|
|
การอ่านของเด็กควรเริ่มต้นเมื่อใด
โครงการ Book Start เริ่มต้นในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกับงานสาธารณสุข ด้วยการหารกิจกรรมว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พ่อ แม่ ลูก มีความสัมพันธ์กันโดยใช้หนังสือเป็นสื่อสร้างความอบอุ่นในครอบครัว มีอาสาสมัครทำโครงการนี้ แจกถุงหนังสือ Book Start ให้กับแม่ทุกคนที่เข้าโครงการ ในถุงจะมีหนังสือที่เหมาะกับเด็ก หนังสือการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับพ่อ-แม่ ของสำหรับเด็ก (อาจเป็นของเล่น ของใช้) รายชื่อหนังสือที่เหมาะกับเด็ก ห้องสมุดในละแวกนั้น และร้านหนังสือ ระยะแรกของโครงการเริ่มต้นที่เด็ก ๓๐๐ คน ปี ๒๕๔๕ แจกหนังสือรวมแล้ว ๖ แสน ๕ หมื่น เล่ม และมีองค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามาสนับสนุนมากขึ้น ความคิดนี้จึงเผยแพร่ไป และมีประเทศต่างๆ สนใจทำโครงการนี้ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา และไทย โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กได้ประสานงานกับ น.พ.บวร งามศิริอุดม กรมอนามัย ดำเนินการนำร่องใน ๒ พื้นที่ คือที่ กทม.และราชบุรี มีตราประจำโครงการ เป็นรูปช้างอ่านหนังสือ เพราะศึกษาธรรมชาติของช้างว่า ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่เอื้ออาทรห่วงใยช้างเล็กๆ (ลูกช้าง) และเริ่มที่เด็กอายุ ๖-๙ เดือน แต่ในเมืองไทย หนังสือสำหรับเด็กเล็กยังมีน้อย อาจต้องมีการจัดประกวดขึ้น ดังนั้น Book Start ในเด็กควรเริ่มได้ตั้งแต่อายุ ๖-๙ เดือน ''กรมอนามัย ส่งเสริมกระบวนการอ่านอย่างไรที่ทำให้พ่อแม่อ่านหนังสือและเล่านิทานให้เด็กฟัง'' น.พ.บวร แจ้งว่ากรมอนามัยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการมานานแล้ว โดยงานของสาธารณสุข ซึ่งทำงาน ๔ ด้าน คือ ๑. ส่งเสริมสุขภาพ ๒. ป้องกันโรค ๓. รักษาโรค ๔. พื้นฟูสุขภาพ ที่สำคัญยิ่งก็คือ ข้อ ๑ กับ ข้อ ๒ เพื่อทำให้ทุกคนที่เกิดมามีต้นทุนเต็มร้อย ดังนั้น จึงต้องให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพราะเด็กนั้นจะมีพัฒนาการสูงสุดในช่วงแรกคลอดจนถึงอายุ ๓ ขวบ อาหารที่ดีที่สุดคือ นมแม่ ให้กินตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่ง ๖ เดือน ต่อจาก ๖ เดือน ถึง ๒ ขวบ กินนมแม่กับอาหารตามวัย และในยุคนี้เป็นยุคสังคมข่าวสาร ดังนั้น การอ่านตั้งแต่เด็กเป็นการเริ่มสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งด้าน I.Q และ E.G ดังนั้น สช. จึงทำหนังสือให้ความรู้ง่ายๆ ให้กับแม่ เพื่ออ่านแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที เช่นเรื่องการกินนมแม่ การคุยกับลูกบ่อยๆ การร้องเพลงและเล่านิทาน จึงทำนิทานอีสปมาพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ แจกให้กับแม่ในโครงการนี้ เพราะมีความเชื่อว่า นิทานจะเสริมสร้างจินตนาการได้เป็นอย่างดี บอกจากนี้ยังทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ ได้ภาษาดี สมาธิสูง ฯลฯ ''กระทรวงศึกษาธิการ จัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมการอ่านอย่างไร'' นางพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ได้สรุปภาพรวมของการสนับสนุนการอ่านในโรงเรียน คือ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในหลากหลายรูปแบบ ตามความถนัดและความสนใจของครูและนักเรียน กิจกรรมที่ต่อยอดจากกรมอนามัย และยังใช้ได้ผลดีเสมอก็คือ การเล่านิทาน ในโรงเรียนจะมีคุณครูนักเล่านิทานให้น้องฟังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เด็กได้แสดงออกเกี่ยวกับการอ่านอีกมาก เช่น การเล่าข่าวในเสียงตามสาย การประกวดแต่งนิทาน กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องสมุดครอบครัว ซึ่งประสานงานกับทางมูลนิธิเด็ก นอกจากส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแล้ว ในบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ศธ. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคนด้วยการอ่านทั้งในระบบและนอกระบบ จึงได้จัดสรรงบประมาณค่าหนังสือสำหรับห้องสมุดโรงเรียน ทั้งประถมและมัธยม งบประมาณในการพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานห้องสมุด จัดพิมพ์เอกสารความรู้เผยแพร่ไปยังโรงเรียน สนับสนุนให้รางวัลและกำลังใจแก่โรงเรียนที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งโรงเรียนที่พัฒนาห้องสมุดได้ตามเกณฑ์มาตรฐานประสานงานกับองค์กรภายนอกต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือ เช่น มูลนิธิเด็ก มูลนิธิ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการอ่าน มูลนิธิโตโยต้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย บริษัท ซี.พี เซเว่นอีเลเว่น และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ ซึ่งแต่ละโรงเรียนอาจติดต่อประสานงานได้โดยตรง นอกจากนี้กรมการศึกษานอกโรงเรียนและสมาคมผู้จัดพิมพ์หนังสือแห่งชาติให้กับโรงเรียนในชนบททุกปี ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า กระทรวงได้ดำเนินการด้านนี้มาอย่างยาวนาน และพยายามให้ครอบคลุมทุกด้าน แม้กระทั่งเทคโนโลยีที่จำเป็นแก่ห้องสมุด เมื่อ สช.นำร่องโครงการ Book Start จึงเชื่อว่า ทั้งสองกิจกรรมนี้สามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นอย่างดี ''มูลนิธิเด็ก องค์กรสาธารณะที่ส่งเสริมการอ่านของเด็ก ครอบครัว ชุมชน มีกระบวนการอย่างไร'' นายเรืองศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มครั้งแรกที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยเน้นที่การอ่านแล้วให้เด็กบอกว่าได้อะไรจากเรื่องที่อ่าน เป็นการเริ่มต้นด้วยใจรัก แม้ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้มาก่อน ต่อมาได้ประสานงานกับองค์กรต่างประเทศของญี่ปุ่น คือ NOMAD จัดทำโครงการห้องสมุดครอบครัวเป็นครั้งแรกที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งประสบความสำเร็จ จึงได้ขยายกิจกรรมออกไป เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ ค่ายรักการอ่าน และจัดทัศนศึกษาสถานที่สำคัญ ให้เด็กได้มีโอกาสเห็นสภาพที่จริง นอกเหนือจากในหนังสือ ปัจจุบันมีนักเรียนในโครงการที่จบชั้น ป.๖ ไปแล้ว ยังเป็นกำลังสำคัญในเรื่องของการอ่านหลายคน และสิ่งที่ได้จากโครงการห้องสมุดครอบครัวก็คือ ผู้ใหญ่ในครอบครัวนั้นๆ เช่น คุณตารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ไม่เหงา และทำหน้าที่ร่วมกับเด็กๆ ในการดูแลห้องสมุดในครอบครัวอย่างมีความสุข บทสรุปของการเสวนาครั้งนี้ คือ หากทุกองค์กรเห็นความสำคัญของการอ่านและใช้ ''หนังสือ'' เป็นสื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์และประสบการดำเนินงานเราก็จะมีสังคมการอ่านและการเรียนรู้ที่ยั่งยืนสืบไป |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานบุคลากร อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: นางพจมาน พงษ์ไพบูลย์ |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |