[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการประกันคุณภาพการศึกษา

การจัดการศึกษาในปัจจุบัน เป็นที่ตระหนักว่าไม่ใช่เรื่องเฉพาะของครูและผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น แต่จะต้องสร้างเสริม ''บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน'' ให้เกิดขึ้นในองค์ประกอบทั้งหมดของการจัดการศึกษา กล่าวคือชุมชนไม่เพียงให้ความร่วมมือสนับสนุนเอื้อเฟื้ออยู่ภายนอกเหมือนดังที่ผ่านมา หากยังควรขยายบทบาทมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในเชิงการบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งระบบอย่างมีความต่อเนื่องอีกด้วย 
                 ฉะนั้น เมื่อพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาจึงควรให้น้ำหนักความสำคัญที่การมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นอันดับแรก โดยจัดให้มีกลไกและการดำเนินงานที่ชัดเจนสามารถเอื้ออำนวยให้ชุมชนได้เข้ามีส่วนร่วมตลอดทั้งกระบวนการของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 
                 ในขณะเดียวกัน การประกันคุณภาพภายนอก หรือการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาย่อมมีฐานะเป็น ''กระบวนการทางสังคม'' โดยตรง ที่มีเจตนาให้มีระบบการติดตามกำกับตรวจสอบจากสังคมหรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาอีกชั้นหนึ่ง 
                 ดังนั้น นอกจากพันธกิจของการประเมินคุณภาพภายนอกที่เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน ให้ข้อเสนอแนะแก่สถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา นำไปสู่การรายงานสถานการณ์เพื่อการกำหนดนโยบายและการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาจองรัฐอันเป็น บทบาทหน้าที่ที่ทราบกันดีโดยทั่วไปอยู่แล้ว การประเมินคุณภาพภายนอกควรที่จะเพิ่มเติมบทบาทตามฐานะที่เป็นกระบวนการทางสังคมของตน อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้ 
                 1. ปรับเปลี่ยนทัศนะสร้างค่านิยมใหม่ในเรื่องการประเมินคุณภาพ จากเดิมที่มักเป็นไปในทางใช้อำนาจ เห็นกับพวกพ้องประเมินเพื่อให้คุณให้โทษ และเป็นเรื่องผักชีโรยหน้าเสียเป็นส่วนใหญ่ ให้มาสู่กระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาในทัศนะใหม่ค่านิยมใหม่ที่เป็นการ ''ประเมินตามสภาพจริง ประเมินด้วยความเป็นกัลยาณมิตร และประเมินเพื่อการพัฒนา'' 
                 2.พยายามพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอกให้เปิดโอกาสมากที่สุดต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งยังอาจอาศัยการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพภายนอกนี้ไปกระตุ้นความสนใจและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ในทางกลับกันด้วย 
                 ความเป็นไปได้ของการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน 
                 สามารถพิจารณาได้จาก 2 ทาง คือ มีส่วนร่วมเป็นตามระบบที่ สมศ. กำหนดเอาไว้แล้วกับพัฒนาระบบขึ้นอีกชุดหนึ่งหรือผสมผสานกันไปจากที่ชุมชนสร้างขึ้น ดังนี้ 
                 การมีส่วนร่วมตามระบบที่ สมศ. กำหนดเอาไว้แล้ว 
                 1. มีมาตรการชัดเจนให้ผู้ประเมินภายนอกจะต้องมีข้อมูลที่ได้รับจากชุมชน โดยเฉพาะในมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโดยตรง เช่น มาตรฐานที่ 14 มาตรฐานที่ 18 (ตัวบ่งชี้ที่ 4) มาตรฐานที่ 25 เป็นต้น เพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในแง่การให้ข้อมูลสนับสนุนความเที่ยงตรงของการประเมิน 
                 2. ส่งเสริมให้องค์กรชุมชนที่มีบทบาทการดำเนินงานเข้มแข็งและต่อเนื่อง ขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองจาก สมศ.ให้เป็นหน่วยประเมินประเภท ''คณะบุคคล'' ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (ที่ไม่ใช่สถานศึกษาที่สังกัด) 
                 ให้ชุมชนพัฒนาระบบขึ้นผสมผสานไปกับระบบของ สมศ. 
                 1. ส่งเสริมให้องค์ชุมชนในพื้นที่มีความเข้มแข็งจัดระบบความคิดสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินภายนอกทั้งระบบ ตั้งแต่มาตรฐานตัวบ่งชี้ หลักเกณฑ์ วิธีการประเมิน อื่น ๆ นำเสนอต่อ สมศ. และทดลองให้มีการประเมินรำร่องตามแบบที่ชุมชนเสนอในสถานศึกษาจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม 
                 2. มอบหมายเพิ่มเติมให้คณะผู้ประเมินภายนอก(นิติบุคคล) ทำการจัดประชุมกับชุมชน สำรวจความคิดเห็นระบบการประเมินภายนอกที่ชุมชนสามารถทีส่วนร่วมได้ ในพื้นที่ที่ไปดำเนินงาน นำเสนอต่อ สมศ.





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานประกันคุณภาพการศึกษา
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ยุทธชัย เฉลิมชัย

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 1

อ่าน 0 ครั้ง