|
|
ระบบธนาคารในประเทศไทยประกอบด้วยธนาาร ๓ กลุ่ม ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกันบางส่วนและแตกต่างกันบางส่วนตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง ดังนี้คือ
๑.ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เพราะเป็นธนาคารกลางของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่หลักในการควบคุมดูแลระบบเงินของประเทศให้ดำเนินไปอย่างเรียบร้อยเหมาะสมและมีระเบียบ ท ำ ให้ภาวะการเงินของประเทศอยู่ในภาวะสมดุล ไม่ปล่อยให้ปริมาณเงินหมุนเวียนมากหรือน้อยจนเกินไป การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้มุ่งหวังกำไรดังเช่นสถาบันการเงินอื่นๆ และไม่รับฝากเงินหรือให้กู้ยืมเงินกับ ประชาชนทั่วไป ๒.ธนาคารพาณิชย์ พัฒนาการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยกิจการธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที ่การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศแถบยุโรปขยายตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้นักธุรกิจชาวตะวันตกเข้ามาเปิดกิจการสาขาธนาคารพาณิ ชย์ในประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ของอังกฤษในปีพ.ศ.๒๔๓๑ ธนาคารชาร์เตอร์ดของอังกฤษในปี พ.ศ.๒๔๓๗ และ ธนาคา รแห่งอินโดจีนของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๓๙ ทางด้านของไทยเองได้มีการจัดตั้งกิจการประกอบธุรกิจในลักษณะธนาคารพาณิชย์โด ยให้ชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทแบ๊งศ์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (The Siam Commercial Bank Lid.) ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ และ เปลี่ยนเป็นธนาคารไทยพาณิ ชย์ จำกัด ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ๓.ธนาคารเฉพาะกิจอื่นๆ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานการเงิน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: สารานุกรมไทย |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |