[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

PERCUSSION

ในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหลาย Percussion นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีกำเนิดมาก่อนเครื่องดนตรีประเภทอื่น ๆ หรืออาจพูดได้ว่า Percussion นั้นเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์ นั่นคือเสียงจังหวะการเต้นของหัวใจ ปรบมือ กระทืบเท้าตลอดจนการนำวัตถุต่าง ๆ มาเคาะให้เกิดเสียงขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นกำเนิดของ Percussion ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจนเป็นเครื่องดนตรีในปัจจุบันนี้ Percussion มักจะเป็นเครื่องดนตรีที่ถูกละเลยเสมอ แม้กระทั่งในวง Symphony Orchestra คนทั่วไปก็มักจะมองว่าเป็นเครื่องดนตรีประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราใช้ Percussion ในวงดนตรีแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Orchestra, Military Band, Symphonic Band ตลอดจน Jazz Band ในบรรดาเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ Percussion จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีความเรียบง่ายที่สุด ในด้านรูปร่างและการสร้าง แต่เสียงของมันกลับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก โดยเฉพาะในด้านของคุณลักษณะของเสียง ซึ่งจะก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกได้มากกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ 

            Percussion เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลายซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการกระทบทั้งสิ้น Percussion สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน 2 กลุ่มคือ 

            1.  กลุ่มที่ไม่มีระดับเสียงในตัว (Indefinite Pitch) ได้แก่ 

            -  SNARE DRUM 

            -  BASS DRUM 

            -  ฉาบ / CYMBAL 

            -  TAM-TAM เป็นต้น 

            2.  กลุ่มที่มีระดับเสียงต่าง ๆ ภายในตัว (Definite Pitch) ได้แก่ 

            -  TIMPANI 

            -  GLOCKENSPIEL 

            -  XYLOPHONE 

            -  CHIME  เป็นต้น 

หมายเหตุ         ผู้เล่น Percussion ทุกคนไม่ว่าจะเล่นเครื่องในกลุ่มที่ 1 หรือ 2 ที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนควรฝึกหัดพื้นฐานการเล่น (Warm Up) ของ Snare Drum ซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะในด้านจังหวะและการควบคุมกล้ามเนื้อตลอดจนควบคุมการใช้ไม้ได้ดี 

  

การจับไม้กลอง จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ 

            1.  แบบ Traditional Grip  เป็นการจับแบบมือขวาคว่ำส่วนมือซ้ายจะหงายมือ ลักษณะนี้เหมาะกับการตีกลองในแนวระนาบเฉียง 

            2.  แบบ Matched Grip  เป็นการจับแบบคว่ำมือทั้งสองข้าง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มการใช้มากขึ้น เพราะสามารถนำไปใช้กับเครื่องมืออื่น ๆ ได้ ลักษณะนี้เหมาะกับการตีกลองในแนวระบบตรง 

  

Outdoor Marching Percussion 

            ในปัจจุบันจะเห็นว่าวง Marching band ตามโรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา จะมีการนำเอา Marching Percussion แบบใหม่ ๆ เข้ามา เช่น Tonal Bass Drum (กลองใหญ่ 4 ใบ)  Multi-Tenors Drum (Quad-Quint Tom) ซึ่งสร้างสีสันให้กับกลุ่ม Percussion เป็นอย่างมาก 

            กลุ่มเครื่องดนตรี Outdoor Marching Percussion แบ่งได้ดังนี้ 

            1.  Marching Snare Drum 

            2.  Multi-Tenors Drum 

            3.  Tonal Bass Drum 

            4.  Cymbals 

            5.  Marching Bell 

            6.  Marching Xylophone เป็นต้น 

  

            1.  Marching Snare Drum เนื่องจากการแสดงของวงประเภทนี้มักจะเป็นการบรรเลงกลางแจ้งซึ่งต้องอาศัยความคมชัดของเสียง จึงมีการออกแบบให้ระดับเสียงของ Snare Drum นี้สูงกว่าที่เคยเป็นมา (High Tension) มีการออกแบบขอบกลอง (Hoop) ชนิดพิเศษ เพื่อรับการขึ้นเสียงกลองในระดับเสียงสูง 

ตำแหน่งของกลองที่จะให้เสียงแตกต่างกันในเวลาตี 

  

            ตำแหน่งที่  1      จะอยู่ในบริเวณใกล้กับขอบกลอง จะเหมาะสมกับบทเพลงที่ต้องการความเบา 

            ตำแหน่งที่  2      จะอยู่ในตำแหน่งที่ถัดลงมาจากตำแหน่งที่ 1 ซึ่งจะใกล้กับจุดศูนย์กลางหรือตำแหน่งที่ 3 จะให้เสียงที่รวมกันแต่จะมีความกังวานกว่าในตำแหน่งที่ 3 

            ตำแหน่งที่  3      อยู่บริเวณศูนย์กลาง จะให้เสียงที่รวมกันคมชัดและเสียงจะสั้น จึงเหมาะต่อการตีในบทเพลงที่ดีความถี่ของการตีโน้ตต่อกันมาก ๆ 

            2.  Multi-Tenors กลองชนิดนี้จะมีหนังเฉพาะหน้าตีเพียงหน้าเดียวเท่านั้น หน้าล่างจะเปิดโล่งไว้ กลองประเภทนี้นิยมใช้เป็นชุด ชุดละ 3 ใบ เรียกว่า Trio ชุดละ 4 ใบเรียกว่า Quads และชุดละ 5 ใบ เรียกว่า Quint ในแต่ละชุดจะประกอบด้วยกลองขนาดต่าง ๆ กัน กลองประเภทนี้จะมีไม้ตีอยู่ 3 แบบ คือ Hard, Medium hard และ Soft เพื่อคุณภาพเสียงที่ต่างกันตามบทเพลง 

            ตำแหน่งของการตีในแต่ละใบควรตีให้ห่างจากบริเวณขอบกลองประมาณ 5-7  ซ.ม. ไม่ควรตีบริเวณจุดศูนย์กลางเพราะจะทำให้เสียงที่ออกมาทึบเกินไป 

            3.  Tonal Bass Drum การนำกลองใหญ่หลาย ๆ ขนาดมาตั้งเสียงในระดับต่าง ๆ กันเพื่อให้เกิดสีสันมากยิ่งขึ้น ขนาดของกลองใหญ่ที่ควรใช้มีดังนี้ 

จำนวน (ใบ) 
 ขนาดที่ใช้ 
 
3     22'' 24'' 26'' หรือ 20'' 22'' 26'' 

4     20'' 22'' 24'' 26'' หรือ 20'' 22'' 24'' 28'' 


5     18'' 20'' 22'' 24'' 26'' หรือ 18'' 20'' 22'' 24'' 28''

 
ในการตั้งเสียงของ Bass Drum จะมีลักษณะที่เรียกว่า High Tension ซึ่งจะมีความตึงของกลองมาก เมื่อขึ้นหนังกลองแล้วจะมีเสียงสูงและกังวานมาก ทำให้ไม่ค่อยน่าฟังเท่าไหร่นัก จึงจำเป็นต้องใช้ตัวลดเสียงกังวาน (Mute) มาช่วยให้เสียงดีขึ้น โดยอาจใช้ผืนผ้า หรือฟองน้ำมาติดเพื่อซับเสียงก็ได้ 

            
เทคนิค 

            มีหลักการโดยทั่วไปอยู่ 3 ข้อ ที่ผู้ปฏิบัติต้องทำให้ได้ดีเพื่อการเล่นที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้คือ 

            1.  ถือไม้ตี (Stick/Mallet) ด้วยนิ้วทุกนิ้วและนิ้วโป้งทุกครั้งที่จับ 

            โดยทั่วไปมีวิธีจับได้หลายวิธี เลือกใช้วิธีที่เหมาะกับตัวผู้เล่นมากที่สุด อย่างไรก็ตามอยากแนะนำให้ใช้วิธีจับซึ่งมือและนิ้วโค้งอย่างเป็นตามธรรมชาติ พยายามอย่าเกร็ง 

            ต้องให้นิ้วโป้งและนิ้วต่าง ๆ อยู่บนไม้ตี (Stick) หรือ Mallet ตลอดเวลา เพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้การควบคุมการเล่นได้ดี แต่ยังมีผลต่อเสียงด้วย ข้อแนะนำนี้สำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับผู้หัดเริ่มเล่น และผู้เล่นระดับกลาง เมื่อมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นผู้เล่นเองจะเริ่มเรียนรู้ว่าเมื่อใดควรผ่อนการจับลงหรือเมื่อใดควรใช้นิ้วให้มากขึ้น เป็นต้น 

            2.  เล่นจากข้อมือ ในขณะที่จับ ให้ยกไม้ตี หรือ Mellet โดยยกข้อมือขึ้น นิ้วทุกนิ้วต้องอยู่บนไม้ในตำแหน่ง ''Up position'' ระลึกไว้เสมอว่าการเล่นจากข้อมือ ไม่ได้หมายความว่าปลายแขนและนิ้วต้องเกร็งอยู่กับที่ แต่ต้องเป็นไปตามส่วนของการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของไม้ตี / Mallet มักเป็นในลักษณะการหมุนข้อมือ (Turn of the wrist) 

            ข้อควรระวังคือ ผู้เล่น Percussion หลายคนมักปล่อยนิ้วและหมุนไม้ตี / Mallet เป็น ''Up position'' ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ ถ้าได้ลองทำดูจะเห็นว่าข้อมือไม่มีการเคลื่อนที่ ซึ่งขัดกับคำแนะนำข้อ 1 และ 2 

            3.  การ REBOUNDปฏิกิริยาตามธรรมชาติของไม้ตีกลองเมื่อกระทบกับหัวคือ การกระเด้งไปสู่ตำแหน่ง ''Up position'' เนื่องจากการตกแต่งด้ามไม้ และ Mallet ปฏิกิริยาโต้ตอบนี้จึง 
ไม่มีในเครื่องคีย์บอร์ด อย่างไรก็ตามการได้รู้สึกถึงการกระเด้งตอบกลับอย่างเป็นธรรมชาติเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะมีส่วนช่วยในการบรรเลง 

            ควรปล่อยให้ไม้ และ Mallet มีปฏิกิริยาตอบกลับตามธรรมชาติ เพื่อจะได้มีผลต่อคุณภาพของเสียงโดยทั่วไปจะช่วยให้เสียงเต็มและยาวขึ้น และช่วยให้ 

            A.  ทำให้เสียง Fundamental Tone ยาวขึ้น 

            B.  การ Project เสียง (โดยเฉพาะ Forte และ Fortissimo) 

            การเด้งกลับนั้นต้องการการผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ซึ่งเป็นหลักสำคัญสำหรับการเล่นที่เร็วขึ้น 

  

ลักษณะของจังหวะ (Beat Pattern) 

  

            มีลักษณะจังหวะอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานและสำคัญของ Orchestral Passages คือ Single, Double และ Triple จังหวะ ''Single Beat'' เป็นการใช้ 1 Stroke ของการเคลื่อนไหวมือ (RLRL) จังหวะ ''Double Beat'' ใช้ 2 Stroke ต่อการเคลื่อนไหวมือ (RRLL) และจังหวะ ''Triple Beat'' ใช้ 3 Stroke ต่อการเคลื่อนไหวมือ (RRRL) ส่วนใหญ่บทเพลงสำหรับเครื่องประกอบจังหวะ ใช้ทั้ง 3 แบบปนกัน 

            แบบฝึกหัด 1-4 เน้นการเป็นอิสระ (มือเดียวจากนั้นก็อีกมือหนึ่ง)  ฝึกทักษะ โดยการแยกแต่ละมือออกจากกัน จะทำให้ผู้เล่นมีความถนัด แก้ไขข้อบกพร่อง และปรับปรุงและให้รู้สึกถึงเทคนิค 3 ข้อ ที่แนะนำไปแล้ว 

            ในขั้นต่อไป แบบฝึกหัดที่ 5-7 ยังคงไว้ซึ่งทักษะเดิม เมื่อเล่นสองมือพร้อมกัน (ในเวลาเดียวกัน) บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งต้องการ การ Coordination ที่ถูกต้องเพื่อให้คงเทคนิค 3 ข้อที่ได้กล่าวไว้ ผู้ที่หัดเริ่มเล่น และผู้เล่นระดับกลาง อาจต้องพบกับลักษณะเช่นนี้ 

            จงใจเย็นและอดทน และแน่ใจว่าทั้งสองมือเคลื่อนไปอย่างถูกต้องและเสียงดี การซ้อมการเด้งกลับจะช่วยพัฒนาคุณภาพของเสียง 

  

ข้อแนะนำในการฝึกซ้อม 

  

            1.  เริ่มจากช้า ๆ จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มความเร็วขึ้นจนรู้สึกเป็นธรรมชาติ ในขั้นแรกควรเล่นช้า ๆ และเน้น Fundamentals จากนั้นค่อยเล่นเร็วขึ้นและลดการควบคุมลง 

            2.  เมื่อเพิ่ม Tempo แล้ว 

                        2.1  ให้ลดระดับความสูงของการยกไม้ / Mallet 

                        2.2  ใช้นิ้วต่าง ๆ เพื่อควบคุมการกระเด้ง 

                        2.3  ให้เริ่มใช้ปลายแขน 

            3.  ผู้เล่นคีย์บอร์ดควรเล่นแบบฝึกหัดในทุก ๆ คีย์ เปลี่ยน Key Signature ทุกวันจนครบ 

            4.  ผู้เล่น Bass drum  ควรมีการสลับระหว่างการเล่น Unison (กลองทั้ง 4 เล่นแนว Snare ใน Unison) มาเล่นแยกกัน (ดังเขียนในแบบฝึกหัด) 

  

แบบฝึกหัดที่ 1 

            การตี Single Beat 8 โน้ต/ห้อง ด้วยมือขวา แล้วต่อด้วยมือซ้าย สังเกตให้ไม้ที่ตีกระดอนกลับเต็มที่ หลังการตีในแต่ละครั้ง 

  

แบบฝึกหัดที่ 2 

            การตีโน้ตชุด Double Beat ด้วยมือขวา แล้วจึงต่อด้วยมือซ้าย ผู้ฝึกจะต้องแน่ใจว่าไม้ตีกระดอนอยู่ในตำแหน่งหลังจากตี Beat ที่ 2 เรียบร้อย 

  

แบบฝึกหัดที่ 3 

            การตีโน้ตชุด Triple Beat เช่นเดียวกับแบบฝึกหัดที่ 1, 2 ผู้ฝึกจะต้องปล่อยให้ไม้ตีกระดอนให้อยู่ในตำแหน่งหลังจากที่ตี Beat ที่ 3 

  

แบบฝึกหัดที่ 4 

            เป็นการผนวกแบบฝึกหัดทั้ง 3 เข้าด้วยกัน จึงเป็นแบบฝึกหัดพื้นฐาน การตี Beat ต่าง ๆ Warm-Up ในการฝึกซ้อมก่อนการฝึกแบบฝึกหัดอื่น ๆ 

  

แบบฝึกหัดที่ 5 

            จะเป็นการทบทวนเริ่มต้นการตีในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรักษาความรู้สึกก่อนที่จะตีโน้ตในส่วนอื่น ๆ 





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานดนตรีและการแสดง
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: www.thai.net

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 4

อ่าน 0 ครั้ง