ต้องแตะที่ขอบสระ ก่อนที่จะกลับตัว แต่ในการแข่งขัน ประเภทฟรีสไตล์ และในการแข่งขันแบบกรรเชียง นับจากเดือนเมษายน ปี 1991 ที่อนุญาตให้ นักกีฬากลับตัวได้ โดยไม่ต้องแตะขอบสระ ส่วนในการแข่งขัน แบบว่ายกบ และผีเสื้อ นักกีฬา ต้องแตะขอบสระ ด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 มือ ก่อนที่จะกลับตัวได้

เทคนิค กลยุทธ์ สู่ชัยชนะ
ในช่วงสปริ้นต์ (50 และ 100 เมตร) เป็นช่วงที่สำคัญ มากที่สุด เพราะความผิดพลาด เพียงเล็กน้อย อาจทำให้ ผลการแข่งขัน เปลี่ยนแปลงไปได้ ในการแข่งขัน ระยะทาง 200 เมตรนั้น นักว่ายน้ำ ต้องสามารถควบคุมความเร็ว ของตัวเองให้ได้ นักว่ายน้ำหลายๆ คน ถือว่าการแข่งขันแบบ 200 เมตร เป็นแบบที่ยากที่สุด ส่วนในแบบระยะทาง 400, 800 และ 1,500 เมตรนั้น นักกีฬา ต้องรู้ตัวให้ได้ ตลอดเวลาว่า ตนอยู่ในตำแหน่งใด และกล้ามเนื้อ มีอาการเมื่อยล้ามากน้อยแค่ไหน การออกตัว ในช่วงแรกแบบเต็มกำลัง อาจส่งผล ให้หมดแรง ในช่วงท้ายได้ ส่วนการออมกำลัง ในช่วงแรกมากไป ก็อาจจะทำให้ ไล่ไม่ทันกลุ่ม นักกีฬาว่ายน้ำ อาจจะประเมินสถานการณ์ และว่ายด้วยความเร็ว เท่ากันตลอดทั้งการแข่งขัน หรืออาจใช้เทนนิค ที่เรียกว่า เนกาทีฟ สปลิตติ้ง (Negative Splitting) ซึ่งนักว่ายน้ำ จะว่ายช่วงครึ่งหลัง ของระยะทาง เร็วกว่าในช่วงครึ่งแรก 

ในช่วงปลาย ทศวรรษ 70 เทคนิค เนกาทีฟ สปลิตติ้ง ถูกถือว่า เป็นเทคนิคสำคัญ สำหรับการคว้าชัยชนะ ในการแข่งขัน แบบระยะทางไกล





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานสระว่ายน้ำ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: www.st.buu.ac.th

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 11

อ่าน 0 ครั้ง